ข้อตกลงออสโล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อตกลงออสโล
ยิตส์ฮัก ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล (ซ้าย), บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐ (กลาง) และยัสเซอร์ อาราฟัต ประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (ขวา) ในพิธีลงนามข้อตกลงออสโลเมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1993
ประเภทการเจรจาแบบทวิภาคี
บริบทกระบวนการสันติภาพอิสราเอล–ปาเลสไตน์
วันลงนาม13 กันยายน ค.ศ. 1993 (คำประกาศหลักการ)
ที่ลงนาม วอชิงตัน ดี.ซี. (ออสโล 1)
ฏอบา (ออสโล 2)
ผู้ไกล่เกลี่ย นอร์เวย์
ภาคี อิสราเอล
พีแอลโอ
ภาษา

ข้อตกลงออสโล (อังกฤษ: Oslo Accords) เป็นความตกลงสองฉบับระหว่างรัฐบาลอิสราเอลกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ข้อตกลงออสโลประกอบด้วยข้อตกลงออสโล 1 ลงนามที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ใน ค.ศ. 1993[1] และข้อตกลงออสโล 2 ลงนามที่เมืองฏอบาใน ค.ศ. 1995[2] ข้อตกลงออสโลเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการออสโล ซึ่งเป็นกระบวนการสันติภาพที่มุ่งบรรลุสนธิสัญญาสันติภาพที่อิงจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 และ 338 และสนอง "สิทธิของชาวปาเลสไตน์ในการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง" กระบวนการออสโลเริ่มขึ้นหลังการเจรจาลับที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ นำไปสู่การยอมรับรัฐอิสราเอลขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ และอิสราเอลยอมรับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นผู้แทนชาวปาเลสไตน์

ข้อตกลงออสโลจัดตั้งองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ที่มีอำนาจปกครองตนเองอย่างจำกัดในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา และรับรององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นคู่เจรจาเรื่องสถานะและปัญหาอื่น ๆ กับอิสราเอล ปัญหาที่สำคัญที่สุดเกี่ยวข้องกับพรมแดนของอิสราเอลและปาเลสไตน์ นิคมชาวอิสราเอล และสถานะของเยรูซาเลม รวมถึงการมีอยู่ของทหารอิสราเอลและการควบคุมพื้นที่ที่เหลือหลังอิสราเอลยอมรับอัตตาณัติของปาเลสไตน์ และสิทธิในการกลับถิ่นฐานเดิมของชาวปาเลสไตน์ อย่างไรก็ตามข้อตกลงออสโลไม่ได้จัดตั้งรัฐปาเลสไตน์[3]

ข้อตกลงออสโลถูกเห็นค้านจากชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ ซึ่งรวมกลุ่มทหารปาเลสไตน์หลายกลุ่มด้วย เอดเวิร์ด ซะอีด นักปราชญ์ชาวอเมริกันเชื้อสายปาเลสไตน์ กล่าวว่าข้อตกลงออสโลนั้นเป็น "แวร์ซายสำหรับปาเลสไตน์"[4] ชาวอิสราเอลขวาจัดก็คัดค้านข้อตกลงออสโล และราบินถูกลอบสังหารจากชