มารีโอ ตามัญโญ
หน้าตา
มารีโอ ตามัญโญ | |
---|---|
เกิด | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2420 อิตาลี |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2484 (64 ปี) |
สัญชาติ | อิตาลี |
ศิษย์เก่า | สถาบันศิลปะอัลแบร์ทีน[1] |
ผลงานสำคัญ |
มารีโอ ตามัญโญ (อิตาลี: Mario Tamagno, เกิด 19 มิถุนายน พ.ศ. 2420 – พ.ศ. 2484) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี เกิดที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี เข้ารับราชการในกระทรวงโยธาธิการแห่งประเทศสยามเมื่อปี พ.ศ. 2443 โดยมีสัญญาว่าจ้างเป็นเวลา 25 ปี
นายมารีโอ ตามัญโญ มีผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่สำคัญหลายแห่ง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้ง สะพานมัฆวานรังสรรค์, พระที่นั่งอนันตสมาคม, วังปารุสกวัน, ท้องพระโรงวังสวนกุหลาบ, สถานีรถไฟกรุงเทพ, บ้านพิษณุโลก (ชื่อเดิมคือ บ้านบรรทมสินธุ์), พระตำหนักเมขลารุจี ภายในพระราชวังพญาไท, ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล (ชื่อเดิมคือ ตึกไกรสร), ห้องสมุดนีลเซนเฮส์ เป็นต้น[2]
ผลงานการออกแบบ
[แก้]- สะพานมัฆวานรังสรรค์
- พระที่นั่งอนันตสมาคม
- วังปารุสกวัน
- ท้องพระโรงวังสวนกุหลาบ
- สถานีรถไฟหัวลำโพง
- บ้านพิษณุโลก (ชื่อเดิมคือ บ้านบรรทมสินธุ์)
- พระตำหนักเมขลารุจี ภายในพระราชวังพญาไท
- ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล (ชื่อเดิมคือ ตึกไกรสร)
- ห้องสมุดนีลเซนเฮส์
- บ้านพระยาสุริยานุวัตร
-
บ้านพักเอกอัครราชทูตเบลเยี่ยมประจำประเทศไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2456 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[3]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาพเก่าเล่าตำนาน มาริโอ ตามัญโญ สถาปนิกฝีมือขั้นเทพ : โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก, มติชน .วันที่: 31 ต.ค. 59
- ↑ Mario Tamagno สถาปนิกหัวใจสยาม, Tor Tuan Design 's BLOG .วันที่ 08/05/2560
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกอิตาเลียนผู้อยู่เบื้องหลังสถาปัตยกรรมระดับไอคอนหลายแห่งของไทย, kooper.co วันที่ 10 เม.ย. 2563