วัดไพรสุวรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดไพรสุวรรณ
หลวงพ่อเพชร พระประธานภายในอุโบสถ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดไพร
ที่ตั้ง65 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านไร่ อำเภอบางกระทุ่ม จังวัดพิษณุโลก
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานหลวงพ่อเพชร
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อแขก
เจ้าอาวาสพระครูพิพิธชยาภรณ์ (สุทัศน์ โพธิ์กลับ (สิริวิชโย) น.ธ.เอก )
กิจกรรมงานนมัสการและปิดทอง รูปปั้นหลวงพ่อสอน ในเดือนเมษายนของทุกปี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดไพรสุวรรณ เดิมเป็นวัดร้าง พระอาจารย์สอน ได้เข้ามาบูรณะในพุทธศักราช 2455[1] และมีเจ้าอาวาสต่อ ๆ มาอีกหลายรูป ทุกๆ รูปได้สร้างศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่ และสวยงามมาก

วัดไพรสุวรรณ ตั้งอยู่เมืองพิษณุโลก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 28 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงสายพิษณุโลก - วัดจุฬามณี อำเภอบางกระทุ่ม เลี้ยวขวาอีก 1 กิโลเมตร ถึงวัดไพรสุวรรณ ปัจจุบันตั้งอยู่บนฝั่งตะวันอออกของแม่น้ำน่าน[2]

ประวัติ[แก้]

วัดไพรสุวรรรณเดิมเป็นวัดร้าง ตั้นอยู่บนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำน่านทางฝั่งเหนือ ในนปี พ.ศ. 2455 พระครูวิเชียรปัญญามุนี (สอน ธมฺมโชโต) ได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่าง ๆ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ราว พ.ศ. 2465

บริเวณที่ตั้งวัดนั้นเดิมเป็นป่าไม้เบญจพรรณ มีต้นทองขึ้นอยู่มาก พระครูสอนจึงได้ขนานนามวัดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมว่า "วัดไพรสุวรรณ" ไพร แปลว่า ป่า และสุวรรณ แปลว่า ทอง หรือ "วัดป่าทอง" นั้นเอง[1]

เสนาสนะ[แก้]

  1. อุโบสถ
  2. ศาลาการเปรียญ
  3. กุฏิพระสงฆ์
  4. เมรุ

เจ้าอาวาส[แก้]

  1. พระครูวิเชียรปัญญามุนี (สอน ธนสัมบัน)
  2. พระครูบัว
  3. พระสมุห์สังข์
  4. พระอธิการบุญช่วย
  5. พระอาจารย์โปร่ง
  6. พระอาจารย์เจียม
  7. พระอาจารย์พิกุล
  8. พระอาจารย์ฟ้อน
  9. พระอธิการบุญนาค
  10. พระอธิการเจริญ รกฺขโน (รักษาการ พ.ศ. 2525-2545)
  11. พระครูพิพิธชยาภรณ์ (สุทัศน์ สิริวิชโย) (พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 การศาสนา, กรม, ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร, เล่ม 7, กรุงเทพฯ,โรงพิมพ์การศาสนา,2534.
  2. "สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม,ฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก,วัดไพรสุวรรณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.