อะชีนวีระตู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะชีนวีระตู
วีระตู (ဝီရသူ)
ชื่ออื่นWin Khaing Oo
ส่วนบุคคล
เกิด
10 กรกฎาคม ค.ศ. 1968(1968-07-10)
ศาสนาพุทธ
สัญชาติพม่า
สำนักเถรวาท
ชื่ออื่นWin Khaing Oo
อาชีพภิกษุ
วัดMasoyein Monastery, มัณฑะเลย์

วีระตู (พม่า: ဝီရသူ วีรสู) หรือ อะชีนวีระตู (အရှင်ဝီရသူ) เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 ที่เจาะแซ เขตมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า เป็นภิกษุชาวพม่าและเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของขบวนการต่อต้านมุสลิมในพม่า เขาถูกกล่าวหาว่าสร้างแรงบันดาลใจในการโจมตีมุสลิมจากสุนทรพจน์ของเขา แม้ว่าเขาจะกล่าวว่าเป็นผู้สนับสนุนสันติภาพ ไม่เคยกล่าวอ้างว่ามุสลิมเป็นศัตรู[1]

ภูมิหลัง[แก้]

วีระตูออกจากโรงเรียนเมื่ออายุ 14 ปีเพื่อบวชเป็นพระภิกษุ ใน พ.ศ. 2544 เขาเข้ามาเกี่ยวข้องกับขบวนการ 969[2] สองปีต่อมาใน พ.ศ. 2546 เขาถูกตัดสินจำคุก 25 ปีเนื่องจากการเทศนาของเขา[3] แต่ได้ปล่อยตัวใน พ.ศ. 2553 และเนื่องจากการปฏิรูปรัฐบาลใน พ.ศ. 2554 ทำให้เขาใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการติดต่อสื่อสาร[4]

การต่อต้านศาสนาอิสลาม[แก้]

วีระตูเป็นผู้นำภิกษุเดินขบวนในมัณฑะเลย์เมื่อกันยายน พ.ศ. 2555 เพื่อสนับสนุนประธานาธิบดีเต้นเซน ที่มีแผนส่งมุสลิมเบงกอลไปยังประเทศที่สาม[5] หนึ่งเดือนต่อมา เกิดความรุนแรงขึ้นในรัฐยะไข่ วีระตูกล่าวว่าความรุนแรงในยะไข่เป็นประกายของความรุนแรงในเมะทีลา ซึ่งการโต้เถียงในร้านทองนำไปสู่ความรุนแรง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 14 คน มีการเผาร้านค้าทั่วทั้งเมือง[6][7] มีคนถูกสังหารโดยฝูงชนในเมกติลาเมื่อ 5 มีนาคม อย่างน้อยสองคนคือพระภิกษุชาวพม่าชื่อ ชิน ทอบิตา และชายชาวมุสลิม[8][9]

วีระตูถูกกล่าวถึงในบทความของนิตยสาร ไทม์ เรื่องภาพของการก่อการร้ายชาวพุทธเมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556[10] "คุณเต็มไปด้วยความกรุณาและความรัก แต่คุณไม่สามารถนอนหลับใกล้หมาบ้าได้" วีระตูกล่าวอ้างถึงมุสลิม "ถ้าเราอ่อนแอ แผ่นดินของเราจะเต็มไปด้วยมุสลิม"[11] วีระตูกังวลว่าความรุนแรงและความโดดเด่นของมุสลิมในประเทศเพื่อนบ้านจะกลายเป็นชะตากรรมของพม่า[12] วีระตูกล่าวว่ามุสลิมเห็นเขาเป็นบินลาเดนชาวพุทธ[13] หลังจากบทความนี้ตีพิมพ์ เขากล่าวว่าเป็นพวกต่อต้านความรุนแรง ต่อต้านการก่อการร้าย และปกป้องสาธารณชน[14] เต้นเซนกล่าวหานิตยสาร ไทม์ ว่าให้ร้ายศาสนาพุทธ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด วีระตูประณามมุสลิมอย่างเปิดเผยว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรง มุสลิมในพม่าได้รับเงินสนับสนุนจากตะวันออกกลาง[15]

ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เขาเป็นเป้าหมายของการวางระเบิดแต่ปลอดภัย มีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 5 คน วีระตูกล่าวว่าการวางระเบิดเป็นฝีมือของมุสลิมสุดโต่งเพื่อปกปิดเสียงของเขา[16][17][18] เขาเรียกร้องให้จำกัดการแต่งงานระหว่างชาวพุทธกับมุสลิม[19]และคว่ำบาตรธุรกิจของมุสลิม

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 อะชีนวีระตูได้ไปเข้าร่วมการประชุมใหญ่พระสงฆ์ในโคลัมโบ จัดโดยโพทุ พาลา เสนา ซึ่งเขากล่าวว่าขบวนการ 969 จะร่วมงานกับโพทุ พาลา เสนา[20]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Sectarian divide in Myanmar driven by radical Buddhism - Hindustan Times". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-13. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  2. Alan Strathern (1 May 2013). "Why are Buddhist monks attacking Muslims?". BBC.
  3. Kate Hodal (28 April 2013). "Buddhist monk uses racism and rumours to spread hatred in Burma". Guardian.
  4. Gianluca Mezzofiore (26 March 2013). "Fanatical Buddhist Monk Saydaw Wirathu Calling for Boycott of Myanmar Muslims". International Business Times.
  5. Kate Hodal (18 April 2013). "Buddhist monk uses racism and rumours to spread hatred in Burma - The Guardian". The Guardian.
  6. Phyo Wai Lin, Jethro Mullen and Kocha Olarn (22 March 2013). ", muslims, clash with Rakhines in Myanmar". CNN.
  7. "Inteview with Myanmar's President". CNN. 24 May 2013.
  8. "The Rohingya Saga". Korean Press News. 21 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  9. Horrifying Moment Burmese Buddhists Set Fire to Muslim Man in Riots Which Left 43 Dead | American Renaissance
  10. Hannah Beech (1 July 2013). "The Face of Buddhist Terror". Time Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  11. Thomas Fuller (20 June 2013). "Extremism Rises Among Myanmar Buddhists". New York Times.
  12. Raymond Ibrahim (2 August 2013). "Buddhist Extremism?". Front Page Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-02. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  13. Khin Khin Ei (21 June 2103). "Myanmar Monk Rejects Terrorist Label Following Communal Clashes". Radio Free Asia.
  14. "Radical Buddhist monk accused of inciting riots that have killed hundreds of Muslims". New York Post. 21 June 2013.
  15. http://www.guardian.co.uk/world/2013/apr/18/buddhist-monk-spreads-hatred-burma
  16. Shibani Mahtani and Myo Myo (22 Jul 2013). "Blast Near Monk Injures 5 in Myanmar". Wall Street Journal.
  17. "Burma police: Explosion near Wirathu sermon in Mandalay wounds 5". AP News. 22 Jul 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  18. Khin Maung Soe and Yadanar Oo (22 Jul 2013). "Myanmar's Nationalist Monk Claims Bombers Sought to 'Silence Him'". Radio Free Asia.
  19. Shibani Mahtani (22 July 2013). "Myanmar Plan to Curb Interfaith Marriage Gains Support". Wall Street Journal.
  20. "Ashin Wirathu Thera of Myanmar to work with BBS". Daily Mirror (Sri Lanka). 28 September 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]