ข้ามไปเนื้อหา

วิลเลียม แอดัมส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิลเลียม แอดัมส์
เกิด24 กันยายน ค.ศ. 1564(1564-09-24)
จิลลิงงัม เทศมณฑลเคนต์
เสียชีวิต16 พฤษภาคม ค.ศ. 1620(1620-05-16) (55 ปี)
ฮิราโดะ จังหวัดนางาซากิ รัฐบาลเอโดะ
สัญชาติอังกฤษ
ชื่ออื่นมิอูระ อันจิน (三浦按針)
พลเมืองญี่ปุ่น
อาชีพต้นหน
คู่สมรสโอยูกิ (สมรส 1613)[1][2]
บุตร
  • จอห์น แอดัมส์ (บุตรชาย)
  • ดีลิเวอรันซ์ แอดัมส์ (บุตรสาว)
  • โจเซฟ แอดัมส์ (บุตรชาย)
  • ซูซานนา แอดัมส์ (บุตรสาว)[1][2]

วิลเลียม แอดัมส์ (ญี่ปุ่น: ウィリアム・アダムス, 24 กันยายน 1564 – 16 พฤษภาคม 1620) ในญี่ปุ่น รู้จักกันดีในนาม มิอูระ อันจิน (三浦按針) เป็นต้นหนชาวอังกฤษ ผู้กลายเป็นชาวอังกฤษคนแรกที่เดินทางถึงญี่ปุ่นในปี 1600 เขาเดินทางด้วยเรือสินค้าชื่อ เดอ ลีฟเดอ[3] ภายใต้การนำของยาค็อบ แควกเกอร์แน็ค; เป็นเรือลำเดียวที่เดินทางถึงญี่ปุ่นจากเรือทั้งหมด 5 ลำของบริษัทพ่อค้าในรอตเตอร์ดัม[3] (voorcompagnie หรือบรรพบุรุษของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์)[4] แอดัมส์เป็น 1 ในผู้รอดชีวิตเพียงไม่กี่คนจากการเดินทางสำรวจที่เดินทางถึงญี่ปุ่น หลังจากนั้นเป็นเวลากว่าทศวรรษที่ทางการไม่อนุญาตให้แอดัมส์และยาน ยูสเทน เพื่อนของเขาออกจากประเทศ ก่อนหน้านี้พวกเขาอนุญาตให้แควกเกอร์แน็ค และเมลคิออร์ ฟัน แซนต์ฟูร์ต กลับไปยังสาธารณรัฐดัตช์เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการค้าอย่างเป็นทางการ วิลเลียม แอดัมส์ และยาน ยูสเทน ตั้งรกรากในญี่ปุ่น และทั้งสองกลายเป็นฮาตาโมโตะ (旗本)[5]

ไม่นานหลังจากแอดัมส์ มาถึงญี่ปุ่น เขาก็กลายเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของโชกุนโทกูงาวะ อิเอยาซุ ภายใต้การกำกับดูแลของเขา แอดัมส์ได้สั่งการให้ต่อเรือสไตล์ตะวันตก ต่อมาเขาเป็นหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญในการอนุมัติให้เนเธอร์แลนด์ตั้งห้างค้าขายในญี่ปุ่น เขามีบทบาทสำคัญในการค้าของญี่ปุ่น โดยทำหน้าที่เป็นกัปตันในการเดินทางสำรวจ 4 ครั้งไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เขาได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในชาวต่างชาติที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในญี่ปุ่นช่วงต้นศตวรรษที่ 17[6] 1 ในมรดกของแอดัมส์คือ การส่งเสริมนโยบายการไม่ยอมรับศาสนาอื่น โดยเฉพาะศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นนโยบายการกดขี่ทางศาสนาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ มุ่งเป้าไปที่ชาวเอเชียและคริสเตียนทุกนิกาย รวมถึงชาวญี่ปุ่นที่เปลี่ยนศาสนา[7][8][9] เขายังมีบทบาทสำคัญในนโยบายปิดประเทศของญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึงการห้ามผู้คนเข้าออกประเทศและห้ามการค้ากับต่างประเทศ[10]

แม้ว่าในที่สุดเขาจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านที่อังกฤษ แต่เขาก็ตัดสินใจที่จะอยู่ในญี่ปุ่นต่อไป จนกระทั่งเสียชีวิตที่ฮิราโดะ ในจังหวัดนางาซากิ เมื่ออายุเพียง 55 ปี บุตรของเขาคือโจเซฟและซูซานนา ถูกเนรเทศไปยังจาการ์ตา[11] และก็หายไปจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้น[10]

ครอบครัว

[แก้]

