สมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัลเบิร์ต ไอนสไตน์

สมองของนักฟิสิกส์ อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ถูกวิจัยและคาดคะเนอย่างมาก สมองของไอนสไตน์ถูกนำออกมาภายในเจ็ดชั่วโมงครึ่งหลังการเสียชีวิตของเขา ด้วยเขามีชื่อเสียงเป็นอัจฉริยบุคคลชั้นนำคนหนึ่งแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 สมองของเขาจึงได้รับความสนใจ มีการนำลักษณะต่าง ๆ ในสมองทั้งที่ปกติและแปลกไปใช้สนับสนุนความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกายวิภาคศาสตร์กับความฉลาดทั่วไปและทางคณิตศาสตร์ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เสนอว่าบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการพูดและภาษานั้นเล็กกว่า ขณะที่บริเวณเกี่ยวกับจำนวนและการประมวลผลเชิงปริภูมินั้นใหญ่กว่า การศึกษาอื่น ๆ พบว่าสมองของไอนสไตน์มีจำนวนเซลล์เกลียมากกว่าปกติ[1]

ความเป็นไปของสมอง[แก้]

การชันสูตรศพของไอนสไตน์กระทำในห้องปฏิบัติการ ณ โรงพยาบาลปรินซ์ตัน โดยนักพยาธิวิทยาชื่อ โทมัส สต็อลทซ์ ฮาร์วีย์ ไม่นานหลังการเสียชีวิตของเขาใน ค.ศ. 1955 ฮาร์วีย์นำสมองออกและชั่งน้ำหนักสมอง จากนั้นนำไปห้องปฏิบัติการ ณ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และผ่าสมองของไอนสไตน์เป็นหลายชิ้น สมองบางชิ้นนั้นถูกนำไปให้นักพยาธิวิทยาชั้นนำ เขาหวังว่าการแบ่งเปลือกสมองออกเป็นพื้นที่ตามลักษณะเซลล์ (Cytoarchitecture) จะให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์[2] ฮาร์วีย์ฉีดฟอร์มาลีน 50% ทางหลอดเลือดแดงคาโรติดใน แล้วแช่สมองทั้งก้อนในฟอร์มาลีน 10% ฮาร์วีย์ถ่ายรูปสมองหลายมุม จากนั้นเขาผ่าสมองเป็นประมาณ 240 บล็อก (แต่ละบล็อกขนาดประมาณ 18 ซม.3) และหุ้มแต่ละชั้นในวัสดุคล้ายพลาสติกที่เรียกว่า โคโลเดียน[3][4] ฮาร์วีย์ยังนำตาของไอนสไตน์ออกและมอบให้เฮนรี่ เอบรามส์ ซึ่งเป็นจักษุแพทย์ของไอนสไตน์[2] ยังมีการถกเถียงกันว่าสมองของไอนสไตน์ได้รับการอนุญาตจากเจ้าตัวขณะมีชีวิตหรือไม่ ก่อนจะถูกเก็บรักษา โรนัลด์ คลาร์ก เขียนในประวัตไอนสไตน์ใน ค.ศ. 1979 ว่า "เขายืนยันว่าสมองของเขาควรถูกวิจัยขณะร่างของเขาถูกเผา" ทว่างานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า เรื่องนี้อาจไม่เป็นความจริง และสมองของเขาถูกนำออกมาและถนอมไว้โดยไม่ได้รับการยึนยอมจากทั้งไอนสไตน์และญาติสนิท ฮานส์ อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ ซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของเขา ได้ลงชื่อให้นำออกหลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น แต่ยืนยันว่าสมองของพ่อเขาควรนำไปใช้สำหรับงานวิจัยที่จะได้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์มีคุณภาพเท่านั้น[2]

ใน ค.ศ. 1978 สมองของไอนสไตน์ถูกนักข่าว สตีเฟน เลวีย์ ค้นพบอีกครั้ง ในความครอบครองของ ดร. ฮาร์วีย์[5] ส่วนของสมองถูกถนอมไว้ในแอลกอฮอล์ในขวดโหลเมสัน ขนาดใหญ่สองขวดในกล่องไซเดอร์เป็นเวลากว่า 20 ปี 

