ศรีรัช อุดดอลา
มีร์จา มุฮัมหมัด ศรีรัช อุดดอลา | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าพระยาเบงกอล พระยาพิหารและโอริศา | |||||
ระหว่าง | 9 เมษายน 1756 – 23 มิถุนายน 1757 | ||||
ก่อนหน้า | อาลีวาร์ดี คาน | ||||
ถัดไป | มีร์ จาฟาร์ | ||||
ประสูติ | ค.ศ. 1691 | ||||
พิราลัย | 2 กรกฎาคม 1757 (อายุ 24) | ||||
| |||||
ศาสนา | อิสลามนิกายชีอะฮ์ |
มีร์จา มุฮัมหมัด ศรีรัช อุดดอลา (เบงกอล: মির্জা মুহম্মদ সিরাজউদ্দৌলা) เป็นขุนนางผู้ครองเบงกอลคนสุดท้ายภายใต้จักรวรรดิโมกุล ก่อนที่เบงกอลจะถูกบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตนเข้าปกครองและแผ่ขยายดินแดนไปทั่งอนุทวีปอินเดีย เขาขึ้นครองตำแหน่งเจ้าพระยาเบงกอลต่อจาก อาลีวาร์ดี คาน ผู้เป็นตาในปี 1756 ขณะมีอายุได้ 23 ปี[1] เขาใช้นโยบายแข็งกร้าวต่ออังกฤษและส่งทหารเข้ายึดเมืองกัลกัตตาซึ่งอยู่ในบังคับของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ในศึกกับอังกฤษนั้น เขาถูกทรยศโดยมีร์ จาฟาร์ แม่ทัพในยุทธการที่ปลาศี ส่งผลให้กองทหารอังกฤษของพันเอกรอเบิร์ต ไคลฟ์ เข้ายึดและปกครองแคว้นเบงกอลทั้งหมด
ในขณะที่ยุทธการที่ปลาศีกำลังดำเนินอยู่ ฝ่ายเบงกอลก็สูญเสียมีร์ มาดาม แม่ทัพคนสำคัญและคนสนิทของศรีรัช ศรีรัชเสียใจกับความสูญเสียนี้ และขอคำปรึกษาจากมีร์ จาฟาร์ ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำว่าควรถอนทัพในวันนั้น แล้วศรีรัชได้ทำสิ่งผิดพลาดที่สุดโดยการสั่งให้ยุติการรบ ซึ่งโดยคำสั่งนั้น ทหารแต่ละกรมกองต้องกลับค่ายของตน เป็นการเปิดโอกาสให้พันเอกไคลฟ์ นำกำลังอังกฤษเข้าโจมตีทหารเบงกอลที่กำลังกลับเข้าค่าย
การจู่โจมฉับพลับทำให้กองทหารเบงกอลสูญเสียระเบียบ เมื่อคิดได้ว่าไม่มีทางสู้ ศรีรัชก็รีบหนีลงเรือเล็ก แต่เมื่อไปถึงปัฏนาเขาก็ถูกจับกุมโดยทหารของจาฟาร์ เขาถูกนำตัวไปประหารชีวิตในวันที่ 2 กรกฎาคม 1757 โดยคำสั่งของมีร์ มีรุน บุตรชายของจาฟาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อตกลงระหว่างจาฟาร์กับบริษัทฯ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sushil Chaudhury and KM Mohsin (2012), "Sirajuddaula", ใน Sirajul Islam and Ahmed A. Jamal (บ.ก.), Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.), Asiatic Society of Bangladesh