สาลี่ (ผลไม้)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาลี่
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: กุหลาบ
วงศ์: กุหลาบ
สกุล: Pyrus
ส่วน: Pyrus sect. Pashia
(Burm.f.) Nak.
สปีชีส์: Pyrus pyrifolia
ชื่อทวินาม
Pyrus pyrifolia
(Burm.f.) Nak.
ชื่อพ้อง[1]
รายการ
  • Pyrus arakiana Koidz.
  • Pyrus asakeensis Koidz.
  • Pyrus autumnalis (Siebold) Koidz.
  • Pyrus babauttiagi Koidz.
  • Pyrus cuneata Koidz.
  • Pyrus higoensis Koidz.
  • Pyrus incubacea Koidz.
  • Pyrus kiushiana Koidz.
  • Pyrus kleinhofiana Koidz.
  • Pyrus lakuhokuensis Koidz.
  • Pyrus lasiogyna Koidz.
  • Pyrus lindleyi Rehder
  • Pyrus nehiyamadonis Koidz.
  • Pyrus pseudocalleryana Uyeki
  • Pyrus pseudouipongensis Uyeki
  • Pyrus pyrifolia var. talyschensis Gladkova
  • Pyrus saidaeana Koidz.
  • Pyrus serotina Rehder
  • Pyrus sinensis Lindl.
  • Pyrus sohayakiensis Koidz.
  • Pyrus tajimaensis Koidz.
  • Pyrus tambana Koidz.
  • Pyrus tobisimensis Koidz.
  • Pyrus togashiana Koidz.
  • Pyrus tsuchiyana Koidz.
  • Pyrus tungusiana Koidz.
  • Pyrus uipongensis Uyeki
  • Pyrus umemurana Koidz.
  • Pyrus uyematsuana Makino
  • Pyrus yohrohensis Koidz.

สาลี่ หรือสาลี่จีน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyrus pyriforia; จีน: 沙梨; พินอิน: shālí อ่าน ซาหลี; อังกฤษ: Chinese pear ) มีชื่ออื่น ๆ อีกเช่น nashi pear[2]ในญี่ปุ่นเรียก nashi ภาษาเกาหลีเรียก shingo เป็นไม้ต้นชนิดหนึ่งในสกุลสาลี่ วงศ์ Rosaceae เป็นพืชเมืองหนาว ถิ่นกำเนิดในภาคตะวันตกของจีน พบขึ้นตามธรรมชาติในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ต้นชะลูด ทรงพีระมิด ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ ผลมีหลายสี ตั้งแต่เหลือง แดงอมส้ม น้ำตาล เขียว เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ บางพันธุ์เนื้อเป็นทราย รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย กลิ่นหอม เมล็ดขนาดเล็ก แบนรี สีดำหรือสีน้ำตาลเกือบดำ

ผลสาลี่
ดอกบานเต็มที่

การใช้ประโยชน์[แก้]

สาลี่นอกจากกินสดเป็นผลไม้แล้ว ยังนำไปแปรรูป เช่น ฟรุตสลัด ไอศกรีม น้ำสาลี่ บรรจุกระป๋อง สาลี่อบแห้ง สาลี่ในน้ำเชื่อม สาลี่แช่อิ่ม [3] หรือใช้ทำลูกกวาด สาลี่ไม่นิยมนำไปทำพายหรือแยมแบบเดียวกับแพร์เพราะมีน้ำในเนื้อมากกว่า กรอบกว่า ต่างจากแพร์ที่เนื้อนุ่มกว่า สาลี่มีฤทธิ์ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไอ ละลายเสมหะ แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการท้องเดิน[3] เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์

อ้างอิง[แก้]

  1. "Pyrus pyrifolia (Burm.f.) Nakai". Plants of the World Online. Board of Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew. 2017. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  2. "NSW Primary Industries 2002. Nashi asian pear varieties. Agfact H4.1.14". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-01-26.
  3. 3.0 3.1 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. สาลี่ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 247 - 248
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 385

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]