ฮาร์วีย์เดินทางไปรัฐแคลิฟอร์เนีย และเข้าพบอีฟลิน ไอนสไตน์ ซึ่งเป็นหลานของไอนสไตน์ ขณะนั้นเธอเป็นหม้ายที่กำลังมีปัญหาด้านการเงิน เธอมองข้อเท็จจริงที่ฮาร์วีย์เก็บสมองของปู่เธอว่าเป็นเรื่องน่าขยะแขยง ทว่าเธอสนใจความลับที่อาจซ่อนอยู่ เธอเป็นบุตรบุญธรรมของฮานส์ อัลเบิร์ต และฟรีดา ภรรยาของเขา เธอได้ข่าวลือว่าเธออาจเป็นลูกของไอนสไตน์ ด้วยไอนสไตน์เคยมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงหลายคน เธอคาดว่าเธอเองอาจเป็นผลของหนึ่งในความสัมพันธ์นี้ จนทำให้ไอนสไตน์ขอให้ฮานส์ อัลเบิร์ตรับเธอเป็นบุตรบุญธรรม หากแต่วิธีที่ฮาร์วีย์แช่สมองทำให้ไม่สามารถสกัดดีเอ็นเอออกมาได้ ทำให้ข้อสงสัยของเธอไม่เคยได้คำตอบ

ใน ค.ศ. 2010 ทายาทของฮาร์วีย์มอบสมองของไอนสไตน์ที่อยู่ในครอบครองทั้งหมด รวมถึงรูปถ่ายสมองทั้งก้อนทั้ง 14 รูป ซึ่งไม่เคยถูกเปิดเผยในสาธารณะมาก่อนให้กับพิพิธภัณฑ์สุขภาพและการแพทย์แห่งชาติ[6][7]

เมื่อไม่นานนี้ พิพิธภัณฑ์มึทเทอร์ ในฟิลาเดลเฟียได้สมองไอนสไตน์ 46 ส่วนเล็ก ใน ค.ศ. 2013 แผ่นบาง ๆ ซึ่งถูกวางบนแผ่นสไลด์กล้องจุลทรรศน์ ถูกนำออกตั้งโชว์อย่างถาวรที่ห้องแสดงผลงานศิลปะ[8]

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์[แก้]

ร่องด้านข้าง (Sylvian fissure) ในสมองปกติ ซึ่งถูกตัดออกในสมองของไอนสไตน์

การชันสูตรศพ[แก้]

ฮาร์วีย์รายงานว่าไอนสไตน์ไม่มีแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัม (parietal operculum) ในทั้งสองซีกสมอง[9] ทว่าการค้นพบนี้ถูกโต้เถียง[10] รูปของสมองแสดงให้เห็นร่องด้านข้างทีถูกขยาย ในปีค.ศ. 1999 โดยทีมงาน ณ มหาวิทยาลัยเม็คมาสเตอร์ ใน แฮมิลตัน รัฐออนตาริโอ พบว่าส่วนของแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัมในรอยนูนสมองกลีบหน้าด้านล่าง (Inferior frontal gyrus) ในสมองกลีบหน้านั้นว่างอยู่ นอกจากนั้นส่วนนึงของขอบที่เรียกว่าร่องด้านข้าง (Sylvian fissure) ยังหายไป นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเม็คมาสเตอร์ได้พิจารณาว่าการว่างที่เกิดขึ้นอาจทำให้เซลล์ประสาทในส่วนนี้ของสมองสื่อสารกันได้ดีมากขึ้น "กายวิภาคสมองนี้...[การหายไปของร่องด้านข้าง]...อาจเป็นคำอธิบายว่าทำไมไอนสไตน์ถึงคิดแบบที่เขาคิด" ศาสตราจารย์ แซนดรา วิเทลซัน ซึ่งนำการวิจัยที่ตีพิมพ์ลงใน เดอะ แลนเซ็ต ได้กล่าวไว้ การศึกษานี้อยู่บนฐานของรูปถ่ายของสมองทั้งก้อนซึ่งถูกถ่ายไว้ในการชันสูตร ปี 1955 โดยฮาร์วีย์ ไม่ใช่จากการตรวจสอบสมองอย่างละเอียด ไอนสไตน์เองอ้างว่าเขาคิดผ่านการมองเห็นแทนที่คำพูด[11]

เซลล์เกลีย[แก้]

