ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาตาลิซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาตาลิซ
Tolışə zıvon
Tолышә зывон
زبان تالشی
ศัพท์ ตาลิช ในอักษรแนสแทอ์ลีก (زبان تالشی), อักษรละติน (Tolışə zıvon) และอักษรซีริลลิก (Tолышә зывон)
ประเทศที่มีการพูดอิหร่าน
อาเซอร์ไบจาน
ภูมิภาคแถบชายฝั่งทะเลแคสเปียนตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้
ชาติพันธุ์ชาวตาลิช
จำนวนผู้พูด912,000  (ไม่พบวันที่)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรอาหรับ (ชุดตัวอักษรเปอร์เซีย) ในประเทศอิหร่าน
อักษรละติน ในประเทศอาเซอร์ไบจาน
อักษรซีริลลิกในประเทศรัสเซีย
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบAcademy of Persian Language and Literature[ต้องการอ้างอิง]
รหัสภาษา
ISO 639-3tly
Linguasphere58-AAC-ed
แผนที่ชุดภาษาที่ตกอยู่ในอันตรายของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษาตาลิชเป็นภาษาที่เสี่ยงต่อการสูญหาย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาตาลิซ (زبان تالشی, Tolışə Zıvon, Tолышә зывон)[3][4] เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือที่ใช้พูดในจังหวัดกีลอนและจังหวัดแอร์แดบีลของประเทศอิหร่าน กับภูมิภาคทางตอนใต้ของประเทศอาเซอร์ไบจาน ภาษาตาลิชมีความใกล้ชิดกับภาษาตอตี ภาษาตาลิชมีหลายสำเนียง ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่: ตอนเหนือ (ในอาเซอร์ไบจานและอิหร่าน), ตอนกลาง (อิหร่าน) และตอนใต้ (อิหร่าน) ผู้พูดภาษาตาลิชสามารถเข้าใจภาษาเปอร์เซียได้ส่วนหนึ่ง แผนที่โลกว่าด้วยภาษาใกล้สูญของยูเนสโกจัดให้ภาษาตาลิชเป็นภาษาที่มีภาวะเสี่ยงใกล้สูญ[5]

บริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดของภาษาตาลิซอยู่ทางด้านเหนือของจังหวัดกีลอนและจังหวัดแอร์แดบีลในอิหร่านและทางใต้ของมาซิลลี เลนโกราย เลริกและและอัสตาราในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ภาษาตาลิซอยู่ในภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ ในทางประวัติศาสตร์ อาจติดตามย้อนไปได้จากยุคอิหร่านตอนกลางไปจนถึงยุคเมเดสในสมัยโบราณ ชาวตาลิซเรียกตนเองและภาษาของตนว่าโตลลิซซึ่งจุดกำเนิดของคำนี้ไม่แน่นอน แต่เก่ามาก น่าจะก่อนการอพยพของผู้พูดภาษากลุ่มอิหร่านเข้าสู่บริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลสาบแคสเปียน วรรณคดีทางตะวันตกเรียกตาลิซหรือตาเลซ

ภาษาตาลิซมีสามสำเนียงคือ เหนือ (ในอาเซอร์ไบจานและอิหร่าน) กลาง (ในอิหร่าน) และใต้ (ในอิหร่าน)ภาษาตาลิซเหนือได้แยกตัวเองออกจากภาษาตาลิซกลางและใต้ไม่เฉพาะแต่ทางภูมิศาสตร์ แต่รวมถึงทางวัฒนธรรมและภาษาศาสตร์ด้วย ผู้พูดภาษาตาลิซเหนือมักพบในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานแต่ก็ยังมีในอิหร่านตามแนวชายแดน ในบริเวณทะเลสาบแคสเปียนของจังหวัดกิลัน ความหลากหลายของผู้พูดภาษาตาลิซในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานเกิดจากความหลากหลายของการพูดมากกว่าความหลากหลายของสำเนียง

ภาษาตาเลชิหรือภาษาตาเลียชิ ภาษาโตลาชิ เป็นภาษาของชนชาติโบราณทางเหนือของอิหร่านที่เรียกตาเลซ ภาษานี้เคยใช้พูดทางใต้ของอาเซอร์ไบจานซึ่งแยกออกจากอิหร่านเพราะความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน ซึ่งเรียกสนธิสัญญาเตอร์กามันชี ทางเหนือของอิหร่านพบผู้พูดภาษาตาเลชิ 7 จังหวัด ในอาเซอร์ไบจานพบผู้พูดภาษาตาเลชิในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาตูร์กี การศึกษาเกี่ยวกับภาษาตาเลชิมีน้อยมาก