ตามความเชื่อที่เล่าขานกันทั่วไประบุว่าภรรยาของเขาชื่อ โอยูกิ เป็นลูกบุญธรรมของ มาโกเมะ คาเงยุ ข้าราชการผู้ดูแลถนนหลวง ผู้รับผิดชอบการเปลี่ยนม้าบรรทุกสินค้าบนถนนหลวงสายสำคัญสายหนึ่งที่มุ่งออกจากเอโดะ แม้ว่ามาโกเมะจะมีบทบาทสำคัญ แต่โอยูกิไม่ใช่คนที่มีชาติตระกูลสูงศักดิ์หรือฐานะทางสังคมที่สูง[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Hiromi Rogers (2016). Anjin – The Life and Times of Samurai William Adams, 1564-1620. p. 121. ASIN 1898823227. Adams' marriage with Yuki was arranged by Mukai Shogen, authorised by the Shogun. There is no official record that Magome Kageyu had a daughter, and it is believed that he adopted Yuki, his maid, for marrying to Adams and to advance his own trading activities. Primary source Nishiyama Toshio – Aoime-no-sodanyaku, leyasu-to-Anjin.
  2. 2.0 2.1 "William Adams – from Gillingham to Japan". British Library. 16 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2018.
  3. 3.0 3.1 "VOC Knowledge Center – Rotterdam Chamber". VOC-Kenniscentrum (ภาษาดัตช์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-03-09.
  4. Fergusson, Niall. The Ascent of Money (2009 ed.). London: Penguin Books. p. 129.
  5. アレキサンダー・ベネット. (2018). JAPAN The Ultimate SAMURAI Guide : an Insider Looks at the Japanese Martial Arts and Surviving in the Land of Bushido and Zen. Chāruzuītatorushuppan. ISBN 978-4-8053-1375-6. OCLC 1038661169.
  6. William Adams and Early English Enterprise in Japan, by Anthony Farrington and Derek Massarella.
  7. Ward, Haruko Nawata (2015-03-10). Japan and Europe: the Christian Century, 1549-1650 (Report) (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. doi:10.1093/obo/9780195399301-0286.
  8. Kouamé, Nathalie (2020), Meyer, Éric P.; Viguier, Anne (บ.ก.), "Sûden's Anti‑Christian Edict (The) (1614)", Encyclopédie des historiographies : Afriques, Amériques, Asies : Volume 1 : sources et genres historiques (Tome 1 et Tome 2), TransAireS (ภาษาอังกฤษ), Paris: Presses de l'Inalco, ISBN 978-2-85831-345-7, สืบค้นเมื่อ 2024-03-06
  9. Rausch, Franklin (2014-03-03). Violence against Catholics in East Asia: Japan, China, and Korea from the Late Sixteenth Century to the Early Twentieth Century. Oxford University Press. doi:10.1093/oxfordhb/9780199935420.013.002.
  10. 10.0 10.1 "William Adams". สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  11. Rogers, p. 266

บรรณานุกรม

[แก้]
  • England's Earliest Intercourse with Japan, by C. W. Hillary (1905)
  • Letters written by the English Residents in Japan, ed. by N. Murakami (1900, containing Adams' Letters reprinted from Memorials of the Empire of Japan, ed. by T. Rundall, Hakluyt Society, 1850)
  • Diary of Richard Cocks, with preface by N. Murakami (1899, reprinted from the Hakluyt Society ed. 1883)
  • Hildreth, Richard, Japan as it was and is (1855)
  • John Harris, Navigantium atque Itinerantium Bibliotheca (1764), i. 856
  • Voyage of John Saris, edited by Sir Ernest M. Satow เก็บถาวร 2007-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Hakluyt Society, 1900)
  • Asiatic Society of Japan Transactions, xxvi. (sec. 1898) pp. I and 194, where four formerly unpublished letters of Adams are printed;
  • Collection of State Papers; East Indies, China and Japan. The MS. of his logs written during his voyages to Siam and China is in the Bodleian Library at Oxford.
  • Samurai William: The Adventurer Who Unlocked Japan, by Giles Milton (UK 2002: ISBN 0-340-79468-2)
  • William Adams and Early English Enterprise in Japan, by Anthony Farrington and Derek Massarella [1]
  • Adams the Pilot: The Life and Times of Captain William Adams: 1564–1620, by William Corr, Curzon Press, 1995 ISBN 1-873410-44-1
  • The English Factory in Japan 1613–1623, ed. by Anthony Farrington, British Library, 1991. (Includes all of William Adams' extant letters, as well as his will.)
  • A World Elsewhere. Europe's Encounter with Japan in the Sixteenth and Seventeenth Centuries, by Derek Massarella, Yale University Press, 1990.
  • Recollections of Japan, Hendrik Doeff, ISBN 1-55395-849-7

ฉบับพิมพ์

[แก้]
  • The Needle-Watcher: The Will Adams Story, British Samurai by Richard Blaker
  • Servant of the Shogun by Richard Tames. Paul Norbury Publications, Tenterden, Kent, England.ISBN 0 904404 39 0.
  • Samurai William: The Englishman Who Opened Japan, by Giles Milton; ISBN 978-0-14-200378-7; December 2003