ราจา ซาริต โซเฟียะฮ์
ราจา ซาริต โซเฟียะฮ์ راجا زاريث صوفية | |
---|---|
สมเด็จพระราชินีเเห่งมาเลเซีย พระมเหสีแห่งรัฐยะโฮร์ | |
ราจาเปอร์ไมซูรีอากง | |
ดำรงพระยศ | 31 มกราคม ค.ศ. 2024 – ปัจจุบัน |
ก่อนหน้า | ตุนกู อาซีซะฮ์ อามีนะฮ์ |
เปอร์ไมซูรีแห่งรัฐยะโฮร์ | |
ดำรงพระยศ | 23 มกราคม ค.ศ. 2010 – ปัจจุบัน |
ราชาภิเษก | 23 มีนาคม ค.ศ. 2015 |
พระราชสมภพ | รัฐเประ สหพันธรัฐมาลายา ราจา ซาริต โซเฟียะฮ์ บินตี ราจา อิดริซ ชะฮ์ | 14 สิงหาคม ค.ศ. 1959
คู่อภิเษก | สมเด็จพระราชาธิบดีอิบราฮิม อิซมาอิลแห่งยะโฮร์ (สมรส 1982) |
พระราชบุตร |
|
ราชวงศ์ | เตอเมิงกุง (อภิเษกสมรส) เซียก-เปรัก (พระราชสมภพ) |
พระราชบิดา | สุลต่าน อิดริส อัล-มูตาวัคคิล อัลลาลาฮ์ ชาห์ที่ 2 |
พระราชมารดา | ราจา เปเรมปวน มุซวิน |
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนี |
สมเด็จพระราชินีซาริต โซเฟียะฮ์ บินตี อัลมาร์ฮุม ซุลตัน อิดริซ ชะฮ์ ราจาเปอร์ไมซูรีอากง (มลายู: راجا زاريث صوفية بنت المرحوم سلطان إدريس شاه) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2502 ทรงเป็นราจาเปอร์ไมซูรีอากง (สมเด็จพระราชินี) แห่งมาเลเซียพระองค์ปัจจุบัน และเปอร์ไมซูรี (พระมเหสี) แห่งรัฐยะโฮร์
พระราชประวัติ
[แก้]พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1959 ณ โรงพยาบาล Batu Gajah รัฐเประ ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์รองใน สุลต่าน อิดริส อัล-มูตาวัคคิล อัลลาลาฮ์ ชาห์ที่ 2 แห่งรัฐเประ และ ราจา เปเรมปวน มุซวิน [1][2]
การศึกษา
[แก้]พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาจีนวิทยา จาก มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในปี ค.ศ. 1983 และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ในปี ค.ศ. 1986 [1][2][3]
อภิเษกสมรส
[แก้]ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1982 ทรงอภิเษกสมรสกับ ตุนกูอิบราฮิม อิซมาอิล มกุฎราชกุมารแห่งรัฐยะโฮร์ (พระอิสริยยศในขณะนั้น)[4] หลังการอภิเษกสมรส จึงทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารีแห่งรัฐยะโฮร์
หลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีอิซกันดาร์ สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ ในวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2010 พระราชสวามีของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เป็น สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ พระองค์จึงทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระชายาในสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ และได้รับการสถาปนาเป็นประไหมสุหรี (สมเด็จพระราชินี) แห่งรัฐยะโฮร์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2015[5]
พระองค์ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสิ้น 6 พระองค์ ดังนี้ [6]
- ตุนกูอิซมาอิล อิดริซ มกุฎราชกุมารแห่งรัฐยะโฮร์ (ประสูติ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1984)
- ตุนกูอามีนะฮ์ ไมมูนะฮ์ อิซกันดาเรียะฮ์ (ประสูติ 8 เมษายน ค.ศ. 1986)
- ตุนกูอิดริซ อิซกันดาร์ (ประสูติ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1987)
- ตุนกูอับดุล จาลิล (ประสูติ 5 กรกฎาคท ค.ศ. 1990; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 2015)
- ตุนกูอับดุล ระฮ์มัน (ประสูติ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993)
- ตุนกูอาบู บาการ์ (ประสูติ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2001)
สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย
[แก้]หลังการขึ้นครองราชสมบัติของสุลต่านอิบราฮิม อิซมาอิล พระราชสวามี เป็น ยังดีเปอร์ตวนอากง หรือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย พระองค์ที่ 17 เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2024 พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น ราจาเปอร์ไมซูรีอากง หรือ สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ ราจา ซาริต โซเฟียะฮ์ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าละอองพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Biography for Raja Zarith Sofiah Ibni Sultan Idris Al Mutawakkil Alallahi Shah". SiloBreaker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2011.
- ↑ 2.0 2.1 "D.Y.M.M Sultan Johor". Government of Johor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2011.
- ↑ Lim, Teck Ghee (18 พฤศจิกายน 2010). "Royalty Extraordinaire". Centre of Policy Initiatives. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2011.
- ↑ "Sultan Ibrahim Ismail of Johor". JBDirectory.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2011.
- ↑ Rizalman Hammim (5 September 2017). His Majesty has graciously consented Her Royal Highness the Permaisuri Johor Raja Zarith Sofiah Sultan Idris Shah be addressed as ‘Her Majesty New Straits Times.
- ↑ "Johor". Genealogical Gleanings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2011.