อักษร

[แก้]

สระเดี่ยว

[แก้]
สัทอักษรสากล ค.ศ. 1929–1938 ISO 9 อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ KNAB (199x(2.0)) อักษรซีริลลิก อักษรโรมันอื่น ๆ ตัวอย่าง
ɑː a a آ, ا a а â âv
a ~ æ a َ, اَ ǝ ә a, ä asta
ə ә - ِ, اِ หรือ َ, اَ ə ə e, a esa
e e ِ, اِ e е e nemek
o ~ ɔ o o ا, ُ, و o о o šalvo
u u u او, و u у u udmi
ʏ u - او, و ü у ü salü, kü, düri, Imrü
ɪ ~ i ъ y ای, ی ı ы i bila
i i ای, ی i и i, ị neči, xist
หมายเหตุ: แบบมาตรฐาน ISO 9 เผยแพร่ใน ค.ศ. 1995 รูปอักษรโรมัน 2.0 KNAB มีพื้นฐานมาจากอักษรละตินอาเซอร์ไบจาน[6]

สระประสม

[แก้]
สัทอักษรสากล อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ อักษรโรมัน ตัวอย่าง
ɑːɪ آی, ای âi, ây bâyl, dây
au اَو aw dawlat
æɪ اَی ai, ay ayvona, ayr
ou اُو ow, au kow
اِی ey, ei, ay, ai keybânu
æːə اَ ah zuah, soahvona, buah, yuahnd, kuah, kuahj
eːə اِ eh âdueh, sueh, danue'eh
ɔʏ اُی oy doym, doymlavar

พยัญชนะ

[แก้]
สัทอักษรสากล ค.ศ. 1929–1938 ISO 9 อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ KNAB (199x(2.0)) อักษรซีริลลิก อักษรโรมันอื่น ๆ ตัวอย่าง
p p p پ p п p pitâr
b в b ب b б b bejâr
t t t ت, ط t т t tiž
d d d د d д d debla
k k k ک k к k kel
ɡ g g گ g г g gaf
ɣ ƣ ġ غ ğ ғ gh ghuša
q q ق q ҝ q qarz
c, ç č چ ç ч ch, č, c čâki
j ĉ ج c ҹ j, ĵ jâr
f f f ف f ф f fel
v v v و v в v vaj
s s s س, ص, ث s с s savz
z z z ز, ذ, ض, ظ z з z zeng
ʃ ş š ش ş ш sh šav
ʒ ƶ ž ژ j ж zh ža
x x h خ x x kh xâsta
h h ه, ح h һ h haka
m m m م m м m muža
n n n ن n н n nân
l l l ل l л l lar
- - - - - - xâlâ, avâla, dalâ, domlavar, dalaza
ɾ r r ر r р r raz
j y j ی y ј y, j yânza
หมายเหตุ: แบบมาตรฐาน ISO 9 เผยแพร่ใน ค.ศ. 1995 รูปอักษรโรมัน 2.0 KNAB มีพื้นฐานจากอักษรละตินอาเซอร์ไบจาน[6]

ความแตกต่างจากภาษาเปอร์เซีย

[แก้]

ความแตกต่างโดยทั่วไปทางสัทวิทยาของสำเนียงภาษาตาลิชกับภาษาเปอร์เซียมาตรฐาน มีดังนี้:[7]

เสียงภาษาตาลิช ตัวอย่างศัพท์ภาษาตาลิช เทียบเสียงภาษาเปอร์เซีย ตัวอย่างศัพท์ภาษาเปอร์เซีย แปล
u duna â dâne เมล็ด
i insân e ต้น ensân มนุษย์
e tarâze u terâzu ตราชู
e xerâk o xorâk อาหาร
a ในคำประสม mâng-a-tâv mah-tâb แสงจันทร์
v âv b âb น้ำ
f sif b sib แอปเปิล
x xâsta h âheste ช้า
t tert d tord เปราะ
j mija ž može ขนตา
m šamba n šanbe วันเสาร์
mēra h กลาง mohre ลูกปัด
ku h ท้าย kuh ภูเขา

