หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์)
หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์) | |
---|---|
ฮันเตอร์ ประมาณปี 2363–2383 | |
เกิด | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2335 กลาสโกว์ เเค้วนสก๊อตแลนด์ ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ |
เสียชีวิต | 7 กันยายน พ.ศ. 2391 (55 ปี) กลาสโกว์ สก๊อตแลนด์ สหราชอาณาจักร |
สัญชาติ | บริติช (สหราชอาณาจักร) |
อาชีพ | พ่อค้า นักการทูต |
โรเบิร์ต ฮันเตอร์ (อังกฤษ: Robert Hunter; 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2335 – 7 กันยายน พ.ศ. 2391) เป็นพ่อค้าชาวบริติช สหราชอาณาจักรเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เข้ามาตั้งร้านค้าในอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2368 ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช[1] ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ปืนคาบศิลา จำนวน 1,000 กระบอก ขณะที่ไทยมีกรณีพิพาทกับเจ้าอนุวงศ์ แห่งเมืองเวียงจันทน์เเละมีเรือชื่อว่าเอ็กเพรสซึ่งจะนำเข้ามาขายให้รัชกาลที่3
ประวัติ
[แก้]ฮันเตอร์ หรือที่คนไทยร่วมสมัยเรียกว่า นายหันแตร เป็นพ่อค้าที่เข้ามาตั้งห้างในกรุงรัตนโกสินทร์ชื่อ "โรงสินค้าบริเตน" (The British Factory) ส่วนคนไทยร่วมสมัยเรียกว่า ห้างหันแตร นับได้ว่าเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ เขายังเป็นบุคคลที่นำตัวอิน-จัน แฝดสยามชาวไทยเดินไปแสดงตัวที่สหรัฐ
ฮันเตอร์ นับได้ว่าเป็นชาวตะวันตกที่สามารถพูดภาษาไทยและเข้าใจคนไทยได้เป็นอย่างดี และมีความรู้จักกับขุนนางในราชสำนักคนสำคัญหลายคน
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ชีวิตส่วนตัวได้สมรสกับหญิงไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่บ้านกุฎีจีน มีชื่อว่า แองเจลิน่า โดยมีชื่อภาษาไทยว่าทรัพย์ เชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์รุ่นที่สี่ เรียกกันอย่างยกย่องว่า ท่านผู้หญิงทรัพย์ เธอเป็นผู้นำชุมชนกระดีจีน(ชุมชนกุฎีจีน)[2][3]
บทบาททางการทูต
[แก้]แต่นายฮันเตอร์มีพฤติกรรมที่ไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง เช่น เคยเสนอขายพรมให้แก่ราชสำนัก โดยที่ไม่ได้สั่ง แต่ราชสำนักไม่ซื้อก็เกิดความไม่พอใจ หรือมักลักลอบค้าฝิ่นจากอังกฤษโดยซ่อนมากับสินค้าประเภทอื่น ทั้งที่กฎหมายไทยในเวลานั้นประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมที่ดีงาม หลายครั้งเมื่อถูกตรวจพบ นายฮันเตอร์ก็มักอ้างเพื่อให้เห็นแก่ความสัมพันธ์ระหว่างชาติ หรือไม่ก็ขู่ว่าจะนำเรื่องไปฟ้องต่อทางการสหราชอาณาจักรให้นำเรือรบมาปิดปากอ่าวไทย เป็นต้น
ต่อมา สหายชาวต่างชาติของนายฮันเตอร์คนหนึ่งได้ทดลองยิงปืนคาบศิลา ในบริเวณที่วัด พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ไม่พอใจ ได้เข้าไปห้ามปรามแต่ก็ไม่ฟัง พระสงฆ์จึงทำร้ายสหายของนายฮันเตอร์ด้วยการตีที่ศีรษะจนแตก ทางการไทยสอบสวน โดยมีองค์ประธานคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์) ผลการสอบสวนพบว่า พระสงฆ์ไทยผิด จึงโปรดฯ ให้ลงโทษด้วยการให้นั่งสมาธิกลางแดดครึ่งวัน ยังความไม่พอใจแก่นายฮันเตอร์เพราะต้องการให้ลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต
