ข้ามไปเนื้อหา

ยูเดวิต กาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเดวิต กาย
ภาพวาดของกาย ประมาณ ค.ศ. 1875
เกิดลูทวิช กาย
8 สิงหาคม ค.ศ. 1809(1809-08-08)
กราปินา ราชอาณาจักรโครเอเชีย จักรวรรดิออสเตรีย
เสียชีวิต20 เมษายน ค.ศ. 1872(1872-04-20) (62 ปี)
ซาเกร็บ ราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
สุสานสุสานเมืองมิรอกอย ซาเกร็บ ประเทศโครเอเชีย
อาชีพ
  • นักการเมือง
  • นักข่าว
  • นักเขียน
  • นักภาษาศาสตร์
มีชื่อเสียงจากชุดตัวอักษรละตินของกาย
ขบวนการขบวนการอิลลิเรียน
คู่สมรสเปาลินา กริซมานิช (สมรส 1842)
บุตร5 คน

ยูเดวิต กาย (โครเอเชีย: Ljudevit Gaj, ออกเสียง: [ʎûdeʋit ɡâːj]); ชื่อเกิด ลูทวิช กาย (เยอรมัน: Ludwig Gay;[1][2]) กาย ลอโยช (ฮังการี: Gáj Lajos; 8 สิงหาคม ค.ศ. 1809 – 20 เมษายน ค.ศ. 1872) เป็นนักการเมือง นักเขียน นักภาษาศาสตร์ นักหนังสือพิมพ์ชาวโครเอเชีย เขาเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของ ขบวนการอิลลิเรียน ที่มีบทบาทสําคัญในการฟื้นฟูแนวคิดชาตินิยมสลาฟ

ชีวประวัติ

[แก้]
ภาพพิมพ์หินของยูเดวิต กาย โดย อันเดรอัส ชเตาพ์ ในปี ค.ศ. 1830

ชีวิตในช่วงต้น

[แก้]

ยูเดวิต กาย เกิดที่ เมืองกราปินา มณฑลวาราชดีน ภายใต้การปกครองของ ราชอาณาจักรโครเอเชีย แห่ง จักรวรรดิออสเตรีย ในปี ค.ศ. 1809[3] มีบิดาชื่อว่า โยฮันน์ กาย (Johann Gay) เป็นชาวเยอรมันที่มีพื้นเพเดิมมาจาก ราชอาณาจักรฮังการี ส่วนมารดาชื่อว่า ยูเลียนา ชมิท (Juliana Schmidt) เป็นบุตรสาวของกลุ่มผู้อพยพชาวเยอรมันที่เดินทางมาถึงเมืองกราปินาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1770[4][5] พื้นเพเดิมของตระกูลกายเป็นชาวอูว์เกอโน มาจากแคว้นบูร์กอญ ของประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน โดยอพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่ใน เมืองบาติซอวเช ราชอาณาจักรฮังการี (ปัจจุบันตั้งอยู่ใน ประเทศสโลวาเกีย) ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 16 หรือ 17 ส่งผลให้พวกเขากลายเป็นทาสติดที่ดินของ ตระกูลมาริอัสซี เดอ มาร์กุสฟัลวา และ ตระกูลบาติซฟัลวา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากในบริเวณนั้นมีประชากรเชื้อสายเยอรมันอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ตระกูลกายก็ถูกกลืนให้กลายเป็นชาวเยอรมัน จนกระทั่งในภายหลังครอบครัวฝั่งพ่อของกายได้ย้ายเข้าไปอาศัยอยู่ที่ หมู่บ้านมาร์กุชอวเช[6]

