ลักกีสไตรก์ (เพลง)
"ลักกีสไตรก์" | |
---|---|
เพลงโดยมารูนไฟฟ์ | |
จากอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ | |
บันทึกเสียง | 2012 |
แนวเพลง | |
ความยาว | 3:05 |
ค่ายเพลง | A&M/Octone |
ผู้ประพันธ์เพลง | |
โปรดิวเซอร์ |
|
"ลักกีสไตรก์" (อังกฤษ: Lucky Strike) เป็นเพลงของวงดนตรีอเมริกัน มารูนไฟฟ์ จากสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สี่ โอเวอร์เอกซ์โพสด์ (2012) เพลงเขียนโดยแอดัม เลอวีน ร่วมกับไรอัน เท็ดเดอร์ และโนล ซานคาเนลลา ซึ่งทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ให้ด้วย "ลักกีสไตรก์" เป็นเพลงแนวฟังก์ที่รวมกับดั๊บสเตป และโซลร็อก ในด้านเนื้อร้อง บอกเล่าประเด็นเกี่ยวกับการร่วมเพศ
เพลงได้รับคำวิจารณ์ด้านบวกจากนักวิจารณ์ซึ่งพบว่าเพลงติดหู และเรียกว่าเป็นหนึ่งในเพลงที่ดีที่สุดในอัลบั้ม โอเวอร์เอกซ์โพสด์ หลังจากออกจำหน่ายอัลบั้ม เนื่องจากยอดดาวน์โหลดที่สูง ทำให้เพลงขึ้นถึงอันดับที่สองในชาร์ตซิงเกิลของเกาหลีใต้ และอันดับเก้าบนชาร์ตบับบลิงอันเดอร์ฮอต 100 "ลักกีสไตรก์" ถูกบรรจุในรายชื่อเพลงสำหรับเล่นคอนเสิร์ต (set list) ในทัวร์คอนเสิร์ตทั่วโลกครั้งที่สี่ โอเวอร์เอกซ์โพสด์ทัวร์ (2012-13)
เบื้องหลัง
[แก้]"ลักกีสไตรก์" เขียนโดยแอดัม เลอวีน นักร้องนำวงมารูนไฟฟ์ ร่วมกับไรอัน เท็ดเดอร์ และโนล ซานคาเนลลา ที่ทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์เพลง[1] เท็ดเดอร์และซานคาเนลลายังร่วมเขียนและผลิตเพลง "เลิฟซัมบอดี" จากอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์[1] "ลักกีสไตรก์" ปรับแต่งเสียงโดยสมิธ คาร์ลสันที่แพตทริออตสตูดิโอส์ในเดนเวอร์ และโนอาห์ "เมล์บ็อกซ์" พาสโซวอยที่คอนเวย์สตูดิโอส์ในลอสแอนเจลิส เอริก อายแลนส์รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิศวกรเสียง[1] เซอร์แบน เกเนียผสมเสียงที่มิกซ์สตาร์สตูดิโอส์ในเวอร์จิเนียบีช จอห์น เฮนส์ รับหน้าที่เป็นวิศวกรเสียงคอยผสมเสียง ขณะที่ฟิล ซีฟอร์ด รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิศวกรเสียง[1] เท็ดเดอร์และซานคาเนลลาใช้โปรแกรมปรับแต่งเสียงและคีย์ของเพลง[1]
การวางองค์ประกอบเพลง
[แก้]"ลักกีสไตรก์" เป็นเพลงแนวฟังก์ที่มีคุณสมบัติของดั๊บสเตปและโซล และมีความยาวสามนาทีห้าวินาที[4][2][5][3] ดนตรีประกอบด้วยเปียโน กีตาร์ บรรเลงพร้อมกับเสียงร้องของเลอวีน[6][3] "ลักกีสไตรก์" เขียนในคีย์บีไมเนอร์ (B minor) ด้วยเทมโป 144 จังหวะต่อนาที[6] ช่วงเสียงของเลอวีน จากโน้ตต่ำ A4 ถึงโน้ตสูง B5 [6] โรเบิร์ต คอปซีย์จากเว็บไซต์ดิจิทัลสปาย กล่าวว่า ในเพลงมี "ลูกเล่นส่งเสริม" (bells-and-whistles template) แบบเดียวกับที่นำเสนอในซิงเกิล "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์"[7] ชัก อาร์โนลด์ จากนิตยสารพีเพิล เห็นด้วยกับคอปซีย์และบรรยายถึงเพลงว่า "เร็วดุจสายฟ้าแลบ" (lightning-paced)[8] ในด้านเนื้อร้อง เพลงเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการร่วมเพศที่เห็นได้จากท่อนที่ร้องว่า "Your body rockin', keep me up all night/One in a million, my lucky strike."[9]
การตอบรับ