คำศัพท์

[แก้]
ภาษาอังกฤษ สำเนียงเหนือ (Lavandavili / Lankaroni) สำเนียงกลาง (Taleshdulabi) สำเนียงใต้ (Khushabari / Shandermani) ภาษาตาตี (Kelori / Geluzani) ภาษาเปอร์เซีย
big yul yâl yâl pilla bozorg, gat, (yal, pil)
boy, son zoa, zua zôa , zue zu'a, zoa Pesar
bride vayü vayu gēša, veyb vayu, vēi arus
cat kete, pišik, piš peču peču, pešu, piši pešu gorbe, piši
cry (v) bamē beramestē beramē beramesan geristan
daughter, girl (little) kina, kela kilu, kela kina, kel(l)a kille, kilik doxtar
day rüž, ruj ruz ruz, roz ruz ruz
eat (v) hardē hardē hardē hardan xordan
egg uva, muqna, uya âgla merqona xâ, merqowna toxme morq
eye čâš čaš, čam čēm čašm čašm
father dada, piya, biya dada ? pedar
fear (v) purnē, târsē târsinē, tarsestē tarsē tarsesan tarsidan
flag filak parčam ? ? parčam, derafš
food xerâk xerâk xerâk xuruk xorâk
go (v) šē šē šē šiyan raftan (šodan)
house/room ka ka ka ka xâne
language; tongue zivon zun zavon zuân zabân
moon mâng, uvešim mâng mang mung, meng mâh
mother mua, mu, nana nana ? mâ, dēdē, nana mâdar, nane
mouth qav, gav ga, gav, ga(f) qar gar dahân, kak
night šav šaw šav šav šab
north kubasu šimâl ? ? šemâl
rice berz berz berj berenj berenj
say (v) votē vâtē vâtē vâtan goftan
sister huva, hova, ho xâlâ, xolo xâv, xâ xâhar
small ruk, gada ruk ruk velle, xš kučak
sunset šânga maqrib ? ? maqreb
sunshine haši âftâv ? ? âftâb
water uv, ôv âv âv âv âb
woman, wife žēn žēn, žen yen, žen zanle, zan zan
yesterday zina zir, izer zir, zer zir diruz, di

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Talysh". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-08-03.
  2. شباهت ها و تفاوت هاي تالشي گيلكي و مازندراني , Jahad Daneshgahi. (in Persian)
  3. Pirejko, L. A., 1976. Talyšsko-russkij slovar (Talyshi-Russian Dictionary), Moscow.
  4. Məmmədov, Novruzəli; Ağayev, Şahrza (1996). Əlifba — Tolışi əlifba. Baku: Maarif.
  5. "Talysh". UNESCO Atlas of the World's Languages in danger (ภาษาอังกฤษ). UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2018-08-03.
  6. 6.0 6.1 Pedersen, T. T.. Transliteration of Non-Roman Scripts, Talyshi transliteration
  7. Abdoli, A. 1380 AP / 2001 AD. Farhange Tatbiqiye Tâleši-Tâti-Âzari (Comparative dictionary of Talyshi-Tati-Azari), p 31-35, Publication:Tehran, "šerkate Sahâmiye Entešâr" (ในภาษาเปอร์เซีย).

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Abdoli, A., 1380 AP / 2001 AD. Tat and Talysh literature (Iran and Azerbaijan republic). Entešâr Publication, Tehran, ISBN 964-325-100-4. (ในภาษาเปอร์เซีย)
  • Asatrian, G., and Habib Borjian, 2005. Talish: people and language: The state of research. Iran and the Caucasus 9/1, pp. 43–72 (published by Brill).
  • Bazin, M., 1974. Le Tâlech et les tâlechi: Ethnic et region dans le nord-ouest de l’Iran, Bulletin de l’Association de Geographes Français, no. 417-418, 161-170. (ในภาษาฝรั่งเศส)
  • Bazin, M., 1979. Recherche des papports entre diversité dialectale et geographie humaine: l’example du Tâleš, G. Schweizer, (ed.), Interdisciplinäre Iran-Forschung: Beiträge aus Kulturgeographie, Ethnologie, Soziologie und Neuerer Geschichte, Wiesbaden, 1-15. (ในภาษาฝรั่งเศส)
  • Bazin, M., 1981. Quelque échantillons des variations dialectales du tâleši, Studia Iranica 10, 111-124, 269-277. (ในภาษาฝรั่งเศส)
  • Paul, D., 2011. A comparative dialectal description of Iranian Taleshi. PhD Dissertation: University of Manchester. https://www.escholar.manchester.ac.uk/uk-ac-man-scw:119653 เก็บถาวร 2022-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Yarshater, E., 1996. The Taleshi of Asalem. Studia Iranica, 25, New York.
  • Yarshater, E., "Tâlish". Encyclopaedia of Islam, 2nd ed., vol. 10.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]