ข้ามไปเนื้อหา

วาตส์ลัฟ ฮาแว็ล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วาตสลัฟ ฮาเวล)
วาตส์ลัฟ ฮาแว็ล
ฮาแว็ลใน ค.ศ. 1997
ประธานาธิบดีเช็กเกีย
ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ 1993 – 2 กุมภาพันธ์ 2003
นายกรัฐมนตรีวาตส์ลัฟ เคลาส์
โยแซฟ โตโชฟสกี
มิโลช แซมัน
วลาดีมีร์ ชปิดลา
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปวาตส์ลัฟ เคลาส์
ประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกีย
ดำรงตำแหน่ง
29 ธันวาคม 1989 – 20 กรกฎาคม 1992
นายกรัฐมนตรีมารียัน ชัลฟา
ยาน สตราสกี
ก่อนหน้ากุสตาว ฮูซาก
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ตุลาคม ค.ศ. 1936(1936-10-05)
ปราก เชโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกีย)
เสียชีวิต18 ธันวาคม ค.ศ. 2011(2011-12-18) (75 ปี)
วิลชีเซ เช็กเกีย
ที่ไว้ศพสุสานวีโนฮราสกี
พรรคการเมืองOF (1989–1991)
คู่สมรส
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคนิคเช็ก
สถาบันศิลปะการแสดง
ลายมือชื่อ

วาตส์ลัฟ ฮาแว็ล (เช็ก: Václav Havel, ออกเสียง: [ˈvaːt͡slav ˈɦavɛl] ( ฟังเสียง); 5 ตุลาคม ค.ศ. 1936  – 18 ธันวาคม ค.ศ. 2011) เป็นรัฐบุรุษ นักเขียน กวี นักเขียนบทละคร และผู้คัดค้านชาวเช็ก[1][2] ฮาแว็ลดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียคนสุดท้ายใน ค.ศ. 1989 ถึง 1992 ก่อนหน้าการยุบเชโกสโลวาเกียในวันที่ 31 ธันวาคม จากนั้นขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเช็กเกียคนแรกใน ค.ศ. 1993 ถึง 2003 เขาเป็นประธานาธิบดีที่ผ่านการเลือกตั้งตามระบอบประธาชาธิปไตยคนแรกในประเทศต่าง ๆ หลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ ส่วนในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเช็ก เขาเป็นที่รู้จักจากบทละคร บทความ และบันทึกความทรงจำ

โอกาสทางการศึกษาของเขาถูกจำกัดจากภูมิหลังชนชั้นกระฎุมพี เมื่อเสรีภาพถูกจำกัดในสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก ฮาแว็ลขึ้นมามีชื่อเสียงครั้งแรกในฐานะนักเขียนบทละคร ในผลงานอย่าง ซาฮ์รัดนีสลาฟนอสต์ และ The Memorandum ฮาแว็ลใช้การเขียนรูปแบบ absurdist เพื่อวิจารณ์ระบอบคอมมิวนิสต์ หลังมีส่วนร่วมในปรากสปริงและถูกขึ้นบัญชีดำหลังการบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ เขาเริ่มมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นและช่วยก่อตั้งโครงการริเริ่มของผู้ไม่เห็นด้วยหลายกลุ่ม ได้แก่ Charter 77 และ Committee for the Defense of the Unjustly Prosecuted กิจกรรมทางการเมืองของเขาทำให้เขาตกอยู่ภายใต้การตรวจตราของตำรวจลับ StB และใช้ช่วงเวลาในฐานะนักโทษการเมืองหลายครั้ง[3] ช่วงที่ถูกกุมขังนานสุดคือเกือบ 4 ปี ตั้งแต่ ค.ศ 1979 ถึง 1983

พรรค Civic Forum ของฮาแว็ลมีบทบาทหลักต่อการปฏิวัติกำมะหยี่ที่โค่นล้มระบอบคอมมิวนิสต์ในเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1989 หลังจากนั้นไม่นาน เขาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับเลือกใหม่ด้วยคะแนนเสียงแบบแลนด์สไลด์ในปีถัดมา และหลังการเป็นเอกราชของสโลวาเกียใน ค.ศ. 1993 ฮาแว็ลมีบทบาทสำคัญในการล้มเลิกกติกาสัญญาวอร์ซอและการขยายตัวของเนโทไปทางตะวันออก จุดยืนและนโยบายหลายประการของเขา เช่น การต่อต้านความเป็นเอกราชของสโลวาเกีย การประณามการปฏิบัติต่อชาวเยอรมันซูเดเทินและการขับไล่จากเชโกสโลวาเกียหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เช่นเดียวกันกับการให้นิรโทษกรรมแก่ผู้ถูกคุมขังในสมัยคอมมิวนิสต์เป็นการทั่วไป ยังเป็นข้อถกเถียงกันอย่างมากในประเทศ เมื่อสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้รับความนิยมในต่างประเทศมากกว่าในประเทศ หลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ฮาแว็ลดำเนินชีวิตต่อไปในฐานะปัญญาชนสาธารณะ โดยริเริ่มโครงการต่าง ๆ มากมาย อย่าง Prague Declaration on European Conscience and Communism,[4][5] มูลนิธิ VIZE 97 และการประชุมประจำปี Forum 2000

ปรัชญาทางการเมืองของฮาแว็ลอยู่ในกลุ่มของการต่อต้านบริโภคนิยม, มนุษยธรรมนิยม, สิ่งแวดล้อมนิยม, การเคลื่อนไหวของพลเมือง และประชาธิปไตยโดยตรง[2] เขาสนับสนุนพรรคกรีนของเช็กใน ค.ศ. 2004 จนกระทั่งเสียชีวิต เขาได้รับรางวัลมากมายในช่วงชีวิตของเขา เช่น Presidential Medal of Freedom, รางวัลสันติภาพคานธี, Philadelphia Liberty Medal, เครื่องราชอิสริยาภรณ์แคนาดา, Four Freedoms Award, Ambassador of Conscience Award และ Hanno R. Ellenbogen Citizenship Award วิทยาลัยยุโรปในปีการศึกษา 2012–2013 ตั้งชื่อตามตัวเขา[6] บางคนยกให้เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มปัญญาชนที่สำคัญที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20[7] ท่าอากาศยานนานาชาติในปรากเปลี่ยนชื่อเป็นท่าอากาศยานวาตส์ลัฟ ฮาแว็ล ปรากใน ค.ศ. 2012

อ้างอิง[แก้]

  1. Webb, W. L. (18 December 2011). "Václav Havel obituary". The Guardian.
  2. 2.0 2.1 Crain, Caleb (21 March 2012). "Havel's Specter: On Václav Havel". The Nation. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.
  3. Barney, Timothy (2019-10-20). "Václav Havel at the End of the Cold War: The Invention of Post-Communist Transition in the Address to U.S. Congress, February 21, 1990". Communication Quarterly. 67 (5): 560–583. doi:10.1080/01463373.2019.1668444. ISSN 0146-3373. S2CID 210374087.
  4. Tismăneanu, Vladimir (2010). "Citizenship Restored". Journal of Democracy. 21 (1): 128–135. doi:10.1353/jod.0.0139. S2CID 159380633.
  5. "Prague Declaration on European Conscience and Communism". Victims of Communism Memorial Foundation. 9 June 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2011. สืบค้นเมื่อ 10 May 2011.
  6. "Opening Ceremony, Bruges Campus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2013. สืบค้นเมื่อ 2 December 2012.
  7. "Prospect Intellectuals: The 2005 List". Prospect. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 6 April 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]