มุฮัมมัด บากิร อัลฮะกีม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุฮัมมัด บากิร อัลฮะกีม
محمد باقر الحكيم
เกิด8 กรกฎาคม ค.ศ. 1939
นาจาฟ ราชอาณาจักรอิรัก
เสียชีวิต29 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (65 ปี)
นาจาฟ ประเทศอิรัก
พรรคการเมืองSupreme Council for Islamic Revolution in Iraq
บิดามารดา
ครอบครัวตระกูลอัลฮะกีม

อายะตุลลอฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด บากิร มุห์ซิน อัลฮะกีม อัฏเฏาะบาเฏาะบาอี (8 กรกฎาคม ค.ศ. 1939 – 29 สิงหาคม ค.ศ. 2003; อาหรับ: السيد محمد باقر محسن الحكيم الطباطبائي) เป็นนักวิชาการอิสลามนิกายชีอะฮ์ชาวอิรัก และหัวหน้า Supreme Council for Islamic Revolution in Iraq (SCIRI)[1][2] อัลฮะกีมลี้ภัยในประเทศอิหร่านมากกว่า 20 ปี และเดินทางกลับอิรักในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2003[3] อัลฮะกีมมีชีวิตร่วมกับอายะตุลลอฮ์ โคมัยนี และ เดอะการ์เดียน เปรียบเทียบทั้งสองในด้านช่วงเวลาที่ลี้ภัยและการสนับสนุนจากคนในประเทศ[3] หลังกลับสู่อิรัก ชีวิตขิงอัลฮะกีมจึงมีความเสี่ยงเนื่องจากผลงานของเขากระตุ้นให้กลุ่มชีอะฮ์ต่อต้านซัดดัม ฮุสเซน และสร้างศัตรูกับมุกตะดา อัศศ็อดร์ ผู้ถูกลอบสังหารที่นาจาฟใน ค.ศ. 1999[3] อัลฮะกีมถูกลอบสังหารจากการโจมตีด้วยระเบิดที่นาจาฟใน ค.ศ. 2003 ตอนอายุ 63 ปี[3]

ประวัติ[แก้]

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

อัลฮะกีมเกิดใน ค.ศ. 1939 ที่นาจาฟ จากตระกูลฮะกีมที่มีนักวิชาการศาสนาของนิกายชีอะฮ์[1][2][3] เขาเป็นบุตรของมุห์ซิน อัลฮะกีม[4] กับ Fawzieh Hassan Bazzi อัลฮะกัมเป็นลุงของมุฮัมมัด ซะอีด อัลฮะกีม[5]

กิจกรรมทางการเมือง[แก้]

ในปี 1958 ท่านได้ร่วมก่อตั้งองค์กรอิสลามเพื่อปกป้องศาสนาและประชาชน กับอายะตุลลอหฺ มุฮัมมัด บากิร อัศศอดรุ, ซัยยิด มุฮัมมัด มะหฺดี อัลฮะกีม, และ ซัยยิด มุรตะฎอ อัลอัซกะรีย์ ซึ่งภายหลังมีชื่อว่า ฮิซบุ อัดดะอฺวะหฺ อัลอิสลามียะหฺ (พรรคเผยแผ่อิสลาม)

1972 ซัยยิดและพรรคพวกถูกรัฐบาลพรรคบะอัธจับไปทรมาน แต่ต่อมาก็มีคำสั่งปลดปล่อย แต่ท่านปฏิเสธที่จะออกจากคุก จนกว่ารัฐบาลบะอัธจะปลดปล่อย อายะตุลลอหฺ อัศศอดรุ ที่ถูกจับพร้อมกันนั้นด้วย และตัดสินจำคุกตลอดชีวิต

ในปี 1977-1978 ถูกรัฐบาลบะอัธจับกุมตัวอีกครั้งพร้อม ๆ กับอุละมาอฺคนอื่น ๆ ซัยยิดถูกตัดสินจับคุกตลอดชีวิต แต่ก็มีคำสั่งปลดปล่อยในปีต่อมา

เมื่อซัดดัมสั่งจับอายะตุลลอหฺ อัศศอดรุไปสังหารในปี 1980 ซัยยิดก็ได้ย้ายออกไปอิรักไปซีเรีย เมื่อซัดดัมเริ่มทำสงครามกับอิหร่าน ซัยยิดก็ได้เดินทางไปอิหร่าน เพื่อไปพำนักอยู่กับอายะตุลลอหฺ โคมัยนีย์ และตั้งฐานพรรคฝ่ายค้านอิรักในอิหร่าน

ในปี 1982 ซัยยิดได้ก่อตั้งสภาสูงสุดเพื่อการปฏิวัติอิสลามในอิรัก (Supreme Council for the Islamic Revolution in Iraq, SCIRI)เพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการและคอรัปชั่นของซัดดัม ฮุเซนและพรรคพวก

การลอบสังหาร[แก้]

อัลฮะกีมเสียชีวิตในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2003 จากระเบิดติดรถระเบิดตอนที่เขาเดินออกจากมัสยิดอิหม่ามอะลีที่นาจาฟ[6] แรงระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 84 คน บางรายงานระบุว่าอาจมีผู้เสียชีวิตจากระเบิดมากถึง 125 คน องครักษ์ของอัลฮะกีม 15 คนก็เสียชีวิตจากระเบิดด้วย[7]

พิธีศพ[แก้]

มีผู้เข้าร่วมพิธีศพของเขาที่นาจาฟแสนกว่าคน และแสดงความเกลียดชังต่อการยึดครองทางทหารของสหรัฐในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2003[8] พวกเขาประท้วงต่อกองทัพสหรัฐและเรียกร้องให้ถอนทัพออกจากอิรัก[9]

สุสานของเขาถูกผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลวางน้ำมันระเบิดในช่วงการประท้วงในอิรัก ค.ศ. 2019[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Cleric slain months after returning to Iraq". Reading Eagle. Baghdad. AP. 30 August 2003. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
  2. 2.0 2.1 Joffe, Lawrence (30 August 2003). "Obituary". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Joffe, Lawrence (30 August 2003). "Ayatollah Mohammad Baqir al-Hakim". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 10 March 2019.
  4. "Muhammad Baqir al- Hakim". Oxford Reference. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
  5. "Who is Muqtada al-Sadr?". CNN. 6 April 2004. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
  6. Escobar, Pepe (2 September 2003). "Ayatollah's killing: Winners and losers". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2003. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.{{cite news}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  7. "U.S. Blamed For Mosque Attack". CBS News. 11 February 2009. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
  8. "Mourners demand vengeance for cleric's death". The Guardian. AP. 2 September 2003. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
  9. McCarthy, Rory (3 September 2003). "Shia mourners demand end to US occupation". The Guardian. Najaf. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
  10. "Elites backed by Iran are clinging to power in Iraq". The Economist. 7 December 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]