[แก้]แอดัม มาร์โควิตซ์ จากเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี เรียกเพลง "ลักกีสไตรก์" และ "เพย์โฟน" ว่าเป็นเพลงที่ดีที่สุดในอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ และพูดถึงเพลงแรกว่า "มีโครงแบบฟังก์อย่างชัดเจน" (funk-spiked strut)[2] คล้าย ๆ กับมาร์โควิตซ์ ซูซาน เบิร์น จาก RTÉ.ie เขียนว่าเพลง "ลักกีสไตรก์" "เดย์ไลต์" "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" และ "เลิฟซัมบอดี" อาจได้เป็นซิงเกิล[10] โรเบิร์ต คอปซีย์ จากดิจิทัลสปาย ตั้งชื่อเพลงนี้กับเพลง "วันมอร์ไนต์" และ "เลดีคิลเลอร์" ว่าคุ้มค่าต่อการดาวน์โหลดดิจิทัล[7] คริส เพย์น จากนิตยสารบิลบอร์ดเขียนว่าในเพลงนี้ "ที่สุดแล้ว กีตาร์ของมารูนไฟฟ์ก็ได้ออกมาเล่นในบาร์เปิดแห่งนี้ แม้โดยสภาพจะไม่ใช่เพลงร็อก แต่มันมีกลิ่นอายจากงานเพลงเก่า ๆ ที่มีความเป็นมารูนไฟฟ์มากกว่า"[11] คาเมรอน แอดัมส์ จากหนังสือพิมพ์เฮรัลด์ซัน พูดถึงเพลงว่า "แสดงความเป็นมิตรแบบผิดเอกลักษณ์" (uncharacteristically clubby)[12]
อเล็กซ์ ไล จากคอนแทกต์มิวสิกเขียนว่าเลอวีนแลก "เสียงร้องไพเราะกับท่อนสร้อยที่เป็นสากลขึ้น" เช่น "กลับไปที่นักเต้นรำดิสโกเพลง 'ลักกีสไตรก์'"[13] อีวาน ซอว์ดีย์ จากป็อปแมตเทอส์ เรียกเพลงนี้ว่าเป็น "สำเนาคาร์บอนที่ชวนเต้น" ของเพลง "เซกันด์ชานซ์" (จากอัลบั้มกิมมีซัม ค.ศ. 2011) ของปีเตอร์, บียอร์น แอนด์ จอห์น เขากล่าวว่า "ลักกีสไตรก์" เลียนแบบ "โทนเสียงกีตาร์" และแทนที่ด้วยการเพิ่มจังหวะชวนเต้น[14]
บนชาร์ตเพลงและการแสดงสด
[แก้]หลังออกจำหน่ายอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ เนื่องจากยอดดาวน์โหลดสูง ทำให้เพลง "ลักกีสไตรก์" เปิดตัวบนแกออนชาร์ตของเกาหลีใต้ ที่อันดับที่สอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ด้วยยอดขาย 53,090 ชุด[15] สัปดาห์ต่อมา เพลงตกลงมาอันดับที่สี่ ด้วยยอดขาย 39,392 ชุด[16] จนวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 เพลงยังอยู่อันดับที่ 78 และอยู่บนแกออนชาร์ตยาวนาน 34 สัปดาห์ติดต่อกัน[17] เมื่ออัลบั้มออกจำหน่ายแล้ว เพลงไม่ได้เข้าชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 แต่ขึ้นสูงสุดที่อันดับเก้าบนชาร์ตบับบลิงอันเดอร์ฮอต 100[18]
"ลักกีสไตรก์" ถูกบรรจุในรายชื่อเพลง (set list) สำหรับทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สี่ ในชื่อ โอเวอร์เอกซ์โพสด์ทัวร์ (2012—13) ด้วย[19]
ผู้มีส่วนร่วมทำเพลง
[แก้]- การปรับแต่งเสียงและผสมเสียง
- ปรับแต่งเสียงที่แพตทริออตสตูดิโอส์ เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด และคอนเวย์สตูดิโอส์ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย
- ผสมเสียงที่มิกซ์สตาร์สตูดิโอส์ เวอร์จิเนียบีช
- คณะทำงาน
|
คณะทำงานปรับปรุงจากโน้ตในอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ สังกัดเอแอนด์เอ็ม/อ็อกโทนเรเคิดส์[1]
ชาร์ต
[แก้]ชาร์ต (2012-2014) | ตำแหน่ง สูงสุด |
---|---|
Belgium (อัลตราท็อป แฟลนเดอส์)[20] | 3 |
Canada AC (Billboard)[21] | 37 |
Canada Hot AC (Billboard)[22] | 39 |
South Korea (Gaon Digital Chart)[23] | 3 |
US Bubbling Under Hot 100 Singles (Billboard)[18] | 9 |
US Adult Pop Songs (Billboard)[24] | 33 |
การรับรอง
[แก้]ประเทศ | การรับรอง | จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย |
---|---|---|
United States (RIAA)[25] | Gold | 500,000 |
ตัวเลขสตรีมมิงและยอดขายขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Overexposed (inlay cover). Maroon 5. A&M/Octone Records. 2012.
