มนตรี มงคลสมัย
มนตรี มงคลสมัย | |
---|---|
เกิด | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 กาญจนบุรี |
ถึงแก่กรรม | พ.ศ. 2498 (51 ปี) |
บิดามารดา |
|
ศาสตราจารย์ นายแพทย์มนตรี มงคลสมัย (นามเดิม : เม่งติ่ด มงคลสมัย) (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2498 ) อดีตศาสตราจารย์และหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์คนแรกของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] นักเรียนทุนมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์ นายแพทย์มนตรี มงคลสมัย (นามเดิม : เม่งติ้ด มงคลสมัย) เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ณ ตำบลตลาดบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรชายคนโตของนายจือ กับนางส้มทับ มงคลสมัย จบชั้นมัธยม 3 ที่โรงเรียนวิสุทธรังษี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด และย้ายเข้ากรุงเทพฯ โดยพักอยู่ตามบ้านญาติพี่น้องเพื่อเรียนต่อที่โรงเรียนปทุมคงคา จนจบชั้นมัธยม 6 ที่โรงเรียนปทุมคงคา จึงเข้าศึกษาต่อทางด้านแพทยศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อจบการศึกษาแล้ว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้คัดเลือกนายแพทย์มนตรี มงคลสมัย ไว้เป็นแพทย์ประจำบ้านในแผนกอายุรกรรมศาสตร์ นายแพทย์มนตรีได้ปฏิบัติการงานในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเป็นเวลานาน 19 ปี จึงได้ย้ายไปเป็นอาจารย์สอนแขนงกุมารเวชศาสตร์ ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจนถึงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2497 รวมเวลาปฏิบัติงานที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเวลา 7 ปี
ประวัติการศึกษา
[แก้]- ชั้นมัธยมต้น : โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- ชั้นมัธยมปลาย : โรงเรียนปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
- ชั้นอุดมศึกษา : คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ทุนร็อกกี้เฟลเลอร์ : วิชาเฉพาะกุมารเวชศาสตร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2472 - 2474)
ประวัติการทำงาน
[แก้]- พ.ศ. 2471 : ตำแหน่ง แพทย์ประจำบ้าน แผนกอายุรกรรมศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช
- พ.ศ. 2474 : เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ ที่แผนกอายุรกรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2489 : เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ ที่คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2490 : ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2490 : ดำรงตำแหน่งอนุสาสกของคณะแพทยศาสตร์แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[2]
- พ.ศ. 2494 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[3]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
- พ.ศ. 2494 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศาสตราจารย์และหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์คนแรกของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๕, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๒, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๗, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2447
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ศาสตราจารย์
- บุคคลจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี
- บุคคลจากโรงเรียนวิสุทธรังษี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา