มาร์ทีน นีเมิลเลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาร์ทีน นีเมิลเลอร์
Martin Niemöller
เกิด14 มกราคม ค.ศ. 1892
ลิพชตัท จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต6 มีนาคม ค.ศ. 1984(1984-03-06) (92 ปี)
วีสบาเดิน ประเทศเยอรมนีตะวันตก
อาชีพทหารเรือ, บาทหลวง, นักเทววิทยา
คู่สมรสเอ็ลเซอ บรุนเนอร์

ฟรีดริช กุสทัฟ เอมีล มาร์ทีน นีเมิลเลอร์ (เยอรมัน: Friedrich Gustav Emil Martin Niemöller) เป็นบาทหลวงนิกายลูเทอแรน นักเทววิทยา และอดีตทหารเรือในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งชาวเยอรมัน[1][2] มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้ต่อต้านระบอบนาซี และเป็นเจ้าของวลีโด่งดังที่สุดในการต่อต้านระบอบนาซี

หลังทษวรรษที่ 1950 เป็นต้นไป เขาเป็นนักกิจกรรมใผ่สันติและต่อต้านสงคราม เขาดำรงตำแหน่งรองประธานขององค์การผู้ต่อต้านสงครามนานาชาติระหว่างค.ศ. 1966 ถึง 1972 และยังเป็นแกนนำผู้เรียกร้องการปลดอาวุธนิวเคลียร์[3]

ประวัติ[แก้]

นีเมิลเลอร์เกิดที่เมืองลิพชตัท (Lippstadt) มณฑลเว็สท์ฟาเลิน จักรวรรดิเยอรมัน เมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1892 เขาเติบโตมาในครอบครัวหัวเก่า ซึ่งมีบิดาเป็นบาทหลวงนิกายลูเทอแรน ต่อมาในปีค.ศ. 1900 ครอบครัวย้ายไปอยู่ที่เมืองเอ็ลแบร์เฟ็ลด์ (Elberfeld)

นีเมิลเลอร์ในเครื่องแบบทหารเรือเยอรมัน

เขารับราชการเป็นนายทหารเรือ ปฏิบัติหน้าที่บนเรืออูในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เรือเอกนีเมิลเลอร์มีผลงานประจักษ์จนได้รับกางเขนเหล็กชั้นหนึ่ง เมื่อสงครามสิ้นสุด จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 สละราชสมบัติ นีเมิลเลอร์ไม่ยอมรับรัฐบาลประชาธิปไตยจึงลาออกจากราชการทหารและผันตัวเป็นครูสอนศาสนา เขาบวชเป็นบาทหลวงเต็มตัวเมื่อค.ศ. 1924[4] ต่อมาเขาย้ายไปเป็นบาทหลวงประจำเมืองดาเลิมในกรุงเบอร์ลินเมื่อปีค.ศ. 1931[5]

นีเมิลเลอร์เป็นคนหัวเก่าเช่นเดียวกับบาทหลวงส่วนใหญ่ในเยอรมนี เขาต่อต้านรัฐบาลไวมาร์ซึ่งเป็นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยอย่างเปิดเผย ในตอนแรก เขายินดีกับการเรืองอำนาจของฮิตเลอร์ในปีค.ศ. 1933 โดยเชื่อว่าฮิตเลอร์จะฟื้นฟูประเทศให้กลับมาแข็งแกร่งดังเช่นอดีตได้อีกครั้ง ในหนังสือเกี่ยวกับเรืออูของเขาซึ่งตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1933 เรียกยุคสาธารณรัฐไวมาร์ว่าเป็น "ยุคมืด" และยกย่องฮิตเลอร์ว่าเป็นผู้ริเริ่ม "บูรณชาติ"[6]: 235  หนังสือของนีเมิลเลอร์เล่มนี้ได้รับผลตอบรับทางบวกจากหนังสือพิมพ์และกลายเป็นหนังสือขายดีอันดับต้นๆในขณะนั้น

แต่เมื่อรัฐบาลนาซีออกบทบัญญัติ "วรรคอารยัน" (Arierparagraph) ซึ่งตัดสิทธิ์หลายประการของชาวยิว รวมไปถึงสิทธิ์ในการนับถือลูเทอแรน นีเมิลเลอร์จึงผันตัวเป็นฝ่ายตรงกับระบอบนาซี เขาร่วมลงชื่อในภาคีนักบวชโปรแตสแตนท์ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์นโยบายนาซีและประกาศว่าวรรคอารยันไม่สอดคล้องกับหลักเมตตาธรรมของชาวคริสต์[7] ในค.ศ. 1934 เขาร่วมจัดตั้งโบสถ์สารภาพ (Bekennende Kirche) ซึ่งเป็นกลุ่มคริสต์ที่ต่อต้านการครอบงำศาสนจักรโดยระบอบนาซี

