ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่อุฮุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สงครามอุฮุด)
ยุทธการที่อุฮุด
ส่วนหนึ่งของ สงครามระหว่างชาวมุสลิมกุเรช

ศาสดามุฮัมมัดกับฝ่ายมุสลิมในยุทธการที่อุฮุด[1]
วันที่23 มีนาคม ค.ศ. 625 (7 เชาวาล ฮ.ศ. 3)
สถานที่
ผล

จนมุม[2][3][4]

  • ฝ่ายมุสลิมได้รับความพ่ายแพ้ แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกุเรชไม่สามารถยึดมะดีนะฮ์ได้
คู่สงคราม
ชาวมุสลิมจากมะดีนะฮ์
เผ่าอาหรับเชื้อสายยิวแห่งษาลาบะฮ์
เผ่ากุเรชจากมักกะฮ์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มุฮัมมัด
อะลี
ฮัมซะฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ มุซอับ อิบน์ อุมัยร์
อบูซุฟยาน
คอลิด อิบน์ อัลวะลีด
อัมร์ อิบน์ อัล-อาส
กำลัง
ทหาร 650 นาย; พลธนู 50 นาย, ทหารม้า 4 นาย ทหาร 3,000 นาย; ทหารอูฐ 3,000 นาย, ทหารม้า 200 นาย
ความสูญเสีย
ถูกฆ่า 70–75 คน ถูกฆ่า 25–35 คน

สงครามอุฮุด (อาหรับ: غَزْوَة أُحُد Ġazwat 'Uḥud) คือสงครามหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณภูเขาอุฮุด ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศซาอุดิอาราเบีย เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างกองทัพมุสลิมแห่งมะดีนะฮ์ โดยมีแม่ทัพคือท่านศาสดามุฮัมมัดแห่งศาสนาอิสลาม กับกองทัพแห่งเมืองมักกะฮ์ โดยมีแม่ทัพคืออบูซุฟยาน สงครามอุฮุดนับเป็นสงครามครั้งที่สองที่เกิดขึ้นระหว่างกองทัพแห่งเมืองมักกะฮ์กับชาวมุสลิมหลังจากสงครามบะดัรที่เกิดขึ้นในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่สอง หรือประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 624

ชื่อสงคราม

[แก้]

สาเหตุการตั้งชื่อภูเขาว่า "อุฮุด" บางทัศนะกล่าวว่า เพราะภูเขาลูกดังกล่าวตั้งอยู่โดดเดี่ยวโดยไม่ติดกับภูเขาลูกอื่นที่ตั้งอยู่ ณ ตำบลอุฮุด และบางทัศนะมีความเชื่อว่า สาเหตุที่ภูเขาดังกล่าวถูกเรียกว่าอุฮุด เพราะท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งมีความรักและเข้าใจยังความเป็นหนึ่งเดียวแห่งพระผู้เป็นเจ้า เลยเรียกภูเขานี้ว่า อุฮุด[5]

ช่วงเวลาของสงคราม

[แก้]

นักประวัติศาสตร์มุสลิมได้บันทึกช่วงเวลาของสงครามอุฮุดเอาไว้ เกิดขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ 7 เดือนเชาวาล ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 3 ซึ่งตรงกับวันที่ 23 เดือนมีนาคม ค.ศ. 625

เหตุการณ์ก่อนสงคราม

[แก้]

หลังจากความพ่ายแพ้ของพวกตั้งภาคีแห่งกุเรชในสงครามบะดัร อะบูซุฟยานได้สั่งห้ามการไว้อาลัยแก่ผู้ที่เสียชีวิตจากสงคราม และหันหน้าขอความช่วยเหลือจากเผ่ากะนานะฮ์ และเผ่าษะกีฟ เพื่อทำการแก้แค้นชาวมุสลิมจากสงครามบะดัร จึงรวมไพร่พลชนเผ่าต่าง ๆ ของอาหรับจัดตั้งกองทัพนับ 3,000 นาย ญุเบร บิน มุตอิม ได้มอบบ่าวรับใช้ชื่อว่า วะชีย์ แก่นางฮินด์ ผู้เป็นภรรยาอะบูซุฟยาน ซึ่งนางฮินด์ได้ให้สัญญาแก่วะชีย์ว่า หากวะชีย์ ฆ่าฮัมซะฮ์ บุตรชายของอับดุลมุฏฏอลิบได้ เขาจะได้เป็นอิสระ ในสงครามครั้งนี้อะบูซุฟยานเป็นแม่ทัพด้วยตนเอง และให้คอลิดบุตรของวะลีดเป็นแม่ทัพม้าฝ่ายขวา และให้อักระมะฮ์บุตรชายของอะบูญะฮ์ลเป็นแม่ทัพม้าฝ่ายซ้าย และให้นางฮินด์เป็นผู้กำกับพลเดินเท้า

ท่านอับบาสบุตรชายของอับดุลมุฏฏอลิบ ซึ่งเป็นอาของนบีมุฮัมหมัด (ศ็อล) ได้เขียนจดหมายถึงความพร้อมของกองทัพกุเรชที่จะทำสงครามกับชาวมุสลิมแก่ท่านนบีมุฮัมหมัด(ศ็อล) และอุบัย บิน กะอ์บฺได้มอบจดหมายดังกล่าวแก่ท่านนบี(ศ็อล) ณ มัสญิดนะบะวีย์[6]

