มิชิมะ ยูกิโอะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มิชิมะ ยูกิโอะ
ถ่ายโดยชิโระ อาโอยามะ ปี ค.ศ. 1956
ถ่ายโดยชิโระ อาโอยามะ ปี ค.ศ. 1956
เกิดฮิราโอกะ คิมิตาเกะ
14 มกราคม ค.ศ. 1925(1925-01-14)
ชินจูกุ โตเกียว ญี่ปุ่น
เสียชีวิต25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970(1970-11-25) (45 ปี)
อิชิงายะ โตเกียว ญี่ปุ่น
อาชีพนักเขียน, กวี
สัญชาติญี่ปุ่น
ช่วงเวลาค.ศ. 1941–1970
แนวนวนิยาย
นามปากกา
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ三島 由紀夫
ฮิรางานะみしま ゆきお
การถอดเสียง
โรมาจิMishima Yukio
ชื่อจริง
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ平岡 公威
ฮิรางานะひらおか きみたけ
การถอดเสียง
โรมาจิHiraoka Kimitake

มิชิมะ ยูกิโอะ (ญี่ปุ่น: 三島 由紀夫โรมาจิMishima Yukio) เป็นนามปากกาของ ฮิราโอกะ คิมิตาเกะ (ญี่ปุ่น: 平岡 公威โรมาจิHiraoka Kimitake; 14 มกราคม ค.ศ. 1925 - 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970) เป็นกวีและนักเขียนชาวญี่ปุ่น ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักเขียนท่านหนึ่งที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ มิชิมะเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมถึง 3 ครั้ง[1] และเกือบได้รับรางวัลนี้ในปี ค.ศ. 1968 (แต่คาวาบาตะ ยาซูนาริได้รับรางวัลแทน)[2]

ประวัติ[แก้]

มิชิมะ ยูกิโอะ หรือชื่อเกิดว่า ฮิราโอกะ คิมิตาเกะ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1925 ในครอบครัวที่มีบรรพบุรุษเป็นซามูไร ตอนยังเป็นเด็ก มิชิมะอาศัยอยู่กับคุณย่า จนถึงปี ค.ศ. 1937 เขาก็ย้ายกลับไปอยู่กับครอบครัว มิชิมะเป็นเด็กเรียนดี และสนใจในวรรณกรรมตะวันตก งานเขียนของเขาได้รับการตีพิมพ์ตั้งแต่สมัยเขาอยู่ชั้นมัธยมศึกษา เมื่อเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยโตเกียว เขาก็เปลี่ยนมาใช้นามปากกา "มิชิมะ ยูกิโอะ" เพื่อปกปิดอายุตัวเอง[3] หลังเรียนจบ มิชิมะทำงานในกระทรวงการคลัง แต่ต่อมาก็ลาออกมาเขียนนิยาย เขามีแนวคิดที่จะฟื้นฟู "บูชิโด" และต่อต้านการพัฒนาแบบตะวันตกของญี่ปุ่น มิชิมะเชื่อในลัทธิชาตินิยมสุดโต่ง และ มีความคิดฟื้นฟูจักรพรรดิโชวะให้กลับไปมีอำนาจสูงสุดในญี่ปุ่น เพื่อแสดงความรับผิดชอบที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ที่มาพร้อมกับอิทธิพลของตะวันตก โดยเฉพาะในช่วงการยึดครองญี่ปุ่น และ ช่วงหลังการลงนามสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก[4] จึงเริ่มรวบรวมผู้คน จนในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970 มิชิมะและพรรคพวกอีก 4 คนก็บุกยึดศูนย์บัญชาการกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น จับผู้บัญชาการเป็นตัวประกัน และปลุกระดมให้กองทัพก่อรัฐประหาร แต่ไม่เป็นผล มิชิมะจึงกระทำเซ็ปปูกุ หรือคว้านท้องตัวเอง[5][6]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

นอกจากจะเป็นนักเขียน มิชิมะยังเป็นเคยแสดงภาพยนตร์มาแล้ว 5 เรื่อง[7] นอกจากนี้เขายังฝึกเพาะกายและศิลปะการต่อสู้อื่น ๆ อีกด้วย[8]

ด้านความสัมพันธ์ เขาเคยคบหากับโชดะ มิจิโกะ (ต่อมาโชดะเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและทรงขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ)[9] ต่อมามิชิมะสมรสกับซูงิยามะ โยโกะในปี ค.ศ. 1958 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน

อ้างอิง[แก้]

  1. YUKIO MISHIMA - BIOGRAPHY
  2. Revealing the many masks of Mishima
  3. A View of the Snowy Mountain :: 1941-1964
  4. "Yukio Mishima -- C.M. Stassel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-15. สืบค้นเมื่อ 2015-03-01.
  5. Yukio Mishima Essay - Mishima, Yukio
  6. MISHIMA’S SUICIDE
  7. Yukio Mishima by iMDb
  8. Sun and Steel
  9. The Man Who Would Be Samurai

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]