ข้ามไปเนื้อหา

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคฮอดจ์กิน
Hodgkin's disease
ภาพจากการตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองแสดงให้เห็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10C81
ICD-9201
ICD-O:9650/3-9667/3
DiseasesDB5973
MedlinePlus000580
eMedicinemed/1022
MeSHD006689

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (อังกฤษ: Hodgkin's lymphoma) หรือ โรคฮอดจ์กิน (อังกฤษ: Hodgkin's disease) เป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดหนึ่งที่ได้รับการอธิบายโดย Thomas Hodgkin ในปี พ.ศ. 2375 มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน มีลักษณะทางคลินิคคือจะแพร่กระจายจากต่อมน้ำเหลืองหนึ่งไปยังต่อมน้ำเหลืองหนึ่งไปเรื่อยๆ และแพร่กระจายไปทั่วร่างกายในที่สุด ทางพยาธิวิทยาจะพบว่าโรคนี้มี Reed-Sternberg cell อยู่ โรค Hodking'sมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนี้เป็นโรคมะเร็งชนิดแรกที่สามารถรักษาได้ด้วยการฉายรังสี ต่อมาก็เป็นมะเร็งชนิดแรกที่ได้รับการรักษาด้วย combination chemotherapy อีกด้วย อัตราการรักษาอยู่ที่ประมาณ 93% ทำให้โรคนี้เป็นโรคมะเร็งที่มีโอกาสรักษาหายได้มากที่สุดชนิดหนึ่ง

ระบาดวิทยา

[แก้]

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน ต่างจากโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดอื่นๆ ซึ่งมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามอายุตรงที่ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน มีอุบัติการณ์เป็นโค้งแบบ bimodal คือจะพบมากที่สุดในคนอายุ 15-35 ปี และพบรองลงมาในคนอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป โดยมี peak แตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละเชื้อชาติ โดยภาพรวมแล้วพบมากในเพศชาย ยกเว้นชนิดที่มี nodular sclerosis ซึ่งจะพบมากในเพศหญิง ในหนึ่งปีจะมีคนเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน ประมาณ 1/25,000 คน นับเป็นจำนวนน้อยกว่า 1% ของมะเร็งทุกชนิด อุบัติการณ์ของการเกิด มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน จะเพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV แต่จะแตกต่างจากโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่มีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HIV ชนิดอื่นๆ ตรงที่จะพบมากในผู้ป่วยที่มีปริมาณ CD4 T cell ที่สูง

อาการ

[แก้]

อาการที่พบมากที่สุดของ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน คือต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วยจะบวมขึ้นแต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ต่อมน้ำเหลืองที่จะได้รับผลกระทบบ่อยที่สุดคือต่อมน้ำเหลืองในช่องอกซึ่งจะเห็นได้จากการทำเอกซเรย์ทรวงอก 30% ของผู้ป่วย มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน มีม้ามโตแต่มักไม่โตมากนัก ตับอาจจะโตได้ซึ่งพบใน 5% ของผู้ป่วย

ประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วย มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน จะมีอาการทาง systemic เช่น มีไข้ต่ำๆ เหงื่อออกในเวลากลางคืน น้ำหลักลด คัน (pruritus) อ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางคนอาจจะเจ็บต่อมน้ำเหลืองที่โตได้หลังจากดื่มแอลกอฮอล์ แต่ไม่ค่อยพบมากนัก บางรายอาจมีไข้ขึ้นสูงและลงสลับกันเรียกว่า Pel-Ebstein fever แต่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าอาการไข้ชนิดนี้มีอยู่จริงหรือไม่ อาการทาง systemic อย่างการมีไข้ น้ำหนักลดนั้นเรียกรวมกันว่า B symptoms

การวินิจฉัย

[แก้]

จำเป็นที่จะต้องแยก มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน ออกจากโรคที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้นโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง อย่างเช่นโรคติดเชื้อต่างๆ และต้องแยกออกจากมะเร็งชนิดอื่น การให้การวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุดทำโดยการส่งชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองไปตรวจ อาจตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของอวัยวะหลักอื่นๆ และเพื่อศึกษาความเสี่ยงในการรักษาด้วยเคมีบำบัด อาจทำ PET scan เพื่อหารอยโรคที่มองไม่เห็นด้วย CT scan และอาจใช้ Gallium scan แทน PET scan

พยาธิวิทยา

[แก้]

Macroscopy

[แก้]

ต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับผลกระทบจะโตขึ้น แต่รูปร่างยังไม่เปลี่ยนแปลงเพราะ capsule ไม่ถูก invade ผิวหน้าตัดมักมีสีขาวอมเทาเสมอกัน บางครั้งอาจพบมี nodule

Microscopy

[แก้]

การศึกษาทาง microscopic โดยการทำ biopsy ต่อมน้ำเหลืองจะพบ Reed-Sternberg cells