ความสัมพันธ์ระหว่างนายฮันเตอร์กับทางการไทยขาดสะบั้นลง เมื่อทางไทยจะทำการรบกับโครชินไชน่า (เวียดนาม) นายฮันเตอร์ได้เสนอขายปืนคาบศิลาจำนวน 200 กระบอก และต้องการให้ทางไทยซื้อให้หมด ทั้งที่ทางการไทยต้องการเพียง 100 กระบอกเท่านั้น และยังยัดเยียดขายเรือกลไฟที่ขึ้นสนิมอีกลำหนึ่ง ที่ชื่อ เอ็กเพรส (Express) โดยเรือลำนี้แล่นมาจากเมืองท่าลิเวอร์พูลพร้อมกัปตันชื่อ พี.บราวน์ แม้คนไทยในเวลานั้นจะฮือฮาเพราะไม่เคยเห็น "เหล็กลอยน้ำได้" อย่างเช่นเรือกลไฟมาก่อน แต่นายฮันเตอร์ได้เสนอขายในราคา 67,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทางไทยมองว่าเป็นการขายที่ไม่ชอบธรรม ประกอบกับพฤติกรรมของนายฮันเตอร์ในระยะหลังที่มักแสดงออกถึงการไม่แสดงความเคารพต่อไทยซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ เช่น เมื่อขายเรือกลไฟไม่ได้ นายฮันเตอร์ได้ประกาศว่าจะนำไปขายให้โครชินไชน่าซึ่งเป็นคู่กรณีของไทยแทน จึงได้เนรเทศนายฮันเตอร์พร้อมกับภรรยาให้ออกนอกราชอาณาจักรและห้ามกลับเข้ามาอีกตลอดชีวิตไปในปี พ.ศ. 2387 โดยได้เดินทางไปที่สิงคโปร์ด้วยเรือเอ็กเพรสนี่เอง รวมระยะเวลาที่นายฮันเตอร์อยู่ในเมืองไทยทั้งหมด 18 ปี
แต่ก็ได้มีบันทึกโดยชาวตะวันตกด้วยกันเอง ที่บันทึกไว้ว่า นายฮันเตอร์ก็ยังได้กลับมาที่เมืองไทยมากกว่า 1 ครั้ง แต่เป็นการเข้ามาเพื่อสะสางสัมภาระของตนที่เหลืออยู่และจัดแจงธุระต่าง ๆ ก่อนที่จะจากไปโดยถาวรในที่สุด
บั้นปลายชีวิต
[แก้]หลังจากถูกเนรเทศจากเมืองไทย นายฮันเตอร์ได้เดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ที่ สก็อตเเเลนด์ ประเทศสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นบ้านเกิด จนกระทั่งเสียชีวิตที่บ้านในเขตลิลลี่แบงค์ เมืองกลาสโกว์ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2391[4] บุตรชายของนายฮันเตอร์ชื่อ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ จูเนียร์ (Robert Hunter, Jr.) ยังคงอยู่ในเมืองไทยหลังจากบิดาถูกเนรเทศ เนื่องจากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับราชสำนักไทยมากกว่าบิดา[5] เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2408 ศพได้ฝังไว้ที่สุสานโปรเตสแตนต์กรุงเทพ[6] จดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ของหมอบรัดเลย์ระบุว่า "ณ วันพุทธ เดือนห้า แรมเก้าค่ำ ปีฉลู สัพตศก, มิศเตอโรเบิดหันแตร, ผู้เป็นล่ามแลเสมียน, ในเจ้าพระยาศรีสุริย์วงษ ถึงอนิจกำม์ที่บ้านเขา. มีข่าวว่าถึงแก่กำม์เพราะกินสุรา"[7]
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]ภาพยนตร์ไทยแนวย้อนยุค–โรแมนติกคอเมดีที่ร่วมทุนสร้างระหว่างค่ายจีดีเอชและบรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น เรื่อง บุพเพสันนิวาส 2 ออกฉายเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 มีตัวละครหนึ่งชื่อ "หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช" หรือ "นายห้างหันแตร" รับบทโดยแดเนียล เฟรเซอร์[8][9][10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า 280
- ↑ ประวัติศาสตร์เว็บไซต์เรือนไทย
- ↑ "ทายาทของคอนสแตนติน ฟอลคอน". โพสต์ทูเดย์. 29 Mar 2018. สืบค้นเมื่อ 7 Jun 2020.