ในช่วงปี ค.ศ. 1980 - 1990 ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ศาสตราจารย์ มิเรียน ซี. ไดมอนด์ โน้มน้าวให้ โทมัส ฮาร์วีย์ ยอมยกตัวอย่างจากสมองของไอนสไตน์ให้ เธอได้เปรียบเทียบอัตราส่วนของเซลล์เกลียในสมองของไอนสไตน์กับสมองที่ถูกถนอมอื่น ๆ กว่า 11 คน (เซลล์เกลียช่วยสนับสนุนและให้สารอาหารแก่สมอง สร้างไมอีลิน และมีส่วนร่วมในการส่งสัญญาณ และยังเป็นตัวประกอบอื่น ๆ ของสมองนอกเหนือจากเซลล์ประสาท) ห้องปฏิบัติการของ ดร.ไดมอนด์ได้ตัดสมองไอนสไตน์เป็นส่วนบางๆ แต่ละแผ่นมีความหนาเพียง 6 มม. จากนั้นพวกเขาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อนับเซลล์ สมองของไอสไตน์นั้นมีจำนวนเซลล์เกลียต่อเซลล์ประสาทที่มากกว่าในทุกส่วนที่ศึกษา ทว่ามีแต่ในแถวอินทีเรียแพริเอตทัลซ้ายเท่านั้นที่ความแตกต่างนั้นมีนัยสำคัญทางสถิติ พื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมองซึ่งเป็นส่วนของสมองสำหรับรวบรวมและสร้างข้อมูลจากหลายส่วนสมอง สภาพแวดล้อมที่กระตุ้นสามารถเพิ่มอัตราส่วนของเซลล์เกลีย และอัตราส่วนที่สูงอาจเกิดจากชีวิตของไอนสไตน์ที่ศึกษาปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่เต็มไปด้วยการกระตุ้น[12]

ข้อจำกัดที่ไดมอนด์ต้องยอมรับคือ การศึกษาของเธอนั้นประกอบด้วยสมองของไอนสไตน์เพียงหนึ่งก้อน เปรียบเทียบกับสมองของคนปกติอีก 11 ก้อน[2] ประเด็นอื่น ๆ ชี้ว่าเซลล์เกลียนั้นทำการแยกตัวตลอดเวลาขณะที่คนมีอายุมากขึ้น สมองของไอนสไตน์นั้นอายุ 76 ปี ขณะที่สมองที่โดนเปรียบเทียบนั้นมีอายุเฉลี่ยเพียง 64 ปี เท่านั้น นอกจากนี้ ข้อมูลของตัวอย่างสมองที่ถูกนำมาเปรียบเทียบนั้นมีน้อยมาก และส่วนใหญ่ขาดข้อมูล เช่น คะแนนไอคิว โรคทางสมอง หรือปัจจัยอื่น ๆ ไดมอนด์ยังยอมรับว่างานวิจัยซึ่งแย้งกับงานศึกษาของเธอได้ถูกละเลย[citation needed] สมองของเขาตอนนี้อยู่ที่  Mütter Museum ในเมืองฟิลาเดลเฟีย และ 2 จาก 140 ส่วนของสมองถูกยืมโดย British Museum.[13]

นักวิทยาศาสตร์กำลังสนใจความเป็นไปได้ของความแตกต่างภายนอกของโครงสร้างสมองที่จะส่งผลถึงความสามารถที่ต่างกัน[11] 

การเชื่อมกันที่แข็งแรงกว่าระหว่างซีกสมอง[แก้]

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารเบรน[14] ในเดือนกันยายน ปี 2013 วิเคราะห์เส้นใยก้อนใหญ่ซึ่งเชื่อมซีกสมองใหญ่ทั้งสองซีกและช่วยในการสื่อสารกันระหว่างซีกสมอง หรือ คอร์ปัส คาโลซัม ของไอนสไตน์ โดยใช้เทคนิคใหม่ที่สามารถวัดความหนาของเส้นใยได้ละเอียดยิ่งข้น โดยคอร์ปัส คาโลซัมของไอนสไตน์ถูกนำไปเทียบกับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือสมองของผู้สูงอายุ 15 ก้อน และ สมองของคนอายุเท่ากับไอนสไตน์อีก 52 ก้อน ในปี 1905 ผลได้พบว่าสมองของไอนสไตน์มีการเชื่อมต่อระหว่างซีกสมองที่มากกว่าเมื่อเทียบกับทั้งกลุ่มที่มีอายุมากกว่าและน้อยกว่า[15]

บทวิจารณ์[แก้]

อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่างอาจส่งผลกระทบต่อผลที่ถูกตีพิมพ์ ซึ่งแปลว่าผลที่แสดงความแตกต่างระหว่างสมองของไอนสไตน์และสมองของคนปกติ มีแนวโน้มที่จะถูกตีพิมพ์มากกว่า ขณะที่ผลที่แสดงว่าหลาย. ๆ ส่วนของสมองไอนสไตน์นั้นไม่ได้แตกต่างจากสมองอื่น ๆ นั้นอาจถูกละเลย นอกจากนี้เวลาทำการทดลอง นักวิจัยยังรู้อยู่ตลอดว่าสมองชิ้นไหนเป็นของไอนสไตน์และสมองชิ้นไหนเป็นกลุ่มควบคุม จึงเกิดความเป็นไปได้ที่จะมีอคติทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว และเป็นอุปสรรคต่อการทดลองแบบอำพราง