ครอบครัวของเขาพูด ภาษาเยอรมัน เป็นภาษาหลัก แต่แม่ของเขาก็สอน ภาษากายกาเวียน ซึ่งเป็นภาษาถิ่นในกลุ่มภาษาสลาฟใต้ให้กับเขาด้วย กายเข้าเรียนมัธยมปลายใน เมืองกราปินา เมืองวาราชดิน และ เมืองการ์ลอวัตส์ ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่เป็นเป็นบ้านเกิดของเขา จนกระทั่งได้เข้าศึกษาต่อทางด้านวิชาปรัชญาใน กรุงเวียนนา และที่ เมืองกราทซ์ ในปี ค.ศ. 1826 (จบการศึกษาในปี ค.ศ. 1928) และก็ได้ลงทะเบียนเรียนทางด้านกฎหมายที่ เมืองเปชต์ ในปี ค.ศ. 1829 เวลาต่อมา[7]

บทบาทในฐานะนักเขียนและการก่อตั้งวารสาร

[แก้]

ลูเดวิต กาย เริ่มเผยแพร่งานเขียนของเขาชิ้นแรกเป็นหนังสือเล่มขนาดเล็ก 36 หน้าเกี่ยวกับคฤหาสน์ชนบทในเขตบ้านเกิดของเขา เขียนเป็น ภาษาเยอรมัน ชื่อว่า Die Schlösser bei Krapina[8][9] ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1826

จนในปี ค.ศ. 1830 เขาได้ตีพิมพ์ผลงานเป็นหนังสือเล่มขนาดเล็กชื่อว่า Kratka osnova horvatsko-slavenskoga pravopisaňa ณ เมืองบูดอ เป็นหนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับระบบการเขียนของ กลุ่มภาษาสลาฟใต้ ด้วยชุดตัวอักษรละติน โดยระบุหลักการเขียนไว้เป็นแบบสองภาษา (ได้แก่ ภาษาโครเอเชีย และ ภาษาเยอรมัน) จนกระทั่งเมื่อหนังสือกลายเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ระบบการเขียนดังกล่าวจึงได้ถูกตั้งชื่อว่า ชุดตัวอักษรละตินของกาย ระบบการเขียนดังกล่าวได้รับอิทธิพลมาจากในงานเขียนของ ปาเวล วิเตซอวิช (Pavel Vitezović) ระบบการเขียนใน ภาษาเช็ก ในช่วงแรกระบบการเขียนดังกล่าวยังไม่ลงตัวมากนัก จนกระทั่งในเวลาต่อมากายก็ได้ทำการปรับปรุงระบบการเขียนขึ้นใหม่ โดยใช้ตัวอักษรละตินหนึ่งตัวสำหรับแทนแต่ละหน่วยเสียงเฉพาะ รวมถึงใช้ เครื่องหมายเสริมสัทอักษร กับ ทวิอักษร เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น lj และ nj

Kratka osnova horvatsko-slavenskoga pravopisaňa (ค.ศ. 1830)

ผลงานดังกล่าวทำให้เขามีชื่อเสียงอย่างรวดเร็ว หนังสือเล่มขนาดเล็กจำนวน 27 หน้านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการฟื้นฟูแนวคิดชาตินิยมโครเอเชียในเวลาต่อมา[10] ในต้นปี ค.ศ. 1832 กายได้เดินทางเข้ามาทำงานทางด้านกฎหมายที่เมืองซาเกร็บ และได้รับปริญญาเอกทางด้านสาขาวิชาปรัชญา ในปี ค.ศ. 1834เมืองไลพ์ซิช ประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน[7]

ในช่วงปี ค.ศ. 1830 เป็นช่วงที่กระแสชาตินิยมใน กลุ่มชาวสลาฟใต้ เริ่มปรากฏเห็นชัดขึ้น กายได้เดินทางก็กลับไปยังบ้านเกิดของเขา และริเริ่มก่อตั้งนิตยสารภาษาสลาฟขึ้นในปี ค.ศ. 1835 โดยได้รับพระบรมราชานุญาตจาก สมเด็จพระจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ให้ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์เป็น ภาษาถิ่นโครเอเชีย-แดลเมเชีย หลังจากที่เคยมีความพยายามมาก่อนหน้านั้นแล้วในยุคของ จูรอ มาติยา ชปอเรอร์ (Đuro Matija Šporer) ระบบการเขียนของกายเป็นแม่แบบให้กับระบบการเขียนของกลุ่มภาษาสลาฟใต้กลุ่มต่าง ๆ อย่างการใช้ ชุดตัวอักษรละติน ประกอบกับ เครื่องหมายเสริมสัทอักษร ระบบดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับระบบการเขียนของ กลุ่มภาษาสลาฟตะวันตก เช่น ภาษาโบฮีเมีย หรือ ภาษาโปแลนด์ ส่งผลให้อัตราการรู้หนังสือกลุ่มประชากรชาวสลาฟใต้มีมากยิ่งยิ่งขึ้น

