หูเหฺย
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ เพราะเขียนสะกดคำไทยผิดหลายแห่ง คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เจ้าพ่อเสือ 虎爷 | |||||||
เทวรูปเจ้าพ่อเสือ ศิลปะแบบประเพณีจีนในปัจจุบัน ณ ศาลเจ้าตำหนักซื่อเตี้ยนซิ้งจี่กง (祀典興濟宮) เขตภาคเหนือ นครไถหนาน ประเทศไต้หวัน | |||||||
ภาษาจีน | 虎爷 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
|
หูเหฺย (虎爷) หรือ ฮ้อเอี๋ย เป็นเทวดาหรือเซียนหรือวิญญาณในรูปของเสือในศาสนาชาวบ้านจีน ซึ่งมีการขนานนามอื่น ๆ เช่น หูเหฺย (虎爷公) หูเหฺยเจียงจฺวิน (虎爷将军) หูเจียงจฺวิน (虎将军) เซี่ยถานเจียงจฺวิน (下坛将军) ชานจฺวินจุนเฉิน (山君尊神 หรือ 山军尊神) เรื่องราวและคติความเชื่อของเจ้าพ่อเสือนั้นคล้ายคลึงกับคติความเชื่อเรื่อง เสือสมิง ในศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นของไทย คติของเจ้าพ่อเสือเป็นการนับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งขุนเขาและเจ้าป่า[1] เป็นสัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญ เป็นเครื่องหมายของเพศชาย เป็นผู้มีร่างกายสง่างามด้วยอำนาจอันน่าเกรงขาม ซึ่งศาลเจ้าของเทพองค์และงเอี่ยนเทียนส่งเต่ที่มีชื่อเสียงของไทยได้แก่ ศาลเจ้าพ่อเสือ (เสาชิงช้า)[2][3]
ในศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นของไทยเป็นนามของเทพารักษ์ในศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นของไทยอันมีมากมายหลากหลายองค์ตามท้องถิ่นนั้น ๆ และนามนี้ในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนยังได้มาทับศัทพ์จากภาษาจีน ของเอี่ยนเทียนส่งเต่ในศาสนาชาวบ้านจีนและลัทธิเต๋าอันเป็นนามเดิมของพระองค์ เช่นเดียวกับในกรณีของ เจ้าแม่ทับทิม อันเป็นเทพารักษ์นารีในศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นของไทยอันมีมากมายหลากหลายองค์ตามท้องถิ่นนั้น ๆ ที่หมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนทับศัทพ์ในภาษาไทยสำหรับเรียก ม่าจ้อโป๋ จุ้ยบ้วยเนี้ย และ เจ้าแม่ไท้ฮัว (ไท้วาโผ่) (泰华聖娘) ซึ่งเป็นเทพนารีคนละองค์แต่ใช้นามเดียวกันและกรณีของก่ำเทียนไต่เต่อันได้รับการขนานนามว่า เจ้าพ่อเขาตก ซึ่งเป็นนามของเทพารักษ์ในศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นของไทยอันมีหน้าที่รักษาพระพุทธบาท ณ เขาสัจจพันธ์คีรีซึ่งใช้ในนามเดียวกัน เช่นกัน