วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
พระมหาธาตุเฉลิมราชย์ศรัทธา วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
แผนที่
ที่ตั้งกาเซีย อำเภอกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานพระพุทธสยัมภูญาณ
เวลาทำการทุกวัน
จุดสนใจพระอุโบสถ พระเจดีย์
การถ่ายภาพอนุญาต
เว็บไซต์http://www.watthaikusinara-th.org
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 มีเนื้อที่ราว 14 ไร่ (6 เอเคอร์) ตั้งอยู่บริเวณกุสินารา อยู่ห่างจากสาลวโนทยาน สถานที่ดับขันธปรินิพพานของพระสัมมาสัมพูทธเจ้า ประมาณ 500 เมตรปัจจุบันมีพระวิเทศวชิรญาณ วิ. (สมพงศ์ ญาณธีโร ดร.) เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติเริ่มการสร้างวัด[แก้]

  • ซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัดได้ที่ดินสร้างวัดจำนวน 14 ไร่
  • ผู้รับผิดชอบโครงการพระสุเมธาธิบดี อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ได้มอบหมายให้ พระราชโพธิวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา เป็นประธานดูแลการก่อสร้าง และมอบหมายให้พระครูปลัดสุวัฒนศรัทธาคุณ (วีรยุทธ วีรยุทโธ Ph.D.) เป็นผู้ดูและรับผิดชอบโครงการ และคุณจุมพล โพธิศรีวิสุทธิกุล เป็นผู้อุปถัมภ์การสร้างวัดพร้อมพุทธบริษัทชาวไทย

ที่ตั้งและอาณาเขตของวัดไทย[แก้]

วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างสาลวโนทยาน สถานที่ดับขันธปรินิพพานของพระสัมมาสัมพูทธเจ้า ประมาณ 500 เมตร และห่างจากมกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ประมาณ 500 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 14 ไร่

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

พระวิเทศวชิรญาณ วิ. (สมพงศ์ ญาณธีโร ดร.) (๒๕๖๗-ปัจจุบัน)

สิ่งก่อสร้าง[แก้]

  • พระอุโบสถ
  • พระมหาธาตุเฉลิมราชย์ศรัทธา
  • อาคารรองรับผู้แสวงบุญชาวไทย มีจำนวน 2 หลัง ลักษณะ 2 ชั้น เพื่อเป็นที่พักของพุทธบริษัทชาวไทยที่เดินทางมานมัสการพุทธสังเวชนียสถาน แสวงบุญ ณ ประเทศอินเดีย
  • โรงพยาบาล

งานพระธรรมทูต[แก้]

ได้ทำงานเชิงรุกและขยายการทำงาน ดังนี้

  1. สร้างวัดไทยสาวัตถี พ.ศ. 2548
  2. สร้างพุทธวิหารสาลวโนทยาน 960โสเนาลี ชายแดนอินเดีย-เนปาล พ.ศ. 2548 จัดสร้างเป็นศาลาพักข้างทางของผู้แสวงบุญ อยู่ห่างชายแดนอินเดีย-เนปาล 3 กม. ซึ่งจะมีทั้งห้องน้ำ ห้องสุขาที่ได้มาตรฐานถึง 32 ห้อง แยกเป็นสัดส่วน สำหรับพระสงฆ์ ชาย หญิง และผู้พิการ ที่จัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์ระหว่างเดินทาง และเป็นศาลาอเนกประสงค์รับประทานอาหาร ศาลาน้ำชากาแฟ คลินิกปฐมพยาบาล
  3. สร้างโรงพยาบาลเพื่อดูแลชาวพุทธไทย และชาวพุทธทั่วโลก รวมทั้งชาวอินเดีย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแด่ชาวพุทธที่มาไหว้พระแสวงบุญ รวมทั้งเพื่อสร้างมวลชนสัมพันธ์กับชาวบ้านท้องถิ่น
  4. จัดสร้างโรงเรียนเพื่อเยาวชนชาวอินเดีย ให้ได้รับการศึกษา คือ สร้างโรงเรียนต้นกล้าพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
  5. จัดอบรมพระธรรรมวิทยากร เพื่อพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนา คือ พระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ที่มาปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูต ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติธรรมในอินเดีย ให้รักงานเผยแพร่ วัตถุประสงค์เพื่อสามารถนำพาพุทธบริษัทที่มาไหว้พระแสวงบุญที่อินเดียให้ได้เข้าใจซาบซึ้งในคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ นำสวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนา อธิบายธรรม พุทธประวัติ ประวัติศาสตร์ และเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ให้แก่ชาวพุทธไทยและต่างชาติได้ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดี ได้รับคำยกย่องและชื่นชมจากชาวพุทธไทยเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีการอบรม สามแห่งคือ วัดไทยพุทธคยา วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ และมหาวิทยาลัยเมืองพาราณสี
  6. มอบทุนการศึกษาแด่พระภิกษุ-สามเณร แม่ชีและนักเรียนไทย ที่มาศึกษาในประเทศอินเดีย

การติดต่อที่พักสำหรับผู้แสวงบุญชาวไทย[แก้]

  • ผู้แสวงบุญที่ประสงค์จะพักที่วัดไทยกุสินารา ต้องแจ้งให้ทางวัดทราบล่วงหน้าก่อนการเดินทาง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]