ข้ามไปเนื้อหา

สงครามกลางเมืองเลบานอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามกลางเมืองเลบานอน
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็นอาหรับ, ความขัดแย้งระหว่างอาหรับกับอิสราเอล และสงครามตัวแทนระหว่างอิหร่านกับอิสราเอล

จัตุรัสมรณสักขีกลางเมืองเบรุตในปี 1982 ระหว่างสงครามกลางเมือง
วันที่13 มิถุนายน 1975 – 13 ตุลาคม 1990
(15 ปี 6 เดือน)
(Last battle ended on 6 July 1991, Syrian occupation ended on 30 April 2005)
สถานที่
ผล
คู่สงคราม

เลบานีสฟรอนต์
กองทัพฟรีเลบานอน (until 1977)
SLA (from 1976)
 อิสราเอล (from 1978)


Tigers Militia (until 1980)

เลบานอน ขบวนการเลบานีสเนชันนอล (1975–1982)
จัมมูล (1982–1990)
PLO (1975–82)
ASALA


เฮซบอลลาห์ (1985–1990)
 อิหร่าน (ตั้งแต่ 1980, หลัก ๆ โดย IRGC)


ขบวนการสามัคคีอิสลาม (from 1982)
Syria (1976, 1983–1991)
ขบวนการอะมาล
PNSF
ขบวนการมาราดา (ออกจาก LF ในปี 1978; เพื่อเข้าร่วมกับซีเรีย)

กองทัพเลบานอน


UNIFIL (from 1978)
กองกำลังนานาชาติ (1982–1984)


กองกำลังดีเทอร์เรนต์อาหรับ (1976–1982)[1]

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

Bachir Gemayel 
Amine Gemayel
William Hawi 
Elie Hobeika
Samir Geagea
Etienne Saqr
Georges Adwan
Saad Haddad #
Antoine Lahad
Menachem Begin
Ariel Sharon


Dany Chamoun 

Kamal Jumblatt 
Walid Jumblatt
Inaam Raad
Abdallah Saadeh
Assem Qanso
George Hawi
Elias Atallah
Muhsin Ibrahim
Ibrahim Kulaylat
Ali Eid
Yasser Arafat
George Habash
Hagop Hagopian
Monte Melkonian


Subhi al-Tufayli
Abbas al-Musawi


Said Shaaban
Hafez al-Assad
Mustafa Tlass
Nabih Berri
Tony Frangieh 

Michel Aoun


Emmanuel Erskine
William O'Callaghan
Gustav Hägglund
Timothy J. Geraghty
กำลัง
25,000 กอง (1976)[1] 1,200 กอง[1]
1,000 กอง[1]
1,000 กอง[1]
700 troops[1]
700 กอง[1]
120,000–150,000 เสียชีวิต[2]

สงครามกลางเมืองเลบานอน (อาหรับ: الحرب الأهلية اللبنانية, อักษรโรมัน: Al-Ḥarb al-Ahliyyah al-Libnāniyyah) เป็นสงครามกลางเมืองที่มีการปะทะของหลายฝ่ายที่เกิดขึ้นในประเทศเลบานอน ตั้งแต่ปี 1975 ถึงปี 1990 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 120,000 ราย[3] ข้อมูลจากปี 2012 ระบุว่ามีประชาชนราว 76,000 คนในเลบานอนที่ยังคงไม่สามารถกลับสู่ถิ่นฐานเดิมได้[4] นอกจากนี้ยังมีการอพยพของชาวเลบานอนออกจากประเทศราวหนึ่งล้านคนอันเป็นผลจากสงคราม[5]

