หอรำลึกซุน ยัตเซ็น (กวางโจว)
中山纪念堂 | |
พิกัด | 23°08′06″N 113°15′54″E / 23.134978°N 113.265004°E |
---|---|
ที่ตั้ง | กวางโจว, มณฑลกวางตุ้ง, ประเทศจีน |
ประเภท | อนุสรณ์สถาน |
วัสดุ | เหล็กและคอนกรีต |
ความสูง | 49 m (161 ft) |
เริ่มก่อสร้าง | ค.ศ. 1929 |
สร้างเสร็จ | ตุลาคม ค.ศ. 1931 |
อุทิศแด่ | ดร.ซุน ยัตเซ็น |
หอรำลึกซุน ยัตเซ็น | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 中山紀念堂 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 中山纪念堂 | ||||||||||
|
หอรำลึกซุน ยัตเซ็น หรือ หอรำลึกจงซานเป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยมในเมืองกว่างโจว เมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้ง
หอรำลึกได้รับการออกแบบโดยลู่ ยันจื่อ และถูกสร้างขึ้นด้วยเงินที่ระดมทุนโดยคนจีนทั้งในและต่างประเทศเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของดร.ซุน ยัตเซ็น งานก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1929 และเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1931 ห้องโถงเป็นโครงสร้างแปดเหลี่ยมขนาดใหญ่ที่มีความยาว 71 เมตรโดยไม่มีเสาหลัก หอรำลึกตั้งด้วยเวทีขนาดใหญ่และบรรจุคนได้ 3,240 คน
ประวัติ
[แก้]หอรำลึกในอดีตนั้นเคยเป็นที่ตั้งที่มีชื่อว่า ทำเนียบประธานาธิบดีกวางตุ้ง เมื่อครั้งที่ดร.ซุน ยัตเซ็นทำกับสู้รบเพื่อรวบรวมประเทศจีนในยุคขุนศึก
มาถึงปี ค.ศ. 1931 ทำเนียบประธานาธิบดีได้ถูกเปลี่ยนเป็นหอรำลึกซุน ยัตเซ็นสร้างขึ้นเพือรำลึกถึง ดร.ซุนยัดเซ็น ถือว่าเป็นบิดาของคนจีนยุคใหม่ ดร.ซุน ยัดเซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง และเป็นประธานาธิบดีคนแรกของจีน เป็นแกนนำคนสำคัญในการโค่นล้มราชวงศ์ชิง เป็นผู้ที่มีพระคุณกับชาวจีนอย่างใหญ่หลวงเพราะเป็นผู้ที่ปลดปล่อยชาวจีนให้รอดพ้นจากสังคมเดิมที่ล้าหลัง และระบบกษัตริย์ราชวงศ์ชิง
หอรำลึกซุน ยัตเซ็น ได้รับการบูรณะอีกครั้งในปี ค.ศ. 1972 สร้างเพื่อระลึกวันเกิดร้อยปีของ ดร.ซุน ยัตเซ็น สัญลักษณ์ของหอที่ระลึกแห่งนี้คือรูปปั้นเหมือนของตัวท่าน ที่ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์ และแผ่นป้ายที่เขียนว่า "เทียนเซี้ยะเหวยกง” ซึ่งท่านก็เป็นผู้เขียนด้วยตัวของท่านเอง โครงสร้างภายนอกเลียนแบบวังจีน หลังคาปูด้วยกระเบื้องสีเหลือง ภายในหอมีห้องประชุมใหญ่ ห้องสมุด ดร.ซุน ยัตเซ็น ห้องภาพ และห้องบรรยาย ในห้องโถงใหญ่มีรูปปั้น ดร.ซุน ยัตเซ็น ที่ทำจากทองแดงแท้ สูง 5.8 เมตร ฐานสูง 3.1 เมตร ภายในอนุสรณ์สถานนั้นเป็นหอประชุมขนาดใหญ่รูปทรงแปดเหลี่ยม ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเยี่ยม เพราะสร้างขึ้นโดยไม่มีเสากลางห้องที่จะบดบังสายตาของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม
การเดินทาง
[แก้]สามารถเข้าถึงหอรำลึกซุน ยัตเซ็นได้จากรถไฟใต้ดินกว่างโจวโดยใช้เส้นทางสถานีหอรำลึกซุน ยัตเซ็น
ดูเพิ่ม
[แก้]- อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ซุน ยัตเซ็น ที่เมืองหนานจิง
- หอรำลึกซุน ยัตเซ็นที่เมืองไทเป
- หอรำลึกซุน ยัตเซ็น (หนานหยาง) ที่ประเทศสิงค์โปร์
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Beck, Sanderson (2007), Republican China in Turmoil 1912–1926.
- Pakula, Hannah (2009), The Last Empress: Madame Chiang Kai-shek and the Birth of Modern China, New York: Simon & Schuster.