ข้ามไปเนื้อหา

สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศอิสราเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สิทธิของเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล คนข้ามเพศ (กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ) ในอิสราเอล ถือว่าพัฒนามากที่สุดในประเทศตะวันออกกลาง[1] โดยในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ศาลได้อนุญาตอย่างเป็นทางการให้คู่เลสเบียนสามารถรับเลี้ยงบุตรที่เกิดมาจากการผสมเทียมจากการบริจาคสเปิร์ม ซึ่งทำให้เกิดการประท้วงจากพรรคยิวออโทดอกซ์ (ซึ่งมีส่วนน้อย) มีการสมรสที่มิได้กระทำตามกฎหมาย ก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน แต่การสมรสในเพศเดียวกันอย่างเป็นทางการยังไม่มีผลบังคับใช้ ซึ่งในประเทศอื่นมีการบังคับใช้แล้ว

อิสราเอลถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการสนับสนุนการสมรสในเพศเดียวกันมากที่สุดในโลก กับตัวเลข 61% ที่ชาวอิสราเอลสนับสนุนการจดทะเบียนสมรสในคู่เพศเดียวกัน[2]

อิสราเอล จอร์แดน ตุรกี อิรัก และไซปรัส เท่านั้นในตะวันออกกลาง[3] ที่รักร่วมเพศเป็นที่ยอมรับ ไม่ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายและไม่ถูกลงโทษภายใต้กฎหมาย ซึ่งในประเทศส่วนใหญ่ในตะวันออกกลาง พฤติกรรมรักร่วมเพศถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ที่มีการลงโทษการเฆี่ยนหรือแขวนคอ อิสราเอลถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่บุคคลรักร่วมเพศได้รับการปกป้องจากกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติ[4] และยังถือเป็นประเทศเดียวในตะวันออกกลางที่ได้รับการปกป้องจากกฎหมาย

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 ได้มีการจู่โจมยิงศูนย์เกย์และเลสเบียนในเทลอาวีฟ มีผู้เสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บมากกว่า 15 คน[5] บุคคลสำคัญจากรัฐบาล อาทิเช่น นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทายาฮู และประธานาธิบดี ชิมอน เปเรส และหลายองค์กรร่วมประณามการกระทำดังกล่าว

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The five most improved places for gay tolerance". The Independent. London. 2008-09-17. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29. Israel is the only Middle-Eastern country to support gay rights legislation, and the country attracts gay people from Palestine and Lebanon.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-27. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
  3. ในที่นี้ ในความหมายของขอบเขตคำว่าตะวันออกกลางแล้ว ตุรกีและไซปรัสไม่ถือว่าอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
  4. "Worker anti-discrimination bill passes" เก็บถาวร 2009-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2008-08-18.
  5. "Two killed in shooting at Tel Aviv gay center". Haaretz. 2009-08-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2009-10-29.