ข้ามไปเนื้อหา

ระบบระบายอากาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในการพยายามอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังภายในชาเปลซิสตินให้คงอยู่ได้อีกเป็นระยะเวลานานทางวาติกันก็ได้ติดตั้งระบบการระบายอากาศใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดโดยเฉพาะสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว หรือความชื้นที่เกิดขึ้นทันที่เปิดให้นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกที่เข้ามาในห้องทุกเช้าและเมื่อกลุ่มสุดท้ายออกจากห้องในตอนบ่าย และอื่นๆ

ระบบระบายอากาศ (อังกฤษ: ventilation) คือการจัดระบบการถ่ายเทอากาศจากภายนอกอาคารเข้ามาภายในอาคาร ซึ่งไม่ควรจะสับสนกับคำว่า “ทางระบายอากาศ” (อังกฤษ: Vent หรือ flue) ที่ใช้ในอุปกรณ์เช่นเครื่องปั่นผ้าให้แห้ง หรือ เครื่องทำน้ำร้อน “ทางระบายอากาศ” นำอากาศที่เกิดจากการทำความร้อนที่จำเป็นต้องกำจัดที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพออกนอกอาคาร ส่วนการเคลื่อนย้ายของอากาศระหว่างอากาศภายในอาคารและไม่ใช่ภายนอกอาคารเรียกว่า “การขนถ่ายอากาศ” (อังกฤษ: transfer air)

“การระบายอากาศ” (อังกฤษ: Ventilation air) นิยามโดยสมาคมวิศวกรการทำความร้อน, การทำความเย็น และ การปรับอากาศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือมาตรฐานASHRAE 62.1[1] และ “คู่มือ ASHRAE[2] ว่าคือระบบการระบายอากาศที่ใช้สำหรับให้อากาศในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามคุณภาพอากาศภายใน (Indoor air quality หรือ IAQ)

เมื่อมีมนุษย์หรือสัตว์อยู่ภายในตัวอาคาร การระบายอากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องทำเพื่อกำจัดกลิ่นและลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และ มลสารพิษที่มากับอากาศเช่นฝุ่น ควัน และ สารอินทรีย์ไอระเหย (Volatile organic compound หรือ VOC) การระบายอากาศมักจะหมุนเวียนโดยการใช้อุปกรณ์ที่อาจะทำความร้อน, ความเย็น, ทำความชื้น หรือ ดูดความชื้นไปด้วยในขณะเดียวกัน นอกจากนั้นการเคลื่อนไหวของอากาศเข้ามาภายในตัวอาคารอาจจะเกิดจาก “การรุกเข้ามา” จากอากาศภายนอกที่ไม่อยู่ในการควบคุม หรือการใช้ “ระบบการระบายอากาศตามธรรมชาติ” ระบบการกรองอากาศที่ก้าวหน้าเช่น “การฟอก” (อังกฤษ: scrubbing) ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการระบายอากาศโดยการทำความสะอาดอากาศที่เสียและส่งบางส่วนกลับไปหมุนเวียนภายในตัวอาคาร

อ้างอิง

[แก้]
  1. ANSI/ASHRAE Standard 62.1, Ventilation for Acceptable Indoor Air Quality, ASHRAE, Inc., Atlanta, GA, USA
  2. The ASHRAE Handbook, ASHRAE, Inc., Atlanta, GA, USA

ดูเพิ่ม

[แก้]