ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลาย
ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลาย (อังกฤษ: respiratory droplet) เป็นอนุภาคซึ่งประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ มีขนาดใหญ่พอที่จะตกลงพื้นอย่างรวดเร็วหลังผลิตขึ้น มักนิยามว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 5 ไมครอน ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติอันเป็นผลของการหายใจ พูด จาม ไอหรืออาเจียน หรือเกิดขึ้นจากน้ำมือมนษย์ผ่านวิธีทางการแพทย์ที่ก่อให้เกิดละอองลอย เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการแพร่กระจายโรค
นิยาม
[แก้]ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายเป็นอนุภาคที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำ ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่จะตกลงพื้นอย่างรวดเร็วหลังผลิตขึ้น มักนิยามว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 5 ไมครอน[1]
ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายต่างจากละอองฝอยขนาดเล็ก (droplet nuclei) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ซึ่งเป็นฐานของละอองลอยและสามารถค้างอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน ฉะนั้น ละอองฝอยขนาดเล็กสามารถเป็นตัวนำโรคของโรคติดเชื้อจากอากาศ (airborne disease) ซึ่งต่างจากละอองฝอย[1]
การเกิด
[แก้]ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายเกิดขึ้นได้หลายวิธี อาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติอันเป็นผลจากการหายใจ พูด จาม ไอหรือร้องเพลงก็ได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ได้ในสถานบริการสาธารณสุขผ่านวิธีการที่ก่อให้เกิดละอองลอย เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR), การส่องกล้องหลอดลม, การผ่าตัดและการชันสูตรพลิกศพ[1] ละอองฝอยที่คล้ายกันอาจเกิดขึ้นได้จากการอาเจียน[2]
ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายอาจมี) เซลล์หรืออนุภาคไวรัสได้ขึ้นอยู่กับวิธีการกำเนิด[1] กรณีละอองฝอยที่เกิดตามธรรมชาติ อาจเกิดได้จากตำแหน่งต่าง ๆ ในทางเดินหายใจซึ่งทำให้มีองค์ประกอบต่างกัน[2] นอกจากนี้ยังมีข้อแตกต่างระหว่างบุคคลที่สุขภาพแข็งแรงและผู้ป่วยเป็นโรคในองค์ประกอบของเมือก ปริมาณและความหนืดที่มีผลต่อการเกิดละอองฝอย[3]
การพา
[แก้]วิธีการเกิดที่ต่างกันทำให้ละอองฝอยมีขนาดและความเร็วเริ่มต้นต่างกัน ซึ่งมีผลต่อการพาและระยะเวลาที่ลอยตัวอยู่ในอากาศ หากสูดเข้าไป อนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 ไมโครเมตรมักถูกดักไว้ในจมูกและลำคอโดยไม่สามารถผ่านทะลุไปถึงระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง[3] หากไม่ได้สูดเข้าไปทันที ละอองฝอยขนาดเล็กกว่า 100 ไมโครเมตรมักแห้งไปอย่างสมบูรณ์ก่อนตกลงสู่พื้นผิว[1][2] เมื่อแห้งแล้ว ละอองฝอยเหล่านี้กลายเป็นละอองฝอยขนาดเล็กแข็งซึ่งประกอบด้วยสารระเหยไม่ได้ที่มีอยู่ในละอองฝอยตั้งต้น ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายยังสามารถมีอันตรกิริยากับอนุภาคที่มิใช่ชีวภาพอื่น ๆ ในอากาศได้ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า[2]
บทบาทในการแพร่เชื้อโรค
[แก้]ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายเป็นรูปแบบการแพร่โรคที่พบบ่อยอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากการไอ จามหรือพูด การส่งผ่านละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายเป็นวิธีติดเชื้อทางเดินหายใจตามปกติ การส่งผ่านสามารถเกิดขึ้นเมื่อละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายไปถึงพื้นผิวเยื่อเมือกที่ไวต่อโรค เช่น ในตา จมูกหรือปาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยอ้อมได้หากมือสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อนแล้วนำมาแตะใบหน้า ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายมีขนาดใหญ่และไม่คงค้างอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน และปกติกระจายไปในระยะทางสั้น ๆ เท่านั้น[4]
