สถานีวอสตอค

พิกัด: 78°27′50″S 106°50′15″E / 78.463889°S 106.83757°E / -78.463889; 106.83757
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีวอสตอก

ста́нция Восто́к
ภาพถ่ายของสถานีวอสตอก
ภาพถ่ายของสถานีวอสตอก
สถานีวอสตอกตั้งอยู่ในแอนตาร์กติกา
สถานีวอสตอก
สถานีวอสตอก
ที่ตั้งของสถานีวอสตอกในทวีปแอนตาร์กติกา
พิกัด: 78°27′50″S 106°50′15″E / 78.463889°S 106.83757°E / -78.463889; 106.83757
ประเทศ รัสเซีย
ที่ตั้งPrincess Elizabeth Land
ทวีปแอนตาร์กติกา
บริหารโดยArctic and Antarctic Research Institute
ก่อตั้ง16 ธันวาคม ค.ศ. 1957 (1957-12-16)
ตั้งชื่อจากวอสตอค
ความสูง3,489 เมตร (11,447 ฟุต)
ประชากร
 • ทั้งหมดสูงถึง 25 คน
เขตเวลาUTC+6
Typeทั้งปี
ระยะเวลาทุกปี
สถานะเปิดใช้งาน
เว็บไซต์aari.aq/default_en.html
Vostok Skiway
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานPrivate
สถานที่ตั้งPrincess Elizabeth Land
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล3,489 เมตร / 11,447 ฟุต
พิกัด78°27′58″S 106°50′54″E / 78.466139°S 106.84825°E / -78.466139; 106.84825
แผนที่
Vostok Skiwayตั้งอยู่ในแอนตาร์กติกา
Vostok Skiway
Vostok Skiway
ที่ตั้งในทวีปแอนตาร์กติกา
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
03/21 3,637 11,933 น้ำแข็ง

สถานีวอสตอค (รัสเซีย: ста́нция Восто́к, อักษรโรมัน: stántsiya Vostók) เป็นสถานีวิจัยในทวีปแอนตาร์กติกาของรัสเซีย (อดีตสหภาพโซเวียต) ที่ซึ่งสามารถตรวจวัดอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดบนโลกเท่าที่เคยบันทึก โดยวัดได้ −89.2 องศาเซลเซียส (−128.6 องศาฟาเรนไฮต์; 184.0 เคลวิน)[2] สถานีดังกล่าวทำการวิจัยเกี่ยวกับการเจาะแกนน้ำแข็งและการวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก วอสตอคหรือวัสตอค (เป็นภาษารัสเซียหมายถึง "ตะวันออก") ตั้งชื่อตามชื่อเรือของฟาเบียน ฟอน เบลลิงส์เฮาเซิน นักสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา

รายละเอียด[แก้]

ภาพแกนน้ำแข็งซึ่งถูกเจาะขึ้นที่สถานีวอสตอค บางส่วนของสถานีเห็นอยู่ด้านหลัง

สถานีวิจัยวอสตอคตั้งอยู่จากขั้วโลกใต้ราว 1,300 กิโลเมตร บนใจกลางแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกตะวันออกภายในพื้นที่ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี แต่เนื่องจากออสเตรเลียเป็นประเทศผู้ลงนามในระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก ทำให้ออสเตรเลียไม่ได้ใช้สิทธิ์ความเป็นอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าว

สถานีวอสตอคตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณที่เหมาะสำหรับการสังเกตการเปลี่ยนแปลงทรงกลมสนามแม่เหล็กโลก การศึกษาอื่น ๆ เกี่ยวข้องกับธรณีฟิสิกส์ การแพทย์ วิชาการแผ่รังสีและภูมิอากาศวิทยา

สถานีดังกล่าวตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 3,488 เมตร (11,444 ฟุต) และเป็นหนึ่งในสถานีวิจัยที่ตั้งอยู่ห่างไกลที่สุดบนทวีปแอนตาร์กติกา[3] สถานีดังกล่าวได้รับเสบียงจากสถานีมีร์นืย ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งของทวีป[4] สถานีดังกล่าวมีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรทำงานอยู่ 25 คนในฤดูร้อน แต่ในช่วงฤดูหนาว จำนวนผู้ที่ทำงานลดเหลือ 13 คน[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Vostok Skiway". Airport Nav Finder. สืบค้นเมื่อ 17 October 2018.
  2. Global Measured Extremes of Temperature and Precipitation. National Climatic Data Center. Retrieved on 21 June 2007.
  3. Winchester, Simon (2003). Extreme Earth. Collins. pp. 168–169. ISBN 0-00-716392-4.
  4. "Mirny Observatory". 14 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2015.
  5. "Russia abandons Ice Station Vostok". 4 March 2003 – โดยทาง news.bbc.co.uk.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]