สะพานกระจกจางเจียเจี้ย

พิกัด: 29°23′55″N 110°41′54″E / 29.3987°N 110.6982°E / 29.3987; 110.6982
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานกระจกจางเจียเจี้ย
张家界大峡谷玻璃桥
พิกัด29°23′55″N 110°41′54″E / 29.3987°N 110.6982°E / 29.3987; 110.6982
เส้นทางสะพานลอย
ที่ตั้งนครจางเจียเจี้ย มณฑลหูหนาน
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานแขวน
วัสดุเหล็กกล้า
ความกว้าง14 เมตร (46 ฟุต)
ความสูง360 เมตร (1,180 ฟุต)
ช่วงยาวที่สุด430 เมตร (1,410 ฟุต)
เคลียร์ตอนล่าง300 เมตร (980 ฟุต)
ประวัติ
วันเปิด20 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สถิติ
การจราจรโดยเฉลี่ย8,000
ที่ตั้ง
แผนที่
สะพานกระจกจางเจียเจี้ย
อักษรจีนตัวย่อ张家界峡谷玻璃
อักษรจีนตัวเต็ม張家界峽谷玻璃
ความหมายตามตัวอักษรสะพานแก้วหุบผาชันใหญ่จางเจียเจี้ย
ชื่อเล่นภาษาจีนอย่างเป็นทางการ
อักษรจีนตัวย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม
ความหมายตามตัวอักษรทางข้ามฟ้าเมฆ

สะพานกระจกจางเจียเจี้ย (จีนตัวย่อ: 张家界大峡谷玻璃桥; จีนตัวเต็ม: 張家界大峽谷玻璃橋; พินอิน: Zhāngjiājiè Dà Xiágǔ Bōlí Qiáo) เป็นสะพานทางเดินลอยฟ้าในนครจางเจียเจี้ย มณฑลหูหนาน บนพื้นที่อู่หลิงยฺเหวียน สะพานถูกสร้างขึ้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พื้นสะพานเป็นกระจกใส เมื่อสะพานเปิดให้บุคคลทั่วไปเยี่ยมชมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้กลายเป็นสะพานพื้นกระจกที่สูงและยาวที่สุดในโลก ด้วยความยาวทั้งหมด 430 เมตร (1,410 ฟุต) ความกว้าง 6 เมตร (20 ฟุต) และแขวนอยู่เหนือพื้นดินประมาณ 300 เมตร (980 ฟุต)[1] สะพานนี้พาดผ่านหุบผาชันระหว่างหน้าผา 2 แห่งในอุทยานป่าไม้แห่งชาติจางเจียเจี้ย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลหูหนาน ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับผู้เยี่ยมชมได้ 800 คนในเวลาเดียวกัน สะพานได้รับการออกแบบโดย Haim Dotan สถาปนิกชาวอิสราเอล[2]

ในการสร้างสะพาน คณะวิศวกรได้ตั้งเสาค้ำ 4 ต้นบนขอบกำแพงของหุบผาชัน ตัวสะพานทำจากโครงโลหะพร้อมด้วยแผ่นกระจกมากกว่า 120 แผ่น แต่ละแผ่นมี 3 ชั้นและเป็นแผ่นกระจกนิรภัยหนา 2 นิ้ว (5.1 เซนติเมตร) ด้านใต้ของสะพานมีชิงช้ายาว 3 อัน นอกจากนี้ยังมีจุดสำหรับกระโดดบันจีจัมป์ความสูง 285 เมตร (935 ฟุต) ซึ่งถือเป็นจุดกระโดดบันจีจัมป์ที่สูงที่สุดในโลก[3]

คณะกรรมการจัดการของสะพานระบุว่าสะพานแห่งนี้ได้สร้างสถิติโลก 10 รายการซึ่งครอบคลุมถึงด้านการออกแบบและการก่อสร้าง[4] ได้รับการบันทึกว่าเป็นสะพานกระจกที่ยาวที่สุดจนกระทั่งสะพานกระจกหุบเขาหงหยา (红崖谷玻璃桥) ในมณฑลเหอเป่ย์ได้ทำลายสถิติ[5]

คลังภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "World's tallest and longest glass bridge closes after just two weeks". Dezeen (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-09-05. สืบค้นเมื่อ 2018-01-21.
  2. Shankar (2018-01-19). चीन में कांच का पुल history of glass bridge in china [Glass pull in China history of glass bridge in China]. Cool Thoughts (ภาษาฮินดี). สืบค้นเมื่อ 2018-01-21.
  3. Civil Student. "Zhangjiajie Grand Canyon Glass Bridge". PDF. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.[ลิงก์เสีย]
  4. "World's longest, highest glass bridge to open". Xinhuanet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2016. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
  5. 王建芬. "World's longest glass bridge ready to open - Chinadaily.com.cn". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 2017-12-26.