ข้ามไปเนื้อหา

วิสามัญฆาตกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิสามัญฆาตกรรม (อังกฤษ: extrajudicial killing) เป็นการที่เจ้าพนักงานฆ่าผู้อื่นตายโดยอ้างว่าเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือฆ่าผู้อื่นตายระหว่างที่เขาอยู่ในความควบคุมของตน โดยอ้างว่าเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่[1][2]

วิสามัญฆาตกรรมนั้นเป็นฆาตกรรมที่เจ้าพนักงานกระทำโดยปราศจากการอนุมัติตามกระบวนการยุติธรรมหรือตามวิถีทางแห่งกฎหมาย เพราะฉะนั้น โดยสภาพแล้ว จึงเป็นความผิดตามกฎหมาย[1]

วิสามัญฆาตกรรมเกิดขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสามัญในตะวันออกกลาง (โดยมากใน ดินแดนปาเลสไตน์ อิสราเอล และอิรัก)[3], อัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ[4], ปากีสถาน[5], จาไมกา[6], คอซอวอ[7], อเมริกาใต้, อเมริกากลาง, รัสเซีย[8], อุซเบกิสถาน, ฟิลิปปินส์[9][10] และประเทศไทย[11]

ศัพทมูล

[แก้]

คำว่า "วิสามัญฆาตกรรม" ในภาษาไทยนั้น ปรากฏใช้ครั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เมื่อมีการตรา "พระราชบัญญัติชันสูตรพลิกศพ พ.ศ. 2457" เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2457 โดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ว่า[12]

"การชันสูตรพลิกศพผู้ถูกฆาตกรรม กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้เป็น 2 ชั้น คือ สามัญ ชั้น 1 วิสามัญ ชั้น 1 ผิดกันดังอธิบายต่อไปนี้ คือ

"ข้อ 1 ฆาตกรรมอันเป็นวิสามัญนั้น คือ ผู้ตายตายด้วยเจ้าพนักงานฆ่าตาย ในเวลากระทำการตามหน้าที่ ยกตัวอย่างดังเช่น เจ้าพนักงานไปจับผู้ต้องหาว่าเป็นโจรเป็นผู้ร้าย แลฆ่าผู้ต้องหาว่าเป็นโจรเป็นผู้ร้ายนั้นตายในเวลาจับ ดังนี้เป็นต้น เรียกว่าเป็นเหตุวิสามัญ

"ข้อ 2 ฆาตกรรมอันเป็นสามัญนี้ ผู้อื่นแม้เป็นข้าราชการหรือเป็นเจ้าพนักงานกระทำให้ตาย โดยมิได้เกี่ยวแก่กระทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่า เป็นฆาตกรรมอย่างสามัญ"

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 วรรคสาม

    "ในคดีฆาตกรรม ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อธิบดีกรมอัยการ หรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น มีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง"

  2. ราชบัณฑิตยสถาน, 2551 : ออนไลน์.
  3. Max Fuller, 2005 : Online.
  4. Human Rights Watch, 2007 : Online.
  5. BBC, 2010 : Online.
  6. The Washington Post , 2004 : Online.
  7. The Guardian, 2005 : Online.
  8. BBC, 2006 : Online.
  9. The Independent, 2007 : Online.
  10. "Sign online petition - stop extrajudicial killings"; 2009 : Online.
  11. Asian Human Rights Watch, 2003 : Online.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, 2457 : ออนไลน์.

อ้างอิง

[แก้]
  • ราชกิจจานุเบกษา (2457, 28 เมษายน). "พระราชบัญญัติชันสูตรพลิกศพ พ.ศ. 2457" (PDF). สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  • ราชบัณฑิตยสถาน (2551). "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • Asian Human Rights Watch (2003). "THAILAND: Extrajudicial killing, impunity". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • BBC (2006). "Obituary: Alexander Litvinenko". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • BBC (2010). "Pakistan army accused of extrajudicial killings in Swat". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • Human Rights Watch (2005). "Torture and Extrajudicial Killings in Iraq". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • Max Fuller (2005). "Bangladesh: Release Journalist and Rights Activist". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • "Sign online petition - stop extrajudicial killings". 2009. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • The Independent (2007). "Philippines army accused of killing political activists". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • The Washington Post (2004). "Aristide Back in Caribbean Heat". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • The Washington Post (2004). "Aristide Back in Caribbean Heat". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)