ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐเบียก-นา-บาโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐเบียก-นา-บาโต

Repúbliká ng̃ Biak-na-Bató
República de Biac-na-Bató
พ.ศ. 2440–พ.ศ. 2440
ธงชาติเบียก-นา-บาโต
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของเบียก-นา-บาโต
ตราแผ่นดิน
เขตการปกครองที่กล่วงอ้างโดยสาธารณรัฐเบียก-นา-บาโต
เขตการปกครองที่กล่วงอ้างโดยสาธารณรัฐเบียก-นา-บาโต
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง
เมืองหลวงซานมีเกล (บูลากัน)
ภาษาทั่วไปภาษาสเปน, ภาษาตากาล็อก
การปกครองสาธารณรัฐ
ประธานาธิบดี 
รองประธานาธิบดี 
ยุคประวัติศาสตร์การปฏิวัติฟิลิปปินส์
• ก่อตั้ง
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440
• สิ้นสุด
14 ธันวาคม พ.ศ. 2440[1] พ.ศ. 2440
พื้นที่
พ.ศ. 2440300,000 ตารางกิโลเมตร (120,000 ตารางไมล์)
ก่อนหน้า
ถัดไป
สเปนอีสต์อินดีส
สาธารณรัฐตากาล็อก
สเปนอีสต์อินดีส

สาธารณรัฐเบียก-นา-บาโต (ตากาล็อก: Repúbliká ng̃ Biak-na-Bató; สเปน: República de Biac-na-Bató) หรือที่ระบุในรัฐธรรมนูญว่าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ตากาล็อก: Repúbliká ng̃ Filipinas; สเปน: República de Filipinas) เป็นสาธารณรัฐแรกที่ประกาศจัดตั้งขึ้นในฟิลิปปินส์ โดยคณะปฏิวัติของเอมีลีโอ อากีนัลโด และสมาชิกกาตีปูนัน แม้ว่าจะประสบความสำเร็จ สามารถจัดตั้งสาธารณรัฐที่มีรัฐธรรมนูญแห่งแรกของฟิลิปปินส์ได้ แต่ก็สิ้นสุดลงในเวลาเพียงเดือนเดียว หลังจากมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างอากีนัลโดกับนายพลของสเปน เฟร์นันโด ปรีโม เด รีเบรา ทำให้อากีนัลโดต้องลี้ภัยไปฮ่องกง

รัฐบาล

[แก้]

รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐเบียก-นา-บาโต เขียนขึ้นโดยเฟลิกซ์ เฟร์เรร์ และอีซาเบโล อาร์ตาโช ซึ่งคัดลอกมาจากรัฐธรรมนูญคิวบาเกือบจะคำต่อคำ[2] มีการจัดตั้งสภาสูงสุดเมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 และมีการเลือกตั้งสมาชิก[3][4]

ประวัติศาสตร์

[แก้]
แผนที่กองทหารสเปนเขียนด้วยลายมือของนายพลเอมีลีโอ อากีนัลโด ที่เบียก-นา-บาโต

แนวคิดเบื้องต้นของสาธารณรัฐเริ่มขึ้นในช่วงท้ายของการปฏิวัติฟิลิปปินส์ ผู้นำของขบวนการกาตีปูนัน เอมีลีโอ อากีนัลโด ถูกล้อมโดยกองทัพสเปนในตาลีไซในบาตังกัส อากีนัลโดหลบหนีมาได้ พร้อมกับผู้ติดตามราว 500 คน ไปยังเบียก-นา-บาโตซึ่งอยู่ในบูลากัน[5][6] เมื่อข่าวการมาถึงของอากีนัลโดมาถึงลูซอนกลาง มีผู้คนจากอีโลโคส นูเวบาเอซีฮา ปังกาซีนัน ตาร์ลัก และซัมบาเลส มาสมทบกับกองทัพเพื่อต่อต้านกองทัพสเปน เมื่อไม่สามารถป้องกันให้ฝ่ายต่อต้านจัดตั้งกองทัพ นายพลปรีโม เด รีเบรา ได้ประกาศเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 เนรเทศคนเหล่านี้ออกไปจากเมืองหรือหมู่บ้าน ทำให้กลุ่มของอากีนัลโดตัดสินใจจัดตั้งสาธารณรัฐ อากีนัลโดได้กล่าวในคำประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐชื่อว่า "เพื่อลูกผู้กล้าหาญของฟิลิปปินส์" และได้ประกาศเป้าหมายของการปฏิวัติว่า

  1. ขับไล่บาทหลวงและคืนดินแดนที่พวกเขาครอบครองไว้แก่ชาวฟิลิปปินส์
  2. เป็นตัวแทนในสภาของสเปน
  3. มีเสรีภาพสื่อและการยอมรับทุกศาสนา
  4. ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน มีความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย[7]

ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 ได้มีการลงนามในรัฐธรรมนูญเฉพาะกาลของสาธารณรัฐเบียก-นา-บาโต ต่อมา ในราวเดือนธันวาคม พ.ศ. 2440 ปรีโม เด รีเบรา ตัดสินใจเจรจากับอากีนัลโด โดยให้ทนายความจากมะนิลา เปโดร ปาเตร์โนเป็นตัวกลางในการเจรจา ในที่สุด มีการลงนามในข้อตกลงเบียก-นา-บาโต ซึ่งประกอบด้วยเอกสารสามฉบับ สองฉบับแรกลงนามเมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2440 ฉบับที่สามลงนามในวันที่ 15 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันสลายตัวของสาธารณรัฐเบียก-นา-บาโต[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Don Emilio Aguinaldo y Famy (23 September 1899), "Chapter II. The Treaty of Biak-na-bató", True Version of the Philippine Revolution, Authorama: Public Domain Books, สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2551 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Ogonsotto, Rebecca Ramilo; Ogonsotto, Reena R. Philippine History Module-based Learning I' 2002 Ed. Rex Bookstore, Inc. p. 139. ISBN 978-971-23-3449-8.
  3. Agoncillo 1990, pp. 183–184
  4. "1897 Biac-na-Bato Constitution". [The Corpus Juris. November 1, 1897. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-15. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.
  5. Agoncillo 1990, p. 182
  6. Biak na Bato เก็บถาวร 2010-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Newsflash.org.
  7. Agoncillo 1990, pp. 182–183
  8. Zaide 1994, p. 252

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]