ศึกสงครามได้ถูกบันทึกเอาไว้มากมายโดยบรรดาสาวกศาสนทูตแห่งอิสลาม ชาวอันศอรบางส่วนต้องการที่จะตั้งฐานทัพที่เมืองมะดีนะฮ์เพื่อปกป้องเมืองร่วมกับ อับดุลลอฮ์ บิน อุบัย ทว่าบรรดาคนหนุ่มแห่งมุฮาญิรีนต้องการเคลื่อนกองทัพของมุสลิมออกจากเมืองมะดีนะฮ์ และทำสงครามกับศัตรูที่นอกเมือง ด้วยเหตุนี้ท่านนบี (ศ็อลฯ) จึงตัดสินใจตามเสียงข้างมาก และนำกองทัพออกจากมะดีนะฮ์เพื่อทำสงคราม

เมื่อกองทัพมุสลิมออกจากเมืองมะดีนะฮ์ อับดุลลอฮ์ บิน อุบัย และพรรคพวกของเขาได้มุ่งหน้ากลับสู่เมืองมะดีนะฮ์ และเมื่อเข้าสู่สงคราม ท่านนบีมุฮัมหมัด (ศ็อล) ได้แบ่งพลธนูของเป็นสองกองรวม 50 นาย โดยให้ประจำการบนเนินเขา และให้อับดุลลอฮ์ บิน ญุบัยร์เป็นคนสั่งการอีกทอดหนึ่ง ซึ่งได้กำชับว่าแก่พลธนูว่า ห้ามละทิ้งและออกจากเนินเขาเป็นอันขาด. บ้างกล่าวว่ากองทัพของมุสลิมมีถึง 700 ถึง 1,000 นาย[7]

บทสรุปของสงคราม

[แก้]

อบูอามิร เอาซีย์ ผู้ลี้ภัยสู่เมืองมักกะฮ์เป็นบุคคลแรกที่เริ่มเข้าสู่สนามรบ ซึ่งการสู้รบเป็นไปในรูปแบบตัวต่อตัว สุหัยล์ บิน อัมร์(ทหารชาวมุสลิม) ต่อสู้กับ อบูอามิร, อะลี บิน อบีฏอลิบ (ทหารชาวมุสลิม) ต่อสู้กับ ฏออลหะฮ์ บิน อบีฏอลหะฮ์และซุบัยร์ บิน อะวาม (ทหารชาวมุสลิม) ต่อสู้กับ ซัยด์ บิน สะอาด และทหารทั้งสามท่านจากกองทัพของมุสลิมได้รับชัยชนะ ท่านฮัมซะฮ์ อาของท่านนบี ผู้เป็นจอมทัพของชาวมุสลิม ถูกลอบทำร้ายในสงครามโดยวะชีย์ ผู้เป็นบ่าวรับใช้นางฮินด์ พลทหารม้าของกองทัพอบูซุฟยานก็พ่ายให้กับกองทัพมุสลิม จนทำให้นักรบของชาวกุเกชแห่งมักกะฮ์เกิดความกังวล และเกิดความกลัวขึ้น จนทัพแตก และสงครามมีทีท่าว่ากองทัพมุสลิมจะมีชัย จนทำให้พลธนูที่ถูกกำชับไว้ว่าห้ามละทิ้งฐานที่มั่นและให้ประจำการอยู่บนเนินเขา ต้องสละที่มั่นของตนเพื่อเร่งรีบรวบรวมทรัพย์สินสงครามจากผู้พ่ายแพ้ จนทำให้คอลิด บิน วะลีดมองเห็นถึงเหตุการณ์ของชาวมุสลิม และเล็งเห็นถึงการละทิ้งที่มั่นพลธนูของกองทัพมุสลิม จึงสั่งกองทัพม้าของตนวิ่งอ้อมเนินเขา อุฮุด และตลบหลังกองทัพมุสลิม จนกองทัพมุสลิมแตกกระเจิง และมุสลิมโดนฆ่าตายเป็นจำนวนมากในสงครามนี้ เมื่ออุมะเราะฮ์ บุตรอัลกอมะฮ์ได้เห็นการจู่โจมของคอลิด จึงรีบหยิบธงกองทัพที่ตกขึ้นมา จนกองทหารกลับมาสู่การรบอีกครั้ง หนึ่งจากชาวกุเรชชื่อว่า ลีย์ษาได้ฆ่ามุศอับ บิน อุมัยร์ แต่เขาได้ตะโกนว่ามุฮัมมัดโดนสังหารแล้ว ทำให้ชาวมุสลิมหมดกำลังใจในการต่อสู้และหาที่หลบซ้อน. สงครามครั้งนี้นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่สำหรับกองทัพมุสลิม[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Miniature from volume 4 of a copy of Mustafa al-Darir’s Siyar-i Nabi (Life of the Prophet). "The Prophet Muhammad and the Muslim Army at the Battle of Uhud", Turkey, Istanbul; c. 1594 Leaf: 37.3 × 27 cm เก็บถาวร 2018-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน David Collection.
  2. Dr. Muhammad Hamidullah, The Battlefields of the Prophet Muhammad ﷺ, p. 111, ISBN 81-7151-153-8
  3. Peter Crawford, The War of the Three Gods: Romans, Persians and the Rise of Islam, Pen & Sword Books Limited, p. 83
  4. William Montgomery Watt, Muhammad at Medina, p. 27
  5. جعفریان، رسول، تاریخ سیاسی اسلام، چاپ ششم، ۱۳۸۶، ص۵۰۴.
  6. مغازی واقدی ج ۱ ص ۲۰۴
  7. ابن هشام ج ص ۶۶
  8. "دانشنامه رشد". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-05. สืบค้นเมื่อ 2018-05-07.