นอกจากกายจะตีพิมพ์นิตยสารที่ชื่อว่า Nowine horvazke แล้ว เขายังได้ตีพิมพ์นิตยสารข่าวบันเทิงชื่อว่า Danica horvazka อีกด้วย แต่ก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Ilirske narodne novine ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1836 และ Danica ilirska ในปี ค.ศ. 1838 ตามลำดับ เนื่องจากนักประวัติศาสตร์ในเวลานั้นตั้งสมมติฐานว่า ชาวอิลลีเรียน เป็นชาวสลาฟ และเป็นบรรพบุรุษสายตรงของกลุ่มชาวสลาฟใต้ในปัจจุบัน นิตยสารดังกล่าวตีพิมพ์เป็นแบบราย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ความนิยมของนิตยสารส่งผลให้ระบบการเขียนของกายได้รับการยอมรับจากกลุ่มชาวสลาฟใต้ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเกือบทั้งหมด (ส่วนใหญ่เป็น ชาวโครแอต และ ชาวสโลวีเนีย) รวมถึงยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาวรรณกรรมของชาวสลาฟใต้ ให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้นอีกด้วย

นอกเหนือจากงานทางด้านวารสารแล้ว กายยังประพันธ์บทกวีอีกด้วย ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขามีชื่อว่า โครเอเชียยังไม่ถูกทำลาย (Još Hrvatska ni propala) ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1833

การเสียชีวิต

[แก้]

ในปีสุดท้ายของชีวิต กายอาศัยอยู่ที่ เมืองซาเกร็บ เมืองหลวงของ ราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย แห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และเสียชีวิตที่บริเวณโรงพิมพ์ของเขาซึ่งตั้งอยู่บน ถนนชิริลอเมตอดสกา ศพของเขาถูกทำพิธีฝังไว้ที่ สุสานยูร์เยฟสกี เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1885 รวมสิริอายุ 62 ปี[3] จนกระทั่งหลังจากที่การก่อสร้างสุสานเมืองมิรอกอย ในเมืองซาเกร็บเสร็จสิ้น ศพของเขาก็ถูกย้ายไปทำพิธีใหม่ที่นั่นอีกครั้ง[11]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

กายแต่งงานกับ เปาลินา กริซมานิช (Paulina Krizmanić) หลานสาววัย 26 ปีของเจ้าอธิการอารามประจำเมืองมาริยา บิสตริกา (Marija Bistrica) เมื่อปี ค.ศ. 1842 พวกเขามีบุตรด้วยกันรวมทั้งหมดห้าคน บุตรสาวชื่อ ยูบอสลาวา (Ljuboslava) ส่วนบุตรชายมีชื่อว่า เวลิมีร์ (Velimir) สเตตอสลาฟ (Svetoslav) มิลิวอเย (Milivoje) และ บอกดัน (Bogdan)[12]