{{cite AV media notes}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 2.2 Markovitz, Adam (June 27, 2012). "Overexposed Review". Entertainment Weekly. Time Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-23. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Florino, Rick (June 21, 2012). "Maroon 5 'Overexposed' Album Review — 5 out of 5 stars". Artistdirect. Peer Media Technologies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-22. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
- ↑ "Overexposed by Maroon 5". iTunes Store (US). Apple. สืบค้นเมื่อ January 21, 2013.
- ↑ "Maroon 5 - 'Overexposed'". NME. IPC Media. June 22, 2012. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Maroon 5 - Lucky Strike". Musicnotes.com Universal Music Publishing Group. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
- ↑ 7.0 7.1 Copsey, Robert (June 25, 2012). "Maroon 5: 'Overexposed' - Album review". Digital Spy. Nat Mags. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-17. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
- ↑ Arnold, Chuck (June 26, 2012). "Maroon 5's New Album Overexposed: Solid, Not Superior". People. Time Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ January 24, 2012.
- ↑ "Maroon 5 Overexposed". Plugged In. Focus on the Family. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
- ↑ Byrne, Suzanne (June 30, 2012). "Maroon 5 - Overexposed". RTÉ.ie. Raidió Teilifís Éireann. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
- ↑ Payne, Chris (June 26, 2012). "Maroon 5, 'Overexposed': Track-By-Track Review". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
- ↑ Adams, Cameron (June 20, 2012). "Album review: Overexposed by Maroon 5". Herald Sun. The Herald and Weekly Times. สืบค้นเมื่อ January 24, 2012.
- ↑ Lai, Alex. "Maroon 5 - Overexposed Album Review". Contactmusic.com. สืบค้นเมื่อ January 24, 2013.
- ↑ Sawdey, Evan (July 10, 2012). "Maroon 5: Overexposed". PopMatters. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
- ↑ "South Korea Gaon International Chart (Week, June 24, 2012 to June 30, 2012)" (ภาษาเกาหลี). Gaon Chart. สืบค้นเมื่อ January 22, 2013.
- ↑ "South Korea Gaon International Chart (Week, July 1, 2012 to July 7, 2012)" (ภาษาเกาหลี). Gaon Chart. สืบค้นเมื่อ January 27, 2013.
- ↑ "South Korea Gaon International Chart" (ภาษาเกาหลี). Gaon Chart. สืบค้นเมื่อ January 22, 2013. Note: See from week, June 24, 2012 to June 30, 2012, until week of February 3, 2013 to February 9, 2013
- ↑ 18.0 18.1 "Bubbling Under Hot 100 – Issue Date: 2012-07-14". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ July 31, 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Overexposed Tour: Maroon 5 Manilla Photos / Setlist". Philippine Concerts. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
- ↑ "Maroon 5 – Lucky Strike" (in Dutch). Ultratip. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ "Maroon 5 Chart History (Canada AC)". Billboard. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
- ↑ "Maroon 5 Chart History (Canada Hot AC)". Billboard. สืบค้นเมื่อ June 09, 2014.
- ↑ "Gaon Digital Chart". Gaon Chart. สืบค้นเมื่อ May 11, 2014.
- ↑ Caulfield, Keith; Trust, Gary (November 11, 2013). "Chart Highlights: Cage The Elephant Returns To No. 1 On Rock Airplay, Alternative Songs". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ November 12, 2013.
- ↑ "American single certifications – Maroon 5 – Lucky Strike". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ September 17, 2018.