ไวรัสที่แพร่กระจายโดยการส่งผ่านด้วยละอองฝอยได้แก่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสไรโน ไวรัสเรสไปราโตรีซินไซเชียล ไวรัสเอ็นเทอโรและไวรัสโนโร[5] ไวรัสมีเซิลส์มอร์บิลิ[6] และไวรัสโคโรนาอย่างไวรัสโคโรนาซาร์ส (SARS-CoV-1)[5][6] และ SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโควิด-19[7][8] เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราอาจส่งผ่านทางละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายได้เช่นกัน[1] ในทางกลับกัน มีโรคไม่กี่ชนิดที่สามารถกระจายได้ผ่านการแพร่เชื้อจากอากาศหลังละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายแห้งแล้ว[6]
อุณหภูมิและความชื้นโดยรอบมีผลต่อการอยู่รอดของละอองลอยชีวภาพ (bioaerosol) เนื่องจากเมื่อละอองระเหยแล้วมีขนาดเล็กลง ละอองจะให้ความคุ้มกันแก่เชื้อโรคที่บรรจุอยู่ภายในได้ลดลง โดยทั่วไป ไวรัสที่มีสิ่งหุ้มลิพิดมีความเสถียรในอากาศแห้งมากกว่า ขณะที่ไวรัสที่ไม่มีสิ่งหุ้มจะมีความเสถียรในอากาศชื้นมากกว่า ไวรัสโดยทั่วไปมีความเสถียรกว่าที่อุณหภูมิอากาศต่ำกว่า
การควบคุมอันตราย
[แก้]ในสถานบริการสาธารณสุข การป้องกันละอองฝอยได้แก่การจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยก การจำกัดการเคลื่อนย้ายออกนอกห้อง และใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล[9][10] ในการตั้งค่าการดูแลสุขภาพข้อควรระวังหยดรวมถึงที่อยู่อาศัยผู้ป่วยในแต่ละห้อง จำกัด การขนส่งของพวกเขาออกไปข้างนอกห้องและการใช้ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ที่เหมาะสม การป้องกันละอองลอยเป็นหลักการป้องกันตามวิถีการแพร่เชื้อ (transmission-based precautions) ซึ่งใช้นอกเหนือไปจากการป้องกันมาตรฐานตามชนิดของการติดเชื้อของผู้ป่วย หลักการป้องกันอีกสองหลักการได้แก่การป้องกันการสัมผัสและการป้องกันการแพร่เชื้อทางอากาศ[9] อย่างไรก็ดี วิธีดำเนินการที่ก่อให้เกิดละอองลอย (aerosol-generating procedure) อาจก่อให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็กกว่าที่กระจายไปได้ไกลกว่า และการป้องกันละอองฝอยอาจไม่เพียงพอเมื่อปฏิบัติวิธีการดังกล่าว[11]
โดยทั่วไปสามารถใช้อัตราระบบระบายอากาศที่สูงขึ้นเป็นการควบคุมอันตรายเพื่อเจือจางและกำจัดอนุภาคน้ำมูกน้ำลาย อย่างไรก็ดี หากมีการถ่ายอากาศที่ไม่ผ่านการกรองหรือกรองไม่เพียงพอไปยังอีกที่หนึ่ง สามารถทำให้การติดเชื้อแพร่กระจายได้[2]
สามารถใช้หน้ากากอนามัยป้องกันการส่งผ่านละอองฝอยได้ ทั้งสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ และบุคลากรการแพทย์ มีการตั้งข้อสังเกตว่าระหว่างการระบาดของโรคซาร์สในปี 2002–2004 การใช้หน้ากากอนามัยและหน้ากากเอ็น95 มีแนวโน้มลดการติดเชื้อในบุคลากรสาธารณสุข แม้หน้ากากอนามัยสร้างกำบังกายภาพระหว่างปากและจมุกของผู้สวมกับสิ่งที่อาจปนเปื้อนอย่างละอองฝอยน้ำมูกน้ำลาย แต่มันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อกรองหรือสกัดอนุภาคขนาดเล็กมากอย่างอนุภาคที่ส่งผ่านโรคติดต่อทางอากาศ เพราะมีช่องหลวม ๆ ระหว่างหน้ากากใบหน้ากับใบหน้า
ประวัติศาสตร์
[แก้]นักแบคทีเรียวิทยาชาวเยอรมัน คาร์ล ฟลึกเกอในปี 1899 เป็นบุคคลแรกที่แสดงว่าจุลินทรีย์ในละอองฝอยที่ขับออกจากทางเดินหายใจเป็นวิธีการส่งผ่านโรคอย่างหนึ่ง ในค้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 บางทีคำว่า "ละอองฝอยฟลึกเกอ" ใช้กับอนุภาคที่มีขนาดใหญ่พอที่จะไม่แห้งไปอย่างสมบูรณ์ คือ ขนาดประมาณใหญ่กว่า 100 ไมโครเมตร[12]
