ภาษามัวไบต์
หน้าตา
ภาษามัวไบต์ | |
---|---|
ภูมิภาค | เคยมีผู้พูดในจอร์แดนตะวันตกเฉียงเหนือ |
ยุค | ครึ่งแรกของสหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | ชุดตัวอักษรฟินิเชีย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | obm |
นักภาษาศาสตร์ | obm |
ภาษามัวไบต์ เป็นสำเนียงของภาษาฮีบรู-คานาอันไนต์ที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในโมอาบ (ปัจจุบันอยู่ในจอร์แดน) ในช่วง 457 ปีก่อนพุทธศักราช หลักฐานจากจารึกแสดงให้เห็นว่าใกล้เคียงกับภาษาฮีบรูในไบเบิล ความแตกต่างที่พบมักเป็นส่วนเล็กๆ เช่น ใช้รูปพหูพจน์ -în มากกว่า -îm (เช่น mlkn "กษัตริย์" ซึ่งฮีบรูในไบเบิลใช้ məlākîm) ลงท้ายเพศหญิงด้วย -at แบบเดียวกับภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก ในขณะที่ภาษาฮีบรูไบเบิลใช้ to -āh (เช่น qryt "เมือง", ฮีบรูไบเบิล qiryāh) เป็นต้น