การต่อต้านระบอบนาซีของเขาทำให้เขาถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 เขาถูกไต่สวนโดยศาลพิเศษที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคดีเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐ เขาถูกพิพากษาปรับ 2,000 ไรชส์มาร์คและถูกกักขังเป็นเวลาเจ็ดเดือน แต่ทันทีที่ถูกปล่อยตัว เขาก็ถูกจับกุมซ้ำโดยตำรวจลับขององค์การเอ็สเอ็ส และถูกส่งตัวไปค่ายกักกันซัคเซินเฮาเซินและค่ายกักกันดาเคา ระหว่างนั้น เขาเคยเสนอตัวเป็นผู้บังคับการเรือดำน้ำ แต่ถูกปฏิเสธ[8] เขาถูกกักขังจนสิ้นสุดสงครามในปีค.ศ. 1945

วลีของนีเมิลเลอร์[แก้]

วลีของนีเมิลเลอร์ ฉบับในสหรัฐ แต่ฉบับนี้ไม่ใช่ฉบับที่ถูกต้องตามต้นฉบับ

วลีของนีเมิลเลอร์มีอยู่หลายฉบับหลายคำแปลด้วยกัน ฉบับที่ได้รับความนิยมที่สุดปรากฏตามพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐ แต่ฉบับดังกล่าวไม่ใช่ฉบับที่ถูกต้อง[9] และด้านล่างนี้คือฉบับที่มูลนิธิมาร์ทีน-นีเมิลเลอร์ ยอมรับนับถือเป็นต้นฉบับ

Als die Nazis die Kommunisten holten, habe ich geschwiegen; ich war ja kein Kommunist.
Als sie die Sozialdemokraten einsperrten, habe ich geschwiegen; ich war ja kein Sozialdemokrat.
Als sie die Gewerkschafter holten, habe ich geschwiegen; ich war ja kein Gewerkschafter.
Als sie mich holten, gab es keinen mehr, der protestieren konnte.[10]
เมื่อนาซีมาจับพวกคอมมิวนิสต์ ฉันนิ่งเงียบ เพราะฉันไม่ใช่พวกคอมมิวนิสต์
เมื่อเขามาเอาตัวพวกสังคมประชาธิปไตย ฉันนิ่งเงียบ เพราะฉันไม่ใช่พวกสังคมประชาธิปไตย
เมื่อเขามาจับพวกสหภาพแรงงาน ฉันนิ่งเงียบ เพราะฉันไม่ใช่พวกสหภาพแรงงาน
เมื่อเขามาจับฉัน ฉันไม่เหลือใคร ออกมาต่อสู้ให้ฉัน

อ้างอิง[แก้]

  1. Pace, Eric (8 March 1984). "Martin Niemoller, Resolute Foe Of Hitler". New York Times.
  2. "Niemöller, (Friedrich Gustav Emil) Martin" The New Encyclopædia Britannica (Chicago: University of Chicago, 1993), 8:698.
  3. Rupp, Hans Karl. "Niemöller, Martin", in The World Encyclopedia of Peace. Edited by Linus Pauling, Ervin László, and Jong Youl Yoo. Oxford : Pergamon, 1986. ISBN 0-08-032685-4, (vol 2, p.45-6).
  4. Current Biography 1943, pg.555
  5. "Niemöller", 8:698.
  6. Shirer, William L (1960). The rise and fall of the Third Reich: a history of Nazi Germany (ภาษาอังกฤษ). New York: Simon & Schuster. ISBN 978-0-671-72869-4. OCLC 22888118.
  7. Martin Stöhr, „…habe ich geschwiegen“. Zur Frage eines Antisemitismus bei Martin Niemöller
  8. Niemoeller Volunteers for U-Boat Service; Nazis Reject Imprisoned Pastor's Offer
  9. Marcuse, Harold. "Martin Niemöller's famous confession: "First they came for the Communists ... "". University of California at Santa Barbara.
  10. Quellen: So hat Niemöller es geschrieben. Es wurde sehr häufig abgewandelt. Martin-Niemöller-Stiftung