ก่อนสงคราม ประเทศเลบานอนเป็นประเทศนิกายนิยมทางการเมือง (sectarian) โดยมีมุสลิมซุนนีและคริสต์ชนนิกายตะวันออกเป็นหลักในเมืองชายฝั่ง, มุสลิมชีอะห์ในทางใต้และในแถบเทือกเขาเบกาห์ทางตะวันออก และมีประชากรบนเขาส่วนใหญ่เป็นชาวดรูซกับคริสต์ชน รัฐบาลเลบานอนได้อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างหนักจากชนชั้นสูงซึ่งเป็นคริสต์ชนเมรอไนต์[6][7] ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและการเมืองได้ถูกนำมาใช้โดยเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1920 ถึง 1943 และโครงสร้างในรัฐสภาที่มีคริสต์ชนอยู่ในตำแหน่งนำ อย่างไรก็ตาม ประเทศเลบานอนมีประชากรมุสลิมและแพน-อาหรับอยู่จำนวนมากโดยมี กลุ่มฝ่ายซ้ายที่ต่อต้านรัฐบาลที่เอียงเอนไปทางตะวันตก การก่อตั้งประเทศอิสราเอลและการขับไล่ผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์มายังเลบานอนในระหว่างเหตุการณ์เมื่อปี 1948 และ 1967 ได้นำไปสู่การเปลี่ยนสมดุลประชากรโดยมีอัตราส่วนของชาวมุสลิมเพิ่มขึ้นมาก สงครามเย็นมีผลให้เกิดความแตกแยกอย่างมากในเลบานอนที่ซึ่งใกล้ชิดกับการแบ่งขั้วก่อนที่จะเกิดวิกฤตการเมืองเลบานอน ปี 1958 เนื่องจากชาวเมรอไนต์ (Maronites) เลือกเข้าข้างตะวันตก ในขณะที่ฝ่ายซ้ายและกลุ่มแพนอาหรับเข้าข้างประเทศอาหรับที่เข้าข้างโซเวียต[8]

การต่อสู้ระหว่างกองกำลังเมรอไนต์และปาเลสไตน์เริ่มต้นขึ้นในปี 1975 ที่ซึ่งฝ่ายซ้าย กลุ่มแพนอาหรับ และชาวมุสลิมเลบานอนได้รวมกลุ่มเข้ากับชาวปาเลสไตน์[9] ระหว่างการต่อสู้ที่ดำเนินไปนั้น มีการเปลี่ยนฝั่งพันธมิตรอย่างรวดเร็วและอย่างทำนายไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีอำนาจจากนอกประเทศเช่นอิสราเอลและซีเรียที่เข้าร่วมในสงครามและต่อสู้ร่วมกับส่วนต่าง ๆ ของขั้วอำนาจที่ต่างกัน และยังมีกองกำลังเพื่อสันติภาพเช่นกองกำลังนานาชาติ และ กองกำลังของสหประชาชาติที่ตั้งทัพอยู่ในเลบานอน

ในปี 1989 ได้มีการลงนามในข้อตกลงทาอิฟที่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของการต่อสู้ ในเดือนมกราคม 1989 คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยอาหรับลีกได้เริ่มที่จะหาทางออกต่อกรณีพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในเดือนมีนาคม 1991 รัฐสภาได้ผ่านร่างกฎหมายแอมเนสตีที่เป็นการแสดงการขอโทษต่ออาญชากรรมต่าง ๆ ที่รัฐได้ก่อขึ้นมาก่อนหน้า[10] ในเดือนพฤษภาคม 1991 กองกำลังต่าง ๆ ได้สลายตัวลงยกเว้นแต่เพียงที่เฮซบุลเลาะห์ ในขณะที่กองกำลังแห่งชาติเลบานอนค่อย ๆ เกิดขึ้นใหม่ในฐานะองค์กรที่ไม่เป็นนิกายนิยม (non-sectarian) สำคัญแห่งเดียวของเลบานอน[11] Religious tensions between Sunnis and Shias remained after the war.[12]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Mays, Terry M. Historical Dictionary of Multinational Peacekeeping. Lanham, MD: Scarecrow Press, 1996, pp. 9–10
  2. World Political Almanac, 3rd Ed, Chris Cook.
  3. UN Human Rights Council. 23 November 2006. "IMPLEMENTATION OF GENERAL ASSEMBLY RESOLUTION 60/251 OF 15 MARCH 2006 ENTITLED HUMAN RIGHTS COUNCIL." p.18.
  4. "Lebanon: Refugees and internally displaced persons เก็บถาวร 2019-09-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." CIA World Factbook. 10 September 2012.
  5. Byman, Daniel, and Kenneth Michael Pollack. "Things Fall Apart: Containing the Spillover from an Iraqi Civil War." p. 139
  6. Inhorn, Marcia C., and Soraya Tremayne. 2012. Islam and Assisted Reproductive Technologies. p. 238.
  7. "BBC NEWS – Middle East – Who are the Maronites?". bbc.co.uk. 6 August 2007.
  8. "Beware of Small States: Lebanon, Battleground of the Middle East." p. 62
  9. Halliday, 2005: 117
  10. "Ex-militia fighters in post-war Lebanon" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 September 2013.
  11. "Lebanon's History: Civil War". ghazi.de.
  12. Rolland, John C. 2003. Lebanon: Current Issues and Background. p. 144. ISBN 9781590338711.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

แม่แบบ:Middle East conflict