ลูเมน
lumen | |
---|---|
ระบบการวัด | เอสไอ |
เป็นหน่วยของ | ฟลักซ์ส่องสว่าง |
สัญลักษณ์ | lm |
การแปลงหน่วย | |
1 lm ใน ... | ... มีค่าเท่ากับ ... |
หน่วยฐานเอสไอ | cd⋅sr |
ลูเมน (lumen, สัญลักษณ์: lm) เป็น หน่วยวัดของค่าฟลักซ์ส่องสว่าง เป็นหน่วยหนึ่งของมาตรวัดในระบบเอสไอ
คำนิยาม
[แก้]SI ได้ให้คำนิยามของหน่วยลูเมนไว้ว่า "ฟลักซ์การส่องสว่างที่ปล่อยออกมาภายในมุมตัน 1 สเตอเรเดียนจากแหล่งกำเนิดจุดมาตรฐานที่มีความเข้มของการส่องสว่าง 1 แคนเดลาในทุกทิศทาง"
lumen เป็นคำในภาษาละติน แปลว่า "แสงกลางวัน" เนื่องจากชื่อไม่ได้มาจากชื่อบุคคล สัญลักษณ์หน่วยทั้งหมดจึงเป็นตัวพิมพ์เล็ก หน่วยลูเมนถูกสร้างขึ้นใน 1925 แต่คำจำกัดความในขณะนั้นขึ้นอยู่กับหน่วยความเข้มการส่องสว่างแบบเก่า คือแรงเทียน ในปี 1946 คณะกรรมการชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (CIPM) จึงได้ได้ลงมติให้กำหนดหน่วยใหม่ของความเข้มการส่องสว่างเป็นแคนเดลาแบบใหม่ และลูเมนก็เปลี่ยนคำจำกัดความโดยใช้หน่วยแคนเดลาใหม่นี้ด้วย โดยบางครั้งก็ใช้คำเรียกว่า "ลูเมนใหม่" เพื่อแยกความแตกต่างจากคำจำกัดความเก่าของลูเมน
วิธีการวัดโดย ANSI
[แก้]ANSI ได้กำหนดวิธีการวัดฟลักซ์การส่องสว่างที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงของเครื่องฉายภาพ ระนาบการฉายภาพแบ่งออกเป็น 3 ×3 = 9 ตามแนวตั้งและแนวนอน และวัดค่าความส่องสว่างเฉลี่ยในหน่วยลักซ์ (lx) ของแต่ละระนาบ คูณด้วยพื้นที่ ของพื้นผิวการฉายภาพในหน่วยตารางเมตร (m2) เพื่อให้ได้ค่าฟลักซ์การส่องสว่าง เนื่องจาก lx = lm/m2 เมื่อนำค่าความส่องสว่างในลักซ์มาคูณด้วยตารางเมตรก็จะได้ลูเมน ค่าลูเมนของฟลักซ์การส่องสว่างที่กำหนดโดยวิธีการวัดนี้อาจเรียกโดยเจาะจงว่า ANSI lumen