ข้ามไปเนื้อหา

ความขัดแย้งภายในพม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความขัดแย้งภายในพม่า

สถานการณ์การทหารในพม่า ข้อมูลเมื่อ 28 พฤษภาคม 2567 (2567 -05-28) พื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพพม่าจะเน้นด้วยสีแดง
วันที่2 เมษายน พ.ศ. 2491[2] – ปัจจุบัน
(76 ปี 5 เดือน 1 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่
สถานะ กำลังดำเนินอยู่
คู่สงคราม

รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (ตั้งแต่ 2021)


กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์[a]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มี่นอองไลง์ ดู่หว่า ละชี ละ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
 พม่า หลากหลาย
กำลัง
  • 406,000 (2021 IISS ประมาณการ)[3]
  • 150,000 (2023 USIP ประมาณการ)[4]
จำนวนกำลังทั้งหมดไม่ทราบแน่ชัด
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 180,000+ [b]
โยกย้ายในประเทศ 600,000–1,000,000

ความขัดแย้งภายในพม่า หมายถึง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศพม่าปัจจุบัน ซึ่งมีมาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2491 รัฐบาลกลางหลายชุดต่อกันมาได้สู้รบกับกบฏเชื้อชาติและการเมืองไม่จบสิ้น ในการก่อการกำเริบช่วงแรก ๆ เกิดจากพวกนิยมซ้าย "หลายสี" ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า และโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กบฏเชื้อชาติอื่นปะทุขึ้นเฉพาะช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 หลังรัฐบาลกลางปฏิเสธรัฐบาลแบบสหพันธรัฐ อย่างไรก็ดี นับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา การก่อการกำเริบด้วยอาวุธที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองค่อย ๆ หมดไปเป็นส่วนใหญ่ แต่การก่อการกำเริบด้านเชื้อชาติยังคงอยู่ และยังไม่มีทีท่ายุติ

การก่อการกำเริบเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนหรือถูกต่างชาติบงการ ทำให้การปิดประเทศทรุดหนัก ความสงสัยและความกังวลในหมู่ชาวพม่าทั้งชนกลุ่มน้อยในประเทศและต่างประเทศ อังกฤษบางกลุ่มสนับสนุนกะเหรี่ยง ปากีสถานตะวันออก (บังกลาเทศปัจจุบัน) หนุนหลังมุสลิมโรฮีนจาตามแนวชายแดนกับการหนุนหลังของตะวันออกกลาง อินเดียกล่าวกันว่าข้องเกี่ยวกับกะชีนและกะเหรี่ยง จีนสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (ภายหลังคือ พวกว้า) กบฏนากและกะชีน สหรัฐสนับสนุนก๊กมินตั๋ง และไทยสนับสนุนกลุ่มกบฏหลายกลุ่ม เพื่อสร้างรัฐหรือพื้นที่กันชน[7] ก่อนการหยุดยิง กองทัพที่มีชาวพม่าเป็นส่วนใหญ่ได้ดำเนินการทัพในฤดูแล้งทุกปีแต่คว้าน้ำเหลว พวกกบฏจะกลับมาทุกครั้งเมื่อกองทัพถอนกำลังกลับไป

รัฐบาลกลางที่พม่าครอบงำ (พลเรือนหรือคล้ายทหาร) ไม่สามารถบรรลุความตกลงทางการเมืองได้แม้เป้าหมายของการก่อการกำเริบทางเชื้อชาติสำคัญส่วนมาก (รวมทั้ง KNU) คือ การปกครองตนเองมิใช่การแยกตัวเป็นเอกราช ปัจจุบัน รัฐบาลได้ลงนามความตกลงหยุดยิงอย่างอึดอัดกับกลุ่มก่อการกำเริบส่วนใหญ่ แต่กองทัพยังไม่ได้รับความเชื่อใจจากประชากรท้องถิ่น กองทัพถูกกล่าวหาอย่างกว้างขวางว่าปฏิบัติต่อประชากรท้องถิ่นอย่างเลวร้ายแต่ไม่ถูกลงโทษ และถูกมองว่าเป็นกองกำลังยึดครองในภูมิภาคเชื้อชาติต่าง ๆ

สมัยปัจจุบัน ความขัดแย้งนั้นเป็นไปเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารซึ่งปกครองประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ความขัดแย้งนี้เป็นสงครามที่กำลังดำเนินอยู่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[8] และได้รับความสนใจจากนานาชาติอันเป็นผลจากการก่อการกำเริบ 8888 ใน พ.ศ. 2531, งานของนักเคลื่อนไหว ออง ซาน ซูจี, การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในปลาย พ.ศ. 2550 และความเสียหายอันเกิดขึ้นจากพายุไซโคลนนาร์กิส ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 80,000 คน และสูญหายอีก 50,000 คน ในกลาง พ.ศ. 2551

การหยุดยิง พ.ศ. 2555

[แก้]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 รัฐบาลพม่าประกาศความตกลงหยุดยิงกับกบฏกะเหรี่ยง การหยุดยิงรวมถึงความตกลงซึ่งกำหนดการสื่อสารเปิดเผยระหว่างรัฐบาลกับกบฏกะเหรี่ยง เช่นเดียวกับเปิดช่องทางปลอดภัยแก่กบฏกะเหรี่ยงในประเทศ รัฐบาลพม่าได้นิรโทษกรรมนักโทษ KNU กว่า 6,000 คน และลดโทษนักโทษอีก 38,964 คน[9]

ความตกลงสันติภาพระหว่าง KNU กับรัฐบาลพม่าเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องหลักโดยประเทศตะวันตกก่อนจะมีการยกเลิกการลงโทษทางเศรษฐกิจ[10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. รัฐบาลพม่าเรียกกลุ่มกบฏทั้งหมดว่า "กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์" รวมถึงกลุ่มอื่น เช่น แนวร่วมประชาธิปไตยของมวลนักศึกษาพม่า และพรรคคอมมิวนิสต์พม่า ซึ่งไม่ได้ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ[1]
    • 130,000 (1948–2011)[5]
    • 53,000+ (ตั้งแต่ 2011)[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Ethnic armed organisations' conference commences" (ภาษาอังกฤษ). Government of Myanmar. 26 July 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
  2. Lintner, Bertil; Wyatt (maps prepared by), David K. (1990). The rise and fall of the Communist Party of Burma (CPB). Ithaca, NY: Southeast Asia Program, Cornell University. p. 14. ISBN 0877271232. สืบค้นเมื่อ 15 December 2016.
  3. IISS 2021, pp. 285–287.
  4. Hein, Ye Myo. "Myanmar's Military Is Smaller Than Commonly Thought — and Shrinking Fast". United States Institute of Peace (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 April 2024.
  5. "Modern Conflicts Database: Alternative Estimates for Death Tolls" (PDF). Political Economy Research Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 July 2011.
  6. "ACLED Dashboard". Armed Conflict Location and Event Data Project. สืบค้นเมื่อ 4 December 2023.
  7. Steinberg, p. 44
  8. Burma: world's longest war nears its end (2009!). In Burma the war has go on from 1949, the war i Sudan start in 1955.
  9. http://www.nytimes.com/2012/01/13/world/asia/myanmar-signs-truce-with-ethnic-rebel-group.html Burmese Government and Ethnic Rebel Group Sign Cease-Fire
  10. http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-16523691 Burma government signs ceasefire with Karen rebels