พระมหาวีระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มหาวีระ)
พระมหาวีระ
ตีรถังกรที่ 24
Mahāvīra
พระมหาวีระ
ชื่ออื่นวีระ, อาทิวีระ
เป็นที่บูชาในศาสนาเชน
สืบทอดตำแหน่งจากพระปารศวนาถ
สัญลักษณ์สิงโต[1]
ความสูง7 cubits (10.5 feet)
อายุขัย72 ปี
ต้นไม้Shorea robusta
สีกายสีทอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดป. 540 BC (historical)[2][3]
ป. 599 BCE (traditional)[2]
ไวสาลี, แคว้นวัชชี
เสียชีวิตป. 468 BC (historical)[2][3]
ป. 527 BCE (Svetambara)[2]
ป. 510 BCE (Digambara)[2]
ปวบุรี, แคว้นมคธ
บิดา-มารดา

พระมหาวีระ เป็นศาสดาของศาสนาเชน และตีรถังกรพระองค์ที่ 24 ประสูติก่อนคริสต์ศักราช 599 ปี (56 ปีก่อนพุทธศักราช) ในวันที่พระองค์ประสูติสมาชิกในราชตระกูลได้มารวมตัวกันในงานเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าสิทธารถะ กษัตริย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวี ผู้ปกครองกรุงกุนทครามะชานเมืองเวสาลี (ไวศาลี) แห่งแคว้นวัชชี พระบิดาของพระองค์ทรงได้กล่าวว่า ราชตระกูลของเราได้รับความผาสุกและความดีงาม ตั้งแต่พระนางตฤศลา พระมารดาของพระองค์ทรงพระครรภ์และทั้ง 2 พระองค์นั้นได้ตั้งชื่อพระโอรสที่ประสูติ พระนามว่า วรรธมานะ แปลว่า ความเพิ่มพูน หรือผู้ที่เจริญ แต่ว่าบรรดาสานุศิษย์ของมหาวีระได้เรียกพระองค์ว่า "มหาวีระ" และบรรดาเหล่าสาวกได้อ้างว่าชื่อนี้คือชื่อที่บรรดาเทพเจ้าเรียกกัน ความหมายคือ ผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ พระมหาวีระนั้นเป็นพระโอรสองค์ที่ 2 พระองค์ทรงได้ใช้ชีวิตในช่วงแรก อยู่ในความรักและการดูแลของพระราชบิดาและพระราชมารดา ได้รับความสุขสบายอย่างมากมายโดยมีเหล่าข้าราชบริพารมากมายคอยถวายรับใช้อำนวยความสะดวกให้แก่พระองค์

พระมหาวีระนั้นเป็นผู้ที่ทรงยกย่องให้เกียรติ ต่อพระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อเติบใหญ่ขึ้น ได้ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงยโสธรา และมีพระธิดาพระนามว่า อโนชา มหาวีระทรงได้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายเพราะพระองค์ทรงเป็นพระโอรสของกษัตริย์ผู้ครองนครเวสาลี พระราชวังของพระราชบิดาของพระองค์นั้นเป็นที่เยี่ยมเยือนของบรรดาพราหมณ์และนักพรตมากมาย ทุกๆ ครั้งที่เหล่านักพรตได้ไปเยี่ยมเยือน พวกเขาจะได้รับการต้อนรับอย่างดีและสมเกียรติ และพระะมหาวีระก็จะทรงไปนั่งฟังคำสอนจากพวกพราหมณ์และนักพรต ซึ่งทำให้พระองค์ทรงประหลาดใจในคำสอนเหล่านั้น และพระองค์เองนั้นมีความปรารถนาที่จะติดตามพวกนักบวชเหล่านี้ แต่เพราะความรักที่มีให้กับพระราชบิดาและพระราชมารดาได้มายับยั้งพระองค์จากการทำตามความปรารถนา โดยพระองค์ทรงรู้ดีว่าท่านทั้ง 2 นั้นไม่ต้องการให้พระองค์อยู่ในเส้นทางของนักบวช

