ข้ามไปเนื้อหา

สหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก
ชื่อย่อOPBF
ก่อตั้งพ.ศ. 2495 (ในนาม OBF)
ประเภทสหพันธ์กีฬานานาชาติ
สํานักงานใหญ่ประเทศญี่ปุ่น
ที่ตั้ง
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
เอเชียและโอเชียเนีย
สมาชิก
16 ชาติ (3 ภูมิภาค)​
ภาษาทางการ
ภาษาอังกฤษ
สังกัดสภามวยโลก
เว็บไซต์http://www.opbf.info/
หมายเหตุOPBF สถาปนาครั้งแรกในนาม "สหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกล"

สหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก (อังกฤษ: Oriental & Pacific Boxing Federation; ชื่อย่อ: OPBF) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2498 และเข้าเป็นสมาชิกของสภามวยโลก (WBC) ใน พ.ศ. 2506 สมาชิกของ OPBF ได้แก่ออสเตรเลีย ฟิจิ กวม ฮาวาย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มองโกเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ กลุ่มประเทศสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตไต้หวัน ซามัว ไทย และตองงา สำนักงานใหญ่อยู่ที่ญี่ปุ่น

ประวัติ

[แก้]

ในระยะเริ่มแรกของมวยสากลในทวีปเอเชียยังไม่มีการชิงแชมป์ระดับภูมิภาคที่เป็นทางการ มีบันทึกของสภามวยโลกระบุว่ามีการแข่งขันชิงแชมป์มวยสากลภาคตะวันออกเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยกาเบรียล อิลอร์เด ชนะ ฮิโรชิ โอริงูจิ ได้ครองแชมป์รุ่นไลท์เวท ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันลาร์รี่ บาตาน (ฟิลิปปินส์) ชนะ อากิโยชิ อากาซาวะ (ญี่ปุ่น) ได้ครองแชมป์รุ่นเฟเธอร์เวท

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการรับรองตำแหน่งแชมป์อย่างเป็นทางการจนกระทั่งมีการจัดตั้งสถาบันมวยแห่งแรกในเอเชียเมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2497 ในชื่อสหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกล (OBF) ที่โตเกียวจากการประชุมของตัวแทนจากญี่ปุ่น (ยาชิโยะ มานาเบะ) ฟิลิปปินส์ (อัลเฟรโด กิโดเต) และไทย (พร พาณิชภักดี) ประธานของ OBF คนแรกคือมานูเอล นีโตจากฟิลิปปินส์ ผลจากการประชุมครั้งนี้ได้จัดให้มีการชกเป็นมหกรรมของแชมป์ภาคตะวันออกที่มะนิลาเมื่อ 3 และ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ผู้ได้ครองแชมป์ในครั้งนั้นได้แก่

การประชุมของ OBF ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2500 โดยมีตัวแทนจากไทย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และสมาชิกใหม่คือเกาหลีใต้เข้าร่วม จำนวนสมาชิกได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จน พ.ศ. 2520 ออสเตรเลียเข้าเป็นสมาชิก[1]และเปลี่ยนชื่อเป็น OPBF เพื่อรวมภูมิภาคแปซิฟิกตอนใต้เข้ามาด้วย จนมีสมาชิก 16 ประเทศในปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Boxing Bodies: A Brief Chronology and Rundown", International Boxing Digest, 40, no. 1: 58, January 1998

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]