ผลงาน

[แก้]
  • Die Schlösser bei Krapina sammt einem Anhange von der dortigen Gegend in botanischer Hinsicht, Karlovac, 1826.
  • Kratka osnova horvatskoga - slavenskoga pravopisaňa, poleg mudroľubneh, narodneh i prigospodarneh temeľov i zrokov = Kurzer Entwurf einer kroatisch = slavischen Orthographie nach philosophischen, nazionälen und ökonomischen Grunjdsätzen, iz tiskarnice Kralevskoga Vseučilišta, Budim, 1830. (Faksimilno izd. Međunarodni slavistički centar SR Hrvatske - Sveučilišna naklada Liber - Nacionalna i sveučilišna biblioteka, Zagreb, 1983.)
  • Na grobu poglavitoga i preizvishenoga horvatzkoga domorodca gozpodina Henrika Mixicha od Dolnyega Lukavca, ... koteri na veliku salozt verneh trojjedne domovine szinov 18. proszinca 1832 vu cvétu sitka szvoga preminushe, iz szlovotizke Ferenca Suppana, Zagreb [1832.]
  • Szlavoglaszje iz Zagorja preizvishenomu i viszokopoglavitomu gozpodinu Stefanu Osegovichu od Barlabassevca ... kakti trojjednoga Kraljeztva dalmatinzkoga, horvatzkog i szlavonzkoga ter viszoke chazti banzke mestru pervobilesniku: vu orszachkom zjedinjenih treh Kraljeztv Zbora v Zagrebu 24 rosnjaka 1832 zebranomu, Pritizkano pri Francu Suppanu, Zagreb, 1832.
  • Kosenke ilirske, Pritiskano pri Franji Suppanu, Zagreb, 1835.
  • Sbirka nekojih rěčih, koje su ili u gornjoj ili u dolnjoj Ilirii pomanje poznane, (trudom i troškom c. kr. priv. narodne novinarnice ilirske.), Zagreb, 1835.
  • Proglas: [Teče evo dvadeset i osma godina, kako smo s Narodnim novinama i Danicom ...], Tiskom dra. Ljudevita Gaja, Zagreb, 1862.
  • Gedanken zum Ausgleich Croatiens und Slavoniens mit der Regierung, Narodna tiskarnica dra. Ljudevita Gaja, Zagreb, 1864.
  • Gajuša: izbor iz "Narodnoga blaga" Ljudevita Gaja / [sakupio] Ljudevit Gaj, prir. Nikola Bonifačić Rožin, Yugodidacta, Zagreb, 1973

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hauser, Otto (1915). Die Lyrik des Auslands seit 1800. Leipzig: R. Voigtländer. p. 160.
  2. Ognjenović, Gorana; Jozelić, Jasna (2014). Politicization of Religion, the Power of State, Nation, and Faith: The Case of Former Yugoslavia and its Successor States. Palgrave Macmillan. p. 81. ISBN 9781137477866.
  3. 3.0 3.1 Milorad Živančević (1971). Živan Milisavac (บ.ก.). Jugoslovenski književni leksikon [Yugoslav Literary Lexicon] (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Novi Sad (SAP Vojvodina, SR Serbia): Matica srpska. pp. 128–129.
  4. Traian Stoianovich (1994). Balkan Worlds: The First and Last Europe. M.E. Sharpe. p. 282. ISBN 9780765638519.
  5. Discourses of collective identity in Central and Southeast Europe (1770–1945), Vol. 2, by Balázs Trencsényi and Michal Kopeček
  6. Horvat, Josip. Politička povijest Hrvatske 1. August Cesarec, Zagreb, p. 49
  7. 7.0 7.1 Gaj, Ljudevit, enciklopedija.hr, pristupljeno 20. rujna 2019.
  8. "Die Schloesser bei Krapina". Koha Online Catalog: ISBD View. Library of the Faculty of Philosophy, Zagreb. UDC: 94(497.5)-2. สืบค้นเมื่อ 2013-03-13.
  9. Đuro Šurmin (1904). Hrvatski Preporod. p. 121. ISBN 9781113014542. สืบค้นเมื่อ 2013-03-13.
  10. Djela Ljudevita Gaja[ลิงก์เสีย], db.nsk.hr, pristupljeno 20. rujna 2019.
  11. Mirogoj - Galerija spomenika preminulima, hismus.hr, pristupljeno 11. listopada 2019.
  12. "Krapinski Vjesnik". Godina VI. Broj 58. Studeni 2009. ISSN 1334-9317