สะพานกระจกจางเจียเจี้ย
สะพานกระจกจางเจียเจี้ย | |
---|---|
张家界大峡谷玻璃桥 | |
พิกัด | 29°23′55″N 110°41′54″E / 29.3987°N 110.6982°E |
เส้นทาง | สะพานลอย |
ที่ตั้ง | นครจางเจียเจี้ย มณฑลหูหนาน |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานแขวน |
วัสดุ | เหล็กกล้า |
ความกว้าง | 14 เมตร (46 ฟุต) |
ความสูง | 360 เมตร (1,180 ฟุต) |
ช่วงยาวที่สุด | 430 เมตร (1,410 ฟุต) |
เคลียร์ตอนล่าง | 300 เมตร (980 ฟุต) |
ประวัติ | |
วันเปิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559 |
สถิติ | |
การจราจรโดยเฉลี่ย | 8,000 |
ที่ตั้ง | |
สะพานกระจกจางเจียเจี้ย | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 张家界大峡谷玻璃桥 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 張家界大峽谷玻璃橋 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | สะพานแก้วหุบผาชันใหญ่จางเจียเจี้ย | ||||||
| |||||||
ชื่อเล่นภาษาจีนอย่างเป็นทางการ | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 云天渡 | ||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 雲天渡 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ทางข้ามฟ้าเมฆ | ||||||
|
สะพานกระจกจางเจียเจี้ย (จีนตัวย่อ: 张家界大峡谷玻璃桥; จีนตัวเต็ม: 張家界大峽谷玻璃橋; พินอิน: Zhāngjiājiè Dà Xiágǔ Bōlí Qiáo) เป็นสะพานทางเดินลอยฟ้าในนครจางเจียเจี้ย มณฑลหูหนาน บนพื้นที่อู่หลิงยฺเหวียน สะพานถูกสร้างขึ้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พื้นสะพานเป็นกระจกใส เมื่อสะพานเปิดให้บุคคลทั่วไปเยี่ยมชมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้กลายเป็นสะพานพื้นกระจกที่สูงและยาวที่สุดในโลก ด้วยความยาวทั้งหมด 430 เมตร (1,410 ฟุต) ความกว้าง 6 เมตร (20 ฟุต) และแขวนอยู่เหนือพื้นดินประมาณ 300 เมตร (980 ฟุต)[1] สะพานนี้พาดผ่านหุบผาชันระหว่างหน้าผา 2 แห่งในอุทยานป่าไม้แห่งชาติจางเจียเจี้ย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลหูหนาน ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับผู้เยี่ยมชมได้ 800 คนในเวลาเดียวกัน สะพานได้รับการออกแบบโดย Haim Dotan สถาปนิกชาวอิสราเอล[2]
ในการสร้างสะพาน คณะวิศวกรได้ตั้งเสาค้ำ 4 ต้นบนขอบกำแพงของหุบผาชัน ตัวสะพานทำจากโครงโลหะพร้อมด้วยแผ่นกระจกมากกว่า 120 แผ่น แต่ละแผ่นมี 3 ชั้นและเป็นแผ่นกระจกนิรภัยหนา 2 นิ้ว (5.1 เซนติเมตร) ด้านใต้ของสะพานมีชิงช้ายาว 3 อัน นอกจากนี้ยังมีจุดสำหรับกระโดดบันจีจัมป์ความสูง 285 เมตร (935 ฟุต) ซึ่งถือเป็นจุดกระโดดบันจีจัมป์ที่สูงที่สุดในโลก[3]
คณะกรรมการจัดการของสะพานระบุว่าสะพานแห่งนี้ได้สร้างสถิติโลก 10 รายการซึ่งครอบคลุมถึงด้านการออกแบบและการก่อสร้าง[4] ได้รับการบันทึกว่าเป็นสะพานกระจกที่ยาวที่สุดจนกระทั่งสะพานกระจกหุบเขาหงหยา (红崖谷玻璃桥) ในมณฑลเหอเป่ย์ได้ทำลายสถิติ[5]
คลังภาพ
[แก้]-
มุมมองตรงกลาง
-
แผ่นกระจก
-
มุมมองด้านข้าง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "World's tallest and longest glass bridge closes after just two weeks". Dezeen (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-09-05. สืบค้นเมื่อ 2018-01-21.
- ↑ Shankar (2018-01-19). चीन में कांच का पुल history of glass bridge in china [Glass pull in China history of glass bridge in China]. Cool Thoughts (ภาษาฮินดี). สืบค้นเมื่อ 2018-01-21.
- ↑ Civil Student. "Zhangjiajie Grand Canyon Glass Bridge". PDF. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "World's longest, highest glass bridge to open". Xinhuanet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2016. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
- ↑ 王建芬. "World's longest glass bridge ready to open - Chinadaily.com.cn". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 2017-12-26.