ทฤษฎีสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในวิชาทัศนศิลป์ ทฤษฎีสี เป็นการแนะแนวทางปฏิบัติสำหรับผสมสีและผลทางตาของการผสมสีบางอย่าง มีนิยาม (หรือหมวดหมู่) ของสีโดยอาศัยวงล้อสี ได้แก่ แม่สี สีทุติยภูมิและสีตติยภูมิ แม้หลักการทฤษฎีสีปรากฏครั้งแรกในงานเขียนของเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี (ประมาณ ค.ศ. 1435) และสมุดบันทึกของเลโอนาร์โด ดา วินชี (ประมาณ ค.ศ. 1490) ประเพณี "ทฤษฎีสี" เริ่มจริง ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เดิมเป็นการโต้เถียงแบบยึดพรรคพวกเกี่ยวกับทฤษฎีสีของไอแซก นิวตัน (Opticks, 1704) และธรรมชาติของแม่สี นับแต่นั้น มีการพัฒนาเป็นประเพณีศิลปินอิสระและมีการอ้างอย่างผิวเผินถึงการวิเคราะห์เคมีของสี (colorimetry) และทัศนวิทยาศาสตร์ (vision science)

แม่สี สีทุติยภูมิและสีตติยภูมิในแบบจำลองสี RYB

แม่สี (Primary Color)[แก้]

คือสามสีขั้นต้น ที่เมื่อผสมกันก็จะทำให้เกิดสีอื่นๆต่อไป แม่สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน

สีขั้นที่ 2 (Secondary Color)[แก้]

สีที่เกิดจากแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
สีแดง ผสมกับ สีเหลือง ได้ สีส้ม (Orange)
สีแดง ผสมกับ สีน้ำเงิน ได้ สีม่วง (Purple)
สีเหลือง ผสมกับ สีน้ำเงิน ได้ สีเขียว (Green)

สีขั้นที่ 3 (Tertiary Color)[แก้]

สีที่เกิดจาก แม่สี ผสมกับ สีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่นๆ อีก 6 สี คือ
สีแดง ผสมกับ สีส้ม ได้ สีส้มแดง (Vermillion)
สีแดง ผสมกับ สีม่วง ได้ สีม่วงแดง (Magenta)
สีเหลือง ผสมกับ สีเขียว ได้ สีเขียวเหลือง (Chartreuse)
สีน้ำเงิน ผสมกับ สีเขียว ได้ สีเขียวน้ำเงิน (Teal)
สีน้ำเงิน ผสมกับ สีม่วง ได้ สีม่วงน้ำเงิน (Violet)
สีเหลือง ผสมกับ สีส้ม ได้ สีส้มเหลือง (Amber)

สีคู่ตรงข้าม (Complementary Color)[แก้]

คือ สีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงล้อสี หรือวิธีการจับคู่ง่ายๆ ก็คือการลากเส้นจากสีหนึ่งไปตรงๆ เส้นนั้นไปบรรจบที่สีใดสองสีนั้นก็เป็นคู่ตรงข้ามกัน

สีคู่ตรงข้าม (Complementary Color)

อ้างอิง[แก้]