มโนทัศน์ละอองฝอยว่าเป็นบ่อเกิดหลักและพาหะของการแพร่เชื้อทางเดินหายใจของฟลึกเกออยู่มาถึงคริสต์ทศวรรษ 1930 จนวิลเลียม เอฟ. เวลส์แยกแยะละอองฝอยขนาดใหญ่และเล็กออกจากกัน[13][14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Atkinson, James; Chartier, Yves; Pessoa-Silva, Carmen Lúcia; Jensen, Paul; Li, Yuguo; Seto, Wing-Hong (2009). "Annex C: Respiratory droplets". Natural Ventilation for Infection Control in Health-Care Settings (ภาษาอังกฤษ). World Health Organization. ISBN 978-92-4-154785-7.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Morawska, L. (2006-10-01). "Droplet fate in indoor environments, or can we prevent the spread of infection?" (PDF). Indoor Air (ภาษาอังกฤษ). 16 (5): 335–347. doi:10.1111/j.1600-0668.2006.00432.x. ISSN 0905-6947. PMID 16948710. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.
- ↑ 3.0 3.1 Gralton, Jan; Tovey, Euan; McLaws, Mary-Louise; Rawlinson, William D. (2011-01-01). "The role of particle size in aerosolised pathogen transmission: A review". Journal of Infection (ภาษาอังกฤษ). 62 (1): 1–13. doi:10.1016/j.jinf.2010.11.010. PMC 7112663. PMID 21094184.
- ↑ "Clinical Educators Guide for the prevention and control of infection in healthcare". Australian National Health and Medical Research Council. 2010. p. 3. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-05. สืบค้นเมื่อ 2015-09-12.
- ↑ 5.0 5.1 La Rosa, Giuseppina; Fratini, Marta; Della Libera, Simonetta; Iaconelli, Marcello; Muscillo, Michele (2013-06-01). "Viral infections acquired indoors through airborne, droplet or contact transmission". Annali dell'Istituto Superiore di Sanità. 49 (2): 124–132. doi:10.4415/ANN_13_02_03. ISSN 0021-2571. PMID 23771256.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "FAQ: Methods of Disease Transmission". Mount Sinai Hospital (Toronto). สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Neeltjevan Doremalen, Dylan H.Morris, Myndi G.Holbrook et al.: Aerosol and Surface Stability of SARS-CoV-2 as Compared with SARS-CoV-1 The New England Journal of Medicine, April 2020.
- ↑ "Pass the message: Five steps to kicking out coronavirus". World Health Organization (ภาษาอังกฤษ). 2020-02-23. สืบค้นเมื่อ 2020-03-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 9.0 9.1 "Transmission-Based Precautions". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-01-07. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Prevention of hospital-acquired infections" (PDF). World Health Organization (WHO). p. 45. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2020.
- ↑ Gamage, B; Moore, D; Copes, R; Yassi, A; Bryce, E (2005-03-01). "Protecting health care workers from SARS and other respiratory pathogens: A review of the infection control literature". American Journal of Infection Control (ภาษาอังกฤษ). 33 (2): 114–121. doi:10.1016/j.ajic.2004.12.002. PMC 7132691. PMID 15761412.
- ↑ Hare, R. (1964-03-01). "The transmission of respiratory infections". Proceedings of the Royal Society of Medicine. 57 (3): 221–230. doi:10.1177/003591576405700329. ISSN 0035-9157. PMC 1897886. PMID 14130877.
- ↑ Wells, W. F. (1934). "On air-borne infection: study II. Droplets and droplet nuclei". American Journal of Epidemiology. 20 (3): 611–618. doi:10.1093/oxfordjournals.aje.a118097.
- ↑ Bourouiba, Lydia (2020-03-26). "Turbulent Gas Clouds and Respiratory Pathogen Emissions: Potential Implications for Reducing Transmission of COVID-19". JAMA (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1001/jama.2020.4756. ISSN 0098-7484. PMID 32215590.