ภายหลังจากที่พระชนกและพระชนนีของพระองค์ได้สิ้นพระชมน์ลง จนพระชนมายุได้ 28 พรรษา พระเชษฐาองค์โตทรงได้ขึ้นปกครองเมืองแทน หลังจากที่พระเชษฐาของพระองค์นั้นขึ้นปกครองเมืองได้ 1 ปีเต็ม มหาวีระนั้นทรงได้ทูลขออนุญาตพระเชษฐาเพื่อที่จะเสด็จออกผนวช พระเชษฐาก็ทรงอนุญาตตามคำขอ ดังนั้นเองพระองค์ก็เริ่มถอดเครื่องแต่งกาย พร้อมกับสวมเครื่องแต่งกายของนักพรต ต่อมาพระองค์ก็ทรงเริ่มลดอาหารและดื่มน้ำให้น้อยลงและใช้ชีวิตอยู่กับปัจจัยยังชีพที่เล็กน้อย หลังจากนั้น 13 เดือนต่อมาพระองค์ก็ทรงเลิกสวมใส่เครื่องนุ่งห่มปิดบังร่างกาย แท้จริงพระมหาวีระทรงได้บรรลุถึงขั้นที่หนึ่งพระองค์ได้ขจัดกิเลสต่างๆ จนหมดสิ้น ไม่มีความอาย ไม่มีความเจ็บปวด ไม่มีความพอใจ (ดีใจ) หรือ ไม่พอใจ (เสียใจ) พระองค์ยังคงฝึกฝนการบำเพ็ญตนโดยไม่ทรงตรัสเลยเป็นระยะเวลาถึง 12 ปีด้วยกัน จนบรรลุเกวลญาน (ตรัสรู้เป็นสัพพัญญู) เมื่อพระชนมายุได้ 42 ปี หลังจากทรงบรรลุถึงขั้นนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงเริ่มต้นการเผยแผ่แนวทางคำสอนของพระองค์ พระองค์เริ่มต้นจากครอบครัว พระประยูรญาติใกล้ชิดตลอดจนประชาชนในเมืองของพระองค์เอง พวกเขาเหล่านี้ได้ให้การตอบรับแนวทางของพระมหาวีระเป็นอย่างดี 

พระมหาวีระใช้เวลาในการสั่งสอนสาวก ประกาศศาสนาเชนตามคามนิคมชนบท น้อยใหญ่ เมืองต่างๆ และประสบผลสำเร็จตลอดมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ เมื่อพระชนมายุได้ 72 พรรษา ก็ได้เสด็จมายังเมืองปาวาหรือปาวาบุรี (ปัจจุบันเป็นเมืองเล็กๆ ในเขตปัตนะ) พระองค์ประชวรหนักไม่สามารถเสด็จต่อไปได้อีก ทรงทราบว่าวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจะมาถึง จึงเรียกประชุมบรรดาสาวกทั้งหลาย และสั่งสอนเป็นโอกาสสุดท้าย ทรงเข้าสิทธศิลา (เปรียบได้กับบรรลุโมกษะของศาสนาพราหมณ์ฮินดู หรือ นิพพานของศาสนาพุทธ คือเข้าถึงความหลุดพ้น) พระมหาวีระทรงเสด็จดับขันธ์ในเช้าวันต่อมา เมื่อ 527 ปีก่อนคริสต์ศักราช (16 ปีก่อนพุทธศักราช) หลังจากที่พระองค์ทรงสิ้นพระชมน์ชีพไปแล้ว ศาสนาเชนก็เจริญรุ่งเรืองภายใต้การนำของเหล่าสาวกของพระองค์ และยังคงเป็นศาสนาหลักศาสนาหนึ่งของประเทศอินเดีย

อ้างอิง[แก้]

  1. Tandon 2002, p. 45.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Dundas 2002, p. 24.
  3. 3.0 3.1 Taliaferro & Marty 2010, p. 126.
  • ศาสนาเปรียบเทียบของมหาวิทยาลัย อัล อัซฮัร ไคโร อียิปต์ 2008