รถจักรดีเซล DD51
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
รถจักรดีเซล DD51 | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
DD51 1027 เมื่อตุลาคม 2007 | |||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
|
DD51เป็นรถจักรดีเซลไฮดรอลิคที่ประจำการอยู่ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
ภาพรวม
[แก้]ในการที่ลดการใช้รถจักรไอน้ำจากเส้นทางรถไฟหลัก การรถไฟญี่ปุ่นจึงได้มีการผลิตรถจักรDD51เป็นจำนวน649คันระหว่างปีพ.ศ. 2505ถึงปีพ.ศ. 2521 หลังจากที่รถจักรได้เริ่มเข้าประจำการ ทางการรถไฟก็ได้ทดลองพัฒนารถจักรสำหรับใช้ในเส้นทางหลัก และเส้นทางย่อยเช่น DD54 หรือDE50 แต่ก็ไม่ได้ผลิตในจำนวนมากเนื่องจากการที่ต้องที่จะทำให้รถจักรมีรูปแบบเป็นมาตราฐาน DD51นั้นถูกใช้ทั่วประเทศยกเว้นเกาะชิโกคุ ณ จุดที่ประจำการมากที่สุด แต่ต่อมาได้มีการติดตั้งระบบไฟฟ้าแพร่หลายทั่วญี่ปุ่น และการประจำการรถไฟEMU ทำให้บทบาทรถจักรลดลง ในปีพ.ศ. 2530การรถไฟญี่ปุ่นยุบแล้วเปลี่ยนเป็นบริษัทเจอาร์ DD51ประมาณ3ใน5ก็ถูกปลดประจำการแล้ว หลังจากนั้นจำนวนขบวนรถไฟที่ใช้รถจักรลากก็ยิ่งลดลงอย่างมาก และกับการที่มีการผลิตรถจักรที่ใหม่มากขึ้นเช่นDF200 ทำให้รถจักรDD51ถูกปลดประจำการไปเป็นจำนวนมาก แต่ว่าในทางตอนใต้ของเกาะฮอนชูขาดแคลนรถจักร JRFจึงได้ยืดเวลาการปลดประจำการของรถจักรDD51ที่ยังประจำการอยู่ในปัจจุบัน
การยุบJNR
[แก้]หลังจากการยุบการรถไฟญี่ปุ่น DD51ที่ยังประจำการอยู่ในตอนนั้นได้แบ่งรถจักรตามบริษัทเจอาร์ตามนี้[3]
- JR Hokkaido จำนวน 25คัน
- JR East จำนวน 29คัน
- JR Central จำนวน 4คัน
- JR West จำนวน 63คัน
- JR Kyushu จำนวน 1คัน
- JR Freight จำนวน137คัน
ความแตกต่างระหว่างรุ่น
[แก้]รถจักรDD51มีรุ่นย่อยได้แก่รุ่น0,500,800และ1000 รุ่น500,800และ1000มีสายจัมเปอร์รุ่นKE70ติดตั้งไว้หน้ารถ รถจักรหมายเลข501ถึง799และ1001ถึง1186สามารถทำขบวนพหุได้ รถจักรหมายเลข800ถึง899กับ1801ถึง1805ไม่มีเครื่องผลิตไอน้ำสำหรับความอุ่นในตัวรถ รุ่น0ถูกปลดระวางหมดก่อนการรถไฟญี่ปุ่นจะถูกยุบ
-
รถจักรDD51หมายเลข1
-
DD51รุ่น500หมายเลข759
-
DD51รุ่น500สียูโรไลเนอร์
-
DD51รุ่น800หมายเลข842ทำขบวนพระที่นั่ง
-
DD51 889สีJRF
-
DD51-1000หมายเลข1146สีJRF
-
DD51 1187ทำขบวนอิซูโมะ
-
DD51 1166สีJRFใหม่
-
DD51 1137ทำขบวนฮกกุโตเซะ
-
DD51 1068ทำขบวนยูเมะคูกัง
ศูนย์ที่ประจำ
[แก้]ศูนย์ฮาโกะดาเตะ
