ลอนดอนอาย

พิกัด: 51°30′12″N 0°07′11″W / 51.5033°N 0.1197°W / 51.5033; -0.1197
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลอนดอนอาย
London Eye
ลอนดอน อาย
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทชิงช้าสวรรค์
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมโมเดิร์น
เมืองสุดด้านตะวันตกของสวนจูบิลี่ริมฝั่งแม่น้ำเทมส์, ลอนดอน
ประเทศสหราชอาณาจักร
พิกัด51°30′12″N 0°07′11″W / 51.5033°N 0.1197°W / 51.5033; -0.1197
เริ่มสร้างค.ศ. 1998 - ค.ศ. 1999
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างเหล็ก
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกเดวิด มาร์ค
จูเลีย บาร์ฟีลด์
มัลคอล์ม คุก
มาร์ค สแปร์โรว์ฮอว์ก
สตีเฟน ชิลตัน
นิค เบลีย์
เว็บไซต์

ลอนดอนอาย (อังกฤษ: London Eye) หรือยังรู้จักในชื่อ มิลเลเนียมวีล (อังกฤษ: Millennium Wheel) เป็นชิงช้าสวรรค์ที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 135 เมตร (443 ฟุต) และกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างมากในสหราชอาณาจักร มีผู้มาเยือนมากกว่า 3 ล้านคนต่อปี ส่วนบัตรเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่อยู่ที่ 15 ปอนด์ต่อคน ซึ่งในอดีตเคยเป็นชิงช้าสวรรค์ก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก ก่อนจะถูกชิงตำแหน่งไปจากชิงช้าสวรรค์ เดอะ สตาร์ ออฟ นานชาง ในประเทศจีน (160 เมตร) ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 ต่อมาภายหลังตำแหน่งตกเป็นของ สิงคโปร์ฟลายเออร์ ในประเทศสิงคโปร์ (165 เมตร) ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 อย่างไรก็ตาม ลอนดอน อาย ก็ยังคงได้รับตำแหน่งจากการให้บริการว่า "ชิงช้าสวรรค์ที่ก่อสร้างด้วยโครงเหล็กค้ำข้างเดียวที่สูงที่สุดในโลก" (เพราะการโครงสร้างทั้งหมดใช้โครงค้ำเหล็กรูปตัว A ในการให้บริการโดยใช้โครงค้ำเพียงแค่ด้านเดียวเท่านั้นไม่เหมือนชิงช้าสวรรค์อื่นๆ ทั่วไป ที่มีโครงค้ำสองข้าง)

ลอนดอน อาย ตั้งอยู่ ณ ที่ฝั่งสุดด้านตะวันตกของสวนจูบิลี่ บนริมฝั่งทางใต้ของแม่น้ำเทมส์ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ระหว่างสะพานเวสต์มินสเตอร์กับสะพานฮันเกอร์ฟอร์ด โดยสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของโดมแห่งการค้นพบ ที่เคยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานนิทรรศการเฟสติวัล ออฟ บริเตน ในปี ค.ศ. 1951

การเดินทาง[แก้]

สถานีรถไฟของบริษัทการรถไฟแห่งสหราชอาณาจักรที่ใกล้ที่สุด ได้แก่

  • สถานีรถไฟวอเตอร์ลู
  • สถานีแชริงครอส

สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินกรุงลอนดอน ได้แก่

  • สถานีเอ็มแบงก์เมนต์
  • สถานีวอเตอร์ลู
  • สถานีเวสต์มินสเตอร์

เรือประจำทางเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่

  • ท่าวอเตอร์ลู

สมุดภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]