ข้ามไปเนื้อหา

ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์
เกิด (1947-12-08) 8 ธันวาคม ค.ศ. 1947 (77 ปี)
สัญชาติไทย
อาชีพอาจารย์
องค์การมหาวิทยาลัยมหิดล
มีชื่อเสียงจากอดีตประธานกรรมการบริหาร SIPA อดีต CIO และรองอธิการบดีฯ ม.มหิดล

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อดีตประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในขณะนั้น หรือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในปัจจุบัน อดีตผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งเอื้ออำนวยทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ เคยได้รับพระราชทานเหรียญทอง และรางวัลทุนภูมิพล สำหรับการสอบได้คะแนนรวมเป็นที่ 1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2513 และเคยได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก แผนกวิศวกรรมศาสตร์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2514 [1]

หลังจากสำเร็จการศึกษา ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2532 และเป็นผู้จัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล (จากภาควิชาคอมพิวเตอร์) ในปี 2546 นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิก ออกแบบ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT และระบบสารสนเทศที่สำคัญมากมายให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล เช่น ระบบเครือข่ายสื่อสาร MUC-Net (MU Campus Network)[2], Intra-phone[3], ระบบ eMeeting, และ IPTV[4] เป็นต้น

ผลงานที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักคือ พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ฉบับแรกของโลก หรือ BUDSIR (Buddhist Scriptures Information Retrieval)[5] ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลประดิษฐ์คิดค้น จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี 2532 และรางวัล Distinguished Service Award จาก University of California, Berkeley สหรัฐอเมริกา ปี 2536 และอีกหนึ่งผลงานก็คือ "Intra-Phone ม.มหิดล" ได้รับรางวัลเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐดีเด่น: รางวัลชนะเลิศสาขานวัตกรรมไอทีดีเด่น ประจำปี 2545 จากคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ

ประวัติการศึกษา

[แก้]

ประวัติการทำงาน

[แก้]

ด้านวิชาการและบริหาร

[แก้]

ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่าง ๆ

[แก้]
  • อดีตคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • อดีตคณะที่ปรึกษากำกับและบริหารโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government)[11][12] และเครือข่ายสื่อสารข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network: GIN)[13] กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • อดีตอุปนายกสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อดีตที่ปรึกษาเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand)
  • อดีตที่ปรึกษาวารสารคอมพิวเตอร์ทางวิชาการ ของสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการกำกับดูแลการปรับบทบาทกรมบัญชีกลาง
  • อดีตกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
  • อดีตกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารโทรคมนาคม หอการค้าไทย
  • อดีตอนุกรรมการกำกับดูแลการจัดทำแผนแม่บทระบบสารสนเทศ ของทบวงมหาวิทยาลัย
  • อดีตกรรมการในคณะกรรมการบริหารงานคอมพิวเตอร์ กรุงเทพมหานคร
  • อดีตกรรมการในคณะอนุกรรมการโครงการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรม สาขาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการและอดีตคณะกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาระบบสารสนเทศด้านการสาธารณสุขไทย คณะกรรมาธิการสาธารณสุข [14][15]
  • ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
  • รองประธานคณะกรรมการของการจัดแข่งขันรางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดาสารสนเทศ (IT Princess Award) [16]

เกียรติคุณและรางวัล

[แก้]
  • พ.ศ. 2508 - ได้ที่ 1 ในการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ ของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2511-2513 - ได้ทุนเรียนดีของพระเจริญวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2513 - ได้รับพระราชทานเหรียญทอง และรางวัลทุนภูมิพล สำหรับการสอบได้คะแนนรวมเป็นที่ 1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2514-2519 - ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา[17]
  • พ.ศ. 2516-2519 - ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จาก National Science Foundation สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2532 - รางวัลดีเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดล ในผลงาน “พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์"
  • พ.ศ. 2532 - รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2536 - รางวัล Distinguished Service Award จาก University of California, Berkeley ในผลงาน Electronic Pali Canon หรือ BUDSIR (Buddhist Scriptures Information Retreival)
  • พ.ศ. 2540 - รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภท สมาคม องค์การ มูลนิธิ สถาบัน และหน่วยงานที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2545 - ผลงาน "Intra-Phone" มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐดีเด่น: รางวัลชนะเลิศสาขานวัตกรรมไอทีดีเด่น และผลงาน "โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานมหาวิทยาลัย (ระบบ MU-ADMIN-IS)" ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 สาขาบริหารองค์กรดีเด่น จากคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ [18]
  • พ.ศ. 2553 - รางวัลดีเด่นสาขาการแต่งตำราของมหาวิทยาลัยมหิดล ในหนังสือที่มีชื่อว่า "ระบบการจัดเก็บและการสืบค้นสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ (Information Storage and Retrieval System)" ซึ่งถือเป็นหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์เป็นภาษาไทย [19][20]

ผลงานหนังสือ

[แก้]
  • ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์. (2558). ระบบการจัดเก็บและการสืบค้นสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ (Information Storage and Retrieval Systems). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ: โรงพิมพ์พิทักษ์การพิมพ์. [21]
  • ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์. (2558). การจัดการโครงการ ICT (Managing ICT Projects). กรุงเทพ: โรงพิมพ์พิทักษ์การพิมพ์. [22]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รายนามผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-18. สืบค้นเมื่อ 2015-02-18.
  2. MUC-Net
  3. Intra-phone
  4. IPTV @Mahidol
  5. "พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ หรือ BUDSIR (Buddhist Scriptures Information Retrieval)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-12. สืบค้นเมื่อ 2021-08-29.
  6. "ทำเนียบผู้บริหาร หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-22. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
  7. คณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. "ทำเนียบคณะกรรมการบริหาร SIPA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 2015-12-27.
  9. ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ ธ.ค.๒๕๕๗ เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
  10. "รายงานการประชุมสภา ม.มหิดลครั้งที่ 499" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-12-21.
  11. e-Government[ลิงก์เสีย]
  12. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์[ลิงก์เสีย]
  13. [http://www.ryt9.com/s/prg/82161 Government Information Network (GIN)
  14. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาระบบสารสนเทศด้านการสาธารณสุขไทย[ลิงก์เสีย]
  15. "รายนามอดีตคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาระบบสารสนเทศด้านการสาธารณสุขไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-11-12.
  16. "คณะกรรมการรางวัลเจ้าฟ้าไอที". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-21. สืบค้นเมื่อ 2015-09-07.
  17. "รายนามผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-18. สืบค้นเมื่อ 2015-02-18.
  18. "บุคลากรและหน่วยงานดีเด่น มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2545" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-02-16.
  19. "รายชื่อนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์/รางวัลและผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2553 มหาวิทยาลัยมหิดล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-02-16.
  20. สุดยอดอาจารย์มหิดล[ลิงก์เสีย]
  21. ศูนย์หนังสือจุฬา
  22. ศูนย์หนังสือจุฬา
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๕๖, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