ในทางตรงข้าม นักประสาทวิทยาเทอเรนซ์ ไฮนส์ จากมหาวิทยาลัยเพซ ได้วิจารณ์งานวิจัยเหล่านี้ว่าเต็มไปด้วยข้อผิดพลาด ไฮนส์ยืนยันว่าสมองมนุษย์ทุกคนนั้นมีลักษณะพิเศษเฉพาะและแตกต่างกันในบางรูปแบบ ดังนั้น การสันนิษฐานว่าลักษณะพิเศษในสมองของไอนสไตน์นั้นเกี่ยวข้องกับความฉลาดของเค้านั้นในความเห็นของไฮนส์แล้วเป็นการสรุปนอกเหนือหลักฐาน เขายังแย้งอีกว่าการหาสหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสมองกับลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ต้องการ การศึกษาสมองหลายก้อนที่มีลักษณะคล้ายกัน และการสแกนสมองของนักวิทยาศาสตร์หลาย ๆ คนดีกว่าการศึกษาจากสมองของอัจฉริยะเพียงหนึ่งหรือสองคน[12][16]

สมองของอัจฉริยะคนอื่น[แก้]

การถนอมสมองของอัจฉริยะนั้นไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ สมองอื่นซึ่งถูกถนอมและเป็นที่ถกเถียงในลักษณะเดียวกันได้แก่สมองของนักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มัน คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ กว่าหนึ่งร้อยปีก่อนหน้า สมองของเขาถูกศึกษาโดยรูดอร์ฟ แว็กเนอร์ ซึ่งชั่งน้ำหนักสมองได้ 1,492 กรัม และวัดขนาดสมองใหญ่ได้ 219,588 ตารางมิลลิเมตร[17] นอกจากนั้นสมองของเขายังมีจำนวนรอยหยักเยอะ และถูกเสนอว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาเป็นอัจฉริยะ[18] นอกจากนี้ยังมีสมองของวลาดีมีร์ เลนินซึ่งถูกนำออกมาศึกษา[19] และคนจากกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันอย่างอิชิ สมองของเอ็ดเวิร์ด เอช. รูลลอฟฟ์ ซึ่งเป็นนักนิรุกติศาสตร์และอาชญากร ถูกนำออกมาหลังจากการตายของเขาในปี ค.ศ. 1871 ในปี 1972 สมองนี้ยังคงเป็นสมองที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองเท่าที่มีการบันทึก [20]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Relics: Einstein's Brain, a 1994 documentary by Kevin Hull
  • Possessing Genius: The Bizarre Odyssey of Einstein's Brain, a 2001 book by Carolyn Abraham

อ้างอิง[แก้]

  1. Fields, R. Douglas (2009).
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 NPR: The Long, Strange Journey of Einstein's Brain
  3. The Exceptional Brain of Albert Einstein – BIOQUANT LIFE SCIENCE เก็บถาวร 2013-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  4. "School of Education at Johns Hopkins University - Graduate Education: Why Einstein's Brain? by Marian Diamond". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
  5. "StevenLevy.com » I Found Einstein's Brain". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-10. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
  6. Falk, Dean, Frederick E. Lepore, and Adrianne Noe (2012), "The cerebral cortex of Albert Einstein: a description and preliminary analysis of unpublished photographs", Brain; 135: 11.
  7. Balter, Michael, "Rare photos show that Einstein's brain has unusual features เก็บถาวร 2013-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Washington Post, Tuesday, 27 November 2012; E6.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-07. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
  9. Witelson, S. F.; Kigar, D. L.; Harvey, T. (1999).
  10. Falk, D.; Lepore, F. E.; Noe, A. (2012).
  11. 11.0 11.1 "Why size mattered for Einstein".
  12. 12.0 12.1 The strange afterlife of Einstein's brain
  13. Edmonds, Molly. (2008-10-27) Discovery Health "Marian Diamond and Albert Einstein's Brain".
  14. Men, W.; Falk, D.; Sun, T.; Chen, W.; Li, J.; Yin, D.; Zang, L.; Fan, M. (24 September 2013).
  15. "Einstein’s brilliance might have been due to strong brain hemisphere connection". 
  16. The Tragic Story of How Einstein’s Brain Was Stolen and Wasn’t Even Special
  17. Donaldson, Henry H. (1891).
  18. Dunnington, 1927
  19. Gregory, Paul R. (2007-12-31).
  20. New York Times, Nov. 7, 1972, p. 37