ยุทธนาวีนาวาริโน
ยุทธนาวีนาวาริโน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามประกาศเอกราชกรีซ | |||||||
ยุทธนาวีนาวาริโน (1827) จิตกรรมสีน้ำมันโดย Garneray | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ราชอาณาจักรฝรั่งเศส จักรวรรดิรัสเซีย | จักรวรรดิออตโตมัน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Edward Codrington Henri de Rigny Lodewijk Heyden |
Ibrahim Pasha Amir Tahir Pasha Capitan Bey | ||||||
กำลัง | |||||||
เรือในกระบวนรบ 10 ลำ เรือฟริเกต 10 ลำ เรือใบบริก 4 ลำ, เรือใบสกูเนอร์ 2 ลำ |
เรือในกระบวนรบ 3 ลำ เรือฟริเกต 17 ลำ เรือคอร์เวต 30 ลำ เรือใบบริก 28 ลำ, เรือใบสกูเนอร์ 5 ลำ, Fireship 5/6 ลำ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ตาย 181 นาย ได้รับบาดเจ็บ 480 นาย | ตายหรือได้รับบาดเจ็บ 4,109 นาย |
ยุทธนาวีนาวาริโน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1827 ระหว่างสงครามประกาศเอกราชกรีซ (1821–32) ในอ่าวนาวาริโน (ไพลอสปัจจุบัน) ริมฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรเปโลปอนนีส ในทะเลไอโอเนียน
กองเรือรบใหญ่ของออตโตมัน ซึ่ง นอกจากเรือรบจักรวรรดิแล้ว ยังรวมกองเรือจากจังหวัดอียิปต์ ตูนิสและแอลเจียร์ ถูกทำลายโดยกำลังพันธมิตรอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย เป็นยุทธนาวีสำคัญที่สู้รบโดยใช้เรือกำปั่น (sailing ship) ทั้งหมดเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ แม้ว่าเรือส่วนใหญ่จะสู้รบขณะยังจอดทอดสมออยู่ก็ตาม ชัยชนะของพันธมิตรได้มาเพราะอำนาจการยิงและการปืนที่เหนือกว่า
ปัจจัยสำคัญซึ่งตกผลึกการเข้าแทรกแซงของมหาอำนาจทั้งสามในความขัดแย้งกรีซ คือ ความทะเยอทะยานของจักรวรรดิรัสเซียที่จะขยายดินแดนในภูมิภาคทะเลดำด้วยการสละจักรวรรดิออตโตมันและการสนับสนุนทางอารมณ์แก่ชาวกรีกที่นับถือนิกายออร์โธด็อกซ์เช่นเดียวกับรัสเซีย ซึ่งกบฏต่อผู้ปกครองออตโตมันใน ค.ศ. 1821 เจตนาของรัสเซียในภูมิภาคถูกชาติยุโรปอื่น ๆ มองว่าเป็นภัยคุกคามทางภูมิยุทธศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเกรงการสลายของจักรวรรดิออตโตมันและการสถาปนาการครองความเป็นใหญ่ของรัสเซียในคาบสมุทรบอลข่านและตะวันออกใกล้ เป็นการชักนำให้บริเตนใหญ่และฝรั่งเศสผูดมัดรัสเซียในการแทรกแซงร่วมเพื่อประกันอัตตาณัติของกรีซในแบบที่ยังรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนของออตโตมันไว้อยู่
ทั้งสามตกลง โดยสนธิสัญญาลิสบอน (ค.ศ. 1827) ที่จะบังคับให้รัฐบาลออตโตมันให้อัตตาณัติแก่ชาวกรีกภายในจักรวรรดิและส่งกองเรือไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกเพื่อบังคับใช้นโยบายของพวกตน ยุทธนาวีดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นอุบัติเหตุมากกว่ามีจุดประสงค์ โดยเป็นผลของการดำเนินกลยุทธ์โดยผู้บัญชาการสูงสุดพันธมิตร พลเรือเอกเอ็ดเวิร์ด คอดริงตัน ซึ่งมุ่งหมายเพื่อบีบบังคับผู้บัญชาการของออตโตมันให้เชื่อฟังคำสั่งของฝ่ายพันธมิตร
การจมกองเรือเมดิเตอร์เรเนียนของออตโตมันช่วยสาธารณรัฐกรีกที่ยังอายุน้อยมิให้ล่มสลาย แต่ต้องใช้การแทรกแซงทางทหารอีกสองครั้ง โดยรัสเซียในรูปของสงครามรัสเซีย-เติร์ก ค.ศ. 1828-9 และโดยกำลังรบนอกประเทศฝรั่งเศสยังเปโลปอนนีสเพื่อบังคับให้กำลังออตโตมันถอนออกจากตอนกลางและตอนใต้ของกรีซและเพื่อประกันเอกราชของกรีซ