ยุทธการที่แม่น้ำสินธุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่แม่น้ำสินธุ
ส่วนหนึ่งของ การบุกครองเอเชียกลางของมองโกล
วันที่ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1221
สถานที่
ผล มองโกลชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ควาเรซเมียถูกรวมเข้ากับจักรวรรดิมองโกล
คู่สงคราม
จักรวรรดิมองโกล จักรวรรดิควาเรซม์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เจงกีสข่าน จาลัล อัดดิน มิงบูร์นู
กำลัง
30,000 นาย[1] 50,000 นาย[1]
ความสูญเสีย
มาก มาก

ยุทธการที่แม่น้ำสินธุ (อังกฤษ: Battle of Indus) เป็นการสู้รบระหว่างกองทัพมองโกลของเจงกีสข่านกับกองทัพควาเรซม์ของสุลต่านจาลัล อัดดิน มิงบูร์นู (Jalal ad-Din Mingburnu) เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1221 ที่ใกล้แม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถานปัจจุบัน ยุทธการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการบุกครองเอเชียกลางของมองโกล (Mongol invasion of Central Asia)

กองทัพมองโกลของเจงกีสข่านทำลายเมืองสำคัญหลายเมืองของจักรวรรดิควาเรซม์ รวมถึงเมืองหลวงคือซามาร์กันต์ ถึงแม้ทัพควาเรซม์จะเอาชนะทัพมองโกลได้ในยุทธการที่ปาร์วัน[2] (Battle of Parwan; ปัจจุบันอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน) แต่ด้วยกำลังทหารและเสบียงที่ลดน้อยลง ทำให้สุลต่านจาลัล อัดดิน มิงบูร์นูต้องล่าถอยเข้ามาในอินเดียเพื่อขอความช่วยเหลือจากสุลต่านอิลทัตมิช (Iltutmish) แห่งรัฐสุลต่านเดลี ขณะกำลังข้ามแม่น้ำสินธุ ทัพควาเรซม์ได้พบกับทัพมองโกลที่ตามมา สุลต่านจาลัล อัดดินที่มีกำลังทหาร 50,000 นายได้แบ่งออกเป็นสองทัพ ทัพหนึ่งตั้งเป็นแนวกับภูเขา ส่วนอีกทัพตั้งเป็นแนวกับแม่น้ำ[2] ในการบุกครั้งแรกทัพมองโกลโดนตีโต้กลับไปและเกือบถูกทัพควาเรซม์ตีแตก แต่เจงกีสข่านส่งกองทัพออกไปตีทัพควาเรซม์จากสองทางจนทัพควาเรซม์แตกพ่ายในที่สุด[2]

หลังการสู้รบ สุลต่านจาลัล อัดดินข้ามแม่น้ำสินธุและหนีไปได้[2] พระองค์ทรงขอความช่วยเหลือจากสุลต่านอิลทัตมิชแห่งรัฐสุลต่านแห่งเดลี แต่สุลต่านอิลทัตมิชทรงปฏิเสธ สุลต่านจาลัลพยายามกอบกู้ดินแดนคืนแต่ไม่สำเร็จ พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 1231 ที่เมืองดิยาร์บากีร์ (Diyarbakir; ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี) โดยมือสังหารชาวเคิร์ด[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Trevor N. Dupuy and R. Ernest Dupuy, The Harper Encyclopedia of Military History, (Harper Collins Publishers, 1993), 366.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 A Global Chronology of Conflict: From the Ancient World to the Modern Middle, Vol. I, ed. Spencer C. Tucker, (ABC-CLIO, 2010), 273.
  3. [1] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, PHI, Persian Literature in Translation
  4. [2], Encyclopedia Iranica

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]