ร่องด้านข้าง
ร่องด้านข้าง (Lateral fissure) | |
---|---|
ร่องด้านข้างในสมองมนุษย์ | |
ฐานของสมอง (ร่องด้านข้างอยู่ด้านบนซ้าย) | |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | sulcus lateralis |
นิวโรเนมส์ | 49 |
นิวโรเล็กซ์ ID | birnlex_1487 |
TA98 | A14.1.06.006 A14.1.09.104 |
TA2 | 5436, 5877 |
FMA | 77801 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์ |
ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ ร่องด้านข้าง หรือ ร่องซิลเวียน (Lateral sulcus หรือ Sylvian fissure หรือ lateral fissure) เป็นโครงสร้างที่โดดเด่นของสมองมนุษย์ แบ่งสมองกลีบหน้า (frontal lobe) และสมองกลีบข้าง (parietal lobe) ที่อยู่ด้านบนออกจากสมองกลีบขมับ (temporal lobe) ที่อยู่ด้านล่าง ปรากฏอยู่ทั้งซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ทั้งสองข้าง แต่ข้างซ้ายยาวกว่า ร่องนี้เป็นหนึ่งในร่องที่วิวัฒนาการขึ้นมาแรกสุดในสมองมนุษย์ ปรากฏขึ้นในราวอายุครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 14 นับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย[1]
ร่องด้านข้างมีการแตกแขนงมากมาย แขนงที่เด่นๆ และพบได้ง่ายมีอยู่ 2 ร่อง คือ ascending (หรือ vertical) ramus และ horizontal ramus ซึ่งแบ่งลอนสมองอินฟีเรียร์ ฟรอนทัล (inferior frontal gyrus) ร่องด้านข้างนี้มีโครงสร้างที่เรียกว่า ลอนสมองทรานสเวอร์ส เทมเพอรัล (transverse temporal gyri) ซึ่งเป็นสมองส่วนการได้ยินปฐมภูมิ (primary auditory cortex)
ชื่อ ร่องซิลเวียน มาจากชื่อฟรานซิสคัส ซิลเวียส (Franciscus Sylvius, 1614-1672) ศาสตราจารย์ทางการแพทย์
ภาพอื่นๆ
[แก้]-
ภาพตัดกลางลำตัวของสมองส่วนกลาง
-
Posterior และ inferior cornua ของโพรงสมองด้านข้างข้างซ้าย เปิดทางด้านข้าง
-
ภาพวาดแสดงความสัมพันธ์ของสมองและกะโหลกศีรษะ
-
ความสัมพันธ์ระหว่างสมองและหลอดเลือดแดงมิดเดิล เมนิงเจียล กับพื้นผิวกะโหลกศีรษะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jee G. Chi, Elizabeth C. Dooling, Floyd H. Gilles (1977). "Gyral development of the human brain". Annals of Neurology. 1 (1): 86–93. doi:10.1002/ana.410010109. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-01. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
- The peri-sylvian aphasias เก็บถาวร 2005-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- sylvian fissure