- ↑ Singapore Free Press, 16 November 1848
- ↑ Hunter, Duet For a Lifetime p. 88
- ↑ Nelson, Chris. "Robert Hunter". Find A Grave. สืบค้นเมื่อ 16 Oct 2018.
- ↑ หนังสือจดหมายเหตุ The Bangkok Recorder เก็บถาวร 2021-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม 1 เดือน 6 ขึ้น 7 ค่ำ จุลศักราช 1227. ใบ 5. หน้า 22
- ↑ รีวิวหนังบุพเพสันนิวาส2 : ไปดูกันหรือยังหนาออเจ้า
- ↑ เผยโฉมเหล่าบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ปรากฏให้เห็นกันแล้วใน "บุพเพสันนิวาส ๒"
- ↑ ย้อนรอย 4 บุคคลในประวัติศาสตร์ “บุพเพสันนิวาส 2” เล่ายังไงให้สนุก กรุงเทพธุรกิจ สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2565
- หันแตร[ลิงก์เสีย] จากสกุลไทยออนไลน์ โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์, ฉบับที่ 2517 ปีที่ 49 ประจำวันอังคาร ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2546
- รายการเรื่องเล่า ๙ แผ่นดิน ทางทีวีไทย ตอน สำเภากางใบ การค้ารุ่งเรือง : ออกอากาศ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552
บรรณานุกรม
[แก้]- Bradley, Dan Beach (1936). Feltus, George Haws (บ.ก.). Abstract of the journal of Rev. Dan Beach Bradley, M.D., medical missionary in Siam, 1835-1873. Cleveland, OH: Pilgrim Church.
- Bristowe, W.S. (1976). Louis and the King of Siam. New York: Thai-American Publishers.
- Bristowe, W.S. (2 February 1974). "Robert Hunter in Siam". History Today. 24 (2). สืบค้นเมื่อ 5 February 2019.
- The Burney Papers Vol. 4; Pt. 1 to 2. Bangkok: Vajiranana National Library. 1913. สืบค้นเมื่อ 7 October 2018.
- Cort, Mary Lovina (1886). Siam: Or, The Heart of Farther India. A. D. F. Randolph & Company. สืบค้นเมื่อ 16 October 2018.
- Farrington, Anthony, บ.ก. (2001). Early Missionaries in Bangkok: The Journals of Tomlin, Gutzlaff and Abeel 1828–1832. Bangkok: White Lotus Press. ISBN 9789747534832.
- Frankfurter, Oscar (1911). "The Mission of Sir James Brooke to Siam" (PDF). Journal of the Siam Society. 8 (3): 19–31.
- Hunter, Kay (1964). Duet For a Lifetime. London: Michael Joseph.
- Moore, R. Adey (1915). "An Early British Merchant in Bangkok" (PDF). Journal of the Siam Society. 11 (2): 21–39.
- Neale, Frederick Arthur (1852). Narrative of a residence at the capital of the Kingdom of Siam. London: National Illustrated Library. สืบค้นเมื่อ 23 October 2018.
- Orser, Joseph Andrew (2014). The Lives of Chang & Eng: Siam's Twins in Nineteenth-Century America. University of North Carolina Press. ISBN 9781469618302.
- SarDesai, D.R. (1977). British Trade and Expansion in Southeast Asia: 1830–1914. New Delhi: Allied Publishers.
- "Untitled". The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser. Singapore. 16 November 1848. p. 3. สืบค้นเมื่อ 7 October 2018.
- Singh, S.B.; Singh, S.P. (1997). "The Opening of Siam (Thailand)". Proceedings of the Indian History Congress. 58: 779–786. JSTOR 44144022.
- Terwiel, B.J. (1983). A history of modern Thailand: 1767–1942. St. Lucia: The University of Queensland Press. ISBN 9780702218927.
- Van Roy, Edward (2017). Siamese Melting Pot. Singapore: ISEAS Yusof Ishak Institute. ISBN 9786162151392.
- Vella, Walter F. (1957). Siam Under Rama III, 1824–51. Locust Valley, NY: J.J. Augustin.
- Wilson, Constance M. (1970). State and Society in the Reign of Mongkut, 1851–1868: Thailand on the Eve of Modernization, parts 1–2 (PhD). Cornell University.