มาตรฐานสีอาร์เอแอล
อาร์เอแอลเป็นระบบการจัดการสีที่ใช้ในยุโรปซึ่งสร้างและบริหารจัดการโดย RAL gGmbH ของเยอรมนี [1] (RAL non-profit LLC) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ German RAL Institute ในบริบททั่วไปนั้น, อาร์เอแอล หมายถึงระบบอาร์เอแอลคลาสสิก (RAL Classic) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการเคลือบเงาและการเคลือบสีฝุ่น แต่ในปัจจุบันรวมไปถึงพลาสติกเช่นกัน ผลิตภัณฑ์อาร์เอแอลที่ได้รับการรับรองจะมีโฮโลแกรมเพื่อทำให้รุ่นที่ไม่ได้รับอนุญาตผลิตได้ยาก ตัวเลียนแบบอาจแสดงเฉดสีที่แตกต่างออกไปเมื่อสังเกตภายใต้แหล่งกำเนิดแสงต่างๆ
ระบบปริภูมิสีอาร์เอแอล
[แก้]อาร์เอแอล คลาสสิค
[แก้]ในปี พ.ศ. 2470 กลุ่มจากเยอรมนีชื่อ Reichs-Ausschuß für Lieferbedingungen (คณะกรรมการจักรวรรดิเพื่อการจัดส่งและการประกันคุณภาพ) คิดค้นคอลเลกชันสี่สิบสีภายใต้ชื่อ "RAL 840" [2] ก่อนถึงวันดังกล่าว ผู้ผลิตและลูกค้าจะต้องแลกเปลี่ยนตัวอย่างเพื่ออธิบาย สีย้อมในขณะที่ต่อจากนี้ไปก็จะต้องใช้ตัวเลขเป็นหลัก [3]
ในช่วงทศวรรษ 1930 ตัวเลขมีการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอเป็นตัวเลขสี่หลัก และคอลเลกชันได้เปลี่ยนชื่อเป็น "RAL 840 R" (R สำหรับฉบับแก้ไข (revised)) ประมาณปี 1940 สีอาร์เอแอลได้ถูกเปลี่ยนเป็นระบบสี่หลักตามธรรมเนียม สีลายพรางของกองทัพมักจะแสดงออกด้วยเลข "7" หรือ "8" ในตอนแรกจนกระทั่งปีพ.ศ. 2487 เนื่องจากมีการเพิ่มสีลงในคอลเลกชันอย่างต่อเนื่อง จึงได้รับการแก้ไขอีกครั้งในปีพ.ศ. 2504 และเปลี่ยนเป็น "RAL 840-HR" ซึ่งประกอบด้วยสี 210 เฉดสีและยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ในทศวรรษที่ 1960 สีต่างๆ ได้รับการตั้งชื่อเสริมเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนในกรณีที่มีการสลับตัวเลข ในงานแสดงเฟอร์นิเจอร์ระดับนานาชาติ imm Cologne วันที่ 13-19 มกราคม 2563 ได้เปิดตัว 2 เฉดสีใหม่ในคอลเล็กชันคลาสสิก ได้แก่ RAL 2017 ส้มอาร์เอแอล (RAL orange) และ RAL 9012 ขาวห้องสะอาด (Cleanroom White)[4]
ช่วง | ชื่อช่วง | เฉดสีแรก | เฉดสีสุดท้าย | จำนวนเฉดสีในช่วง |
---|---|---|---|---|
RAL1xxx | เฉดสีเหลือง | RAL 1000 เบจเขียว (Green beige) | RAL 1037 เหลืองตะวัน (Sun yellow) | 30 |
RAL2xxx | เฉดสีส้ม | RAL 2000 ส้มเหลือง (Yellow orange) | RAL 2017 ส้มอาร์เอแอล (RAL orange) | 14 |
RAL3xxx | เฉดสีแดง | RAL 3000 แดงเปลวไฟ (Flame red) | RAL 3033 ชมพูไข่มุก (Pearl pink) | 25 |
RAL4xxx | เฉดสีม่วง | RAL 4001 ม่วงดอกไลลัก (Red lilac) | RAL 4012 แบล็คเบอร์รี่ไข่มุก (Pearl blackberry) | 12 |
RAL5xxx | เฉดสีน้ำเงิน | RAL 5000 น้ำเงินไวโอเล็ต (Violet blue) | RAL 5026 น้ำเงินกลางคืนไข่มุก (Pearl night blue) | 25 |
RAL6xxx | เฉดสีเขียว | RAL 6000 เขียวปาติน่า (Patina green) | RAL 6039 เขียวไฟเบอร์ (Fibrous green) | 37 |
RAL7xxx | เฉดสีเทา | RAL 7000 เทากระรอก (Squirrel grey) | RAL 7048 เทาหนูไข่มุก (Pearl mouse grey) | 38 |
RAL8xxx | เฉดสีน้ำตาล | RAL 8000 เขียวน้ำตาล (Green brown) | RAL 8029 ทองแดงไข่มุก (Pearl Copper) | 20 |
RAL9xxx | เฉดสีขาว/ดำ | RAL 9001 ครีม (Cream) | RAL 9023 เทามืดไข่มุก (Pearl dark grey) | 15 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Imprint". RAL Farben. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 Jun 2016. สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.
- ↑ "RAL Colours history". สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.
- ↑ "RAL Historie" (PDF). สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "RAL COLOURS at imm cologne 2020 – The international furnishing fair". ral-farben.de. 10 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 29 February 2020.