ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่เลปันโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการเลอพานโต (ค.ศ. 1571))
ยุทธการที่เลปันโต (ค.ศ. 1571)
ส่วนหนึ่งของ สงครามออตโตมัน-เวนิสครั้งที่สี่ และ สงครามออตโตมัน-ฮับส์บวร์ก

ยุทธการที่เลปันโต โดย Yogesh Brahmbhatt
พิพิธภัณฑ์การเดินเรือแห่งชาติ, กรีนนิช, ลอนดอน
วันที่7 ตุลาคม ค.ศ. 1571
สถานที่
ผล ฝ่ายสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
จักรวรรดิออตโตมัน

สันนิบาตศักดิ์สิทธิ์:
สเปน
 สาธารณรัฐเวนิส
อาณาจักรพระสันตะปาปา
สาธารณรัฐเจนัว
อาณาจักรดยุคแห่งซาวอย

อัศวินแห่งมอลตา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
Ali Pasha จอห์นแห่งออสเตรีย
กำลัง
เรือแบบต่าง ๆ 278 ลำ
ปืนราว 750 กระบอก
เรือแบบต่าง ๆ 212 ลำ
ปืนราว 1,815 กระบอก
ความสูญเสีย
เสียชีวิต[1]/บาดเจ็บ/ถูกจับ[2] 20,000 คน
เรือถูกยึด 137 ลำ
เรือถูกล่ม 50 ลำ
ทาสคริสเตียน 10,000 คนได้รับการปลดปล่อย
เสียชีวิต 7,500 คน
เรือ 13 ลำ

ยุทธการที่เลปันโต (ค.ศ. 1571) (กรีก: Ναύπακτος, Naupaktos, อังกฤษ: Battle of Lepanto) เป็นยุทธการในสงครามออตโตมัน-เวนิสครั้งที่สี่ และ สงครามออตโตมัน-ฮับส์บวร์กที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1571 ในอ่าวพาทราสในทะเลไอโอเนียน เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพเรือของฝ่ายจักรวรรดิออตโตมัน และฝ่ายสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์แห่งเมดิเตอเรเนียนที่ประกอบด้วยอาณาจักรพระสันตะปาปา สาธารณรัฐเวนิส สาธารณรัฐเจนัว อาณาจักรดยุคแห่งซาวอย สเปน และ อัศวินแห่งมอลตา ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์เป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ

การพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นจุดสำคัญของจักรวรรดิออตโตมันที่ไม่เคยได้รับการพ่ายแพ้ทางการยุทธการทางนาวีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่ถือกันว่าเป็นแรงบันดาลจากเบื้องบน (act of Divine Will) ที่นักบันทึกพงศาวดารบรรยายว่า "กองเรือหลวงเผชิญหน้ากับผู้นอกศาสนาอันชั่วร้าย แต่พระเจ้าก็หันพระพันตร์ไปทางอื่น"[3] แต่สำหรับผู้เป็นคริสเตียนเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดความหวังของโอกาสที่จะล่มสลายของตุรกีผู้ที่ถือว่าเป็น "ศัตรูของคริสเตียน" ออตโตมันเหลือเรือเพียง 30 ลำจากกองเรือเกือบ 300 ลำ และทหารและทาสอีกราว 30,000 คน[4] นักประวัติศาสตร์ตะวันตกถือการได้รับชัยชนะครั้งนี้ว่าเป็นชัยชนะที่เด็ดขาดทางราชนาวีที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุทธนาวีที่อักติอูง (Battle of Actium) ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 31 ก่อนคริสต์ศักราช

อ้างอิง

[แก้]
  1. Confrontation at Lepanto by T.C.F. Hopkins, intro
  2. Geoffrey Parker, The Military Revolution, p. 88
  3. Wheatcroft, Andrew (2004). Infidels: A History of the Conflict between Christendom and Islam. Penguin Books, pp.33-34
  4. A History Of Warfare - John Keegan, Vintage, 1993

ดูเพิ่ม

[แก้]