รองเท้านารีปีกแมลงปอ
รองเท้านารีปีกแมลงปอ | |
---|---|
ดอกของรองเท้านารีปีกแมลงปอ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
อันดับ: | Asparagales |
วงศ์: | Orchidaceae |
วงศ์ย่อย: | Cypripedioideae |
สกุล: | Paphiopedilum |
สปีชีส์: | P. sukhakulii |
ชื่อทวินาม | |
Paphiopedilum sukhakulii Schoser & Senghas | |
ชื่อพ้อง | |
Paphiopedilum sukhakulii f. aureum Van Delden ex O.Gruss |
รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล เป็นกล้วยไม้ถิ่นเดียวในสกุลรองเท้านารี พบได้เพียงในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น ค้นพบครั้งแรกโดย ประสงค์ สุขะกูล ในปี พ.ศ. 2507
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]ต้นสูง 10-15 ซม. ใบเดี่ยวออกสลับ ใบรูปขอบขนาน ยาว 10-12 ซม.กว้าง 2.5-3 ซม. ปลายแหลม มีหยักแหลมตื้น แผ่นใบด้านบนสีเขียวแก่สลับเขียวอ่อน ด้านล่างสีเขียวอ่อนอมเทา โคนซ้อนกัน ก้านช่อดอกสูง 18-30 ซม. ดอกออกเดี่ยวที่ปลายก้านยาว กลีบเลี้ยงด้านบนรูปหัวใจ ปลายแหลม สีขาว และมีเส้นเขียวพาดตามยาว กลีบเลี้ยงด้านล่าง 2 กลีบเชื่อมกันและแคบ กลีบดอกด้านข้างรูปขอบขนานปลายเรียว สีเขียวอ่อน และมีเส้นสีเขียวเข้มพาดตามความยาว มีจุดสีม่วงอมน้ำตาลทั่วกลีบ ขอบมีขนสีน้ำตาล กลีบกระเป๋ารูปรองเท้า ปลายสีเขียวเหลือบ โคนสีม่วงอมน้ำตาล มีเส้นสีม่วงเป็นตาข่ายกระจายทั่วไป ออกดอกเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ถิ่นอาศัย
[แก้]พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย บนภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1000-1500 เมตร
อ้างอิง
[แก้]- กล้วยไม้เมืองไทย, รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน, หน้า 42-43