[แก้]เป็นศูนย์ที่รถจักรDD51ของJRฮอกไกโดทุกคันประจำอยู่ซึ่งเป็นศูนย์ที่ใช้ลากขบวนโฮกูโตเซ,ขบวนคาสิโอเปีย,ขบวนทไวไลท์ เอ็กเพรซและขบวนฮามานาซุ โดยป้ายศูนย์ที่ติดข้างรถคือ函ซึ่งย่อมาจากคำว่าฮาโกะดาเตะ และ重ซึ่งแปลว่าหนัก เนื่องจากสมัยJNRนอกจากศูนย์ฮาโกะดาเตะ มีศูนย์คูชิโระและศูนย์อาซาฮิกาว่าด้วยซึ่งรถที่ประจำการนั้นเป็นรุ่นที่น้ำหนักน้อยกว่าจึงมีอีกตัวอักษรคือ半 ซึ่งแปลว่าครึ่ง ในปัจจุบันไม่มีDD51วิ่งในฮอกไกโดแล้ว
ศูนย์ทากาซากิ
[แก้]เป็นศูนย์สุดท้ายของJRตะวันออกที่มีรถจักรDD51ซึ่งไม่ได้วิ่งตามตารางเหลือเพียงหมายเลข842และ895 ใช้ตัวย่อว่า高
ศูนย์ไอจิ
[แก้]เป็นศูนย์สุดท้ายที่มีDD51ประจำการอยู่ของJRเฟรท ซึ่งปัจจุบันรถจักรที่ศูนย์นี้ยังวิ่งตามารางอยู่ ใช้ตัวย่อว่า愛
ศูนย์อะโบชิแขวงโยโดกาวะ
[แก้]เป็นศูนย์ของJRตะวันออกที่มีรถจักรDD51ซึ่งไม่ได้วิ่งตามตารางมีรถจักรที่ประจำการอยู่หมายเลข1109,1183,1191,1192และ1193ใช้ตัวย่อว่า宮
รถสำหรับภูมิภาคที่หนาว
[แก้]แบบA
[แก้]สำหรับภูมิภาคที่หนาวมากเช่นเกาะฮอกไกโด จะมีการติดตั้งเบรกที่ทนทานต่อความหนาว,หน้าต่างที่ปัดหิมะและตะแกรงกั้นหิมะ
แบบB
[แก้]สำหรับภูมิภาคที่หนาวติดตั้งตามแบบAแต่ไม่ใช้เบรกที่ทนทานต่อความหนาว พบได้ในเขตชูโกคุและสานิน
ปัจจุบัน
[แก้]ญี่ปุ่น
[แก้]JRเฟรทเป็นบริษัทเดียวที่ยังคงวิ่งประจำตามตารางคือDD51ศูนย์ไอจิ ส่วนของJRตะวันออกและJRตะวันตก มีไว้ทำขบวนจัดเฉพาะซึ่งไม่วิ่งตามกำหนดการ[4]
ไทย
[แก้]ภายหลังจากการยกเลิกขบวนฮามานาซุและขบวนคาสิโอเปีย ทางJR ฮอกไกโดได้ปลดประจำการDD51ทั้งหมดโดยบริษัทAS Associated Engineeringจำกัดได้นำDD51สองหัวหมายเลขDD51 1137และ1142อดีตประจำการศูนย์ฮาโกดาเตะที่จอดทิ้งไว้ที่ย่านมูโรรังมาregaugeและมาช่วยโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Miyahara, Masakazu, บ.ก. (December 2016). 国鉄最終章LAST (鉄道ジャーナル2017年2月号別冊) [JNR - The Final Chapter (Railway Journal February 2017 Extra issue)]. Tetsudō Jānaru = Railway Journal (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: Railway Journal: 34–35. ASIN B01N59AJPB. ISSN 0288-2337.
- ↑ Ishii, Yoshitaka (2004). Dd51物語: 国鉄ディーゼル機関車2400両の開発と活躍の足跡 DD51物語 [The DD51 Story]. Tokyo, Japan: JTB Can Books. ISBN 978-4-533-05661-1.
- ↑ Miyahara, Masakazu, ed. (December 2016). 国鉄最終章LAST (鉄道ジャーナル2017年2月号別冊) [JNR – The Final Chapter (Railway Journal February 2017 Extra issue)] (in Japanese). Japan: Railway Journal. p. 34–35.
- ↑ 『JRตารางเดินรถสินค้า(ภาษาญี่ปุ่น)ปี2019 機関車配置表(2019年3月16日現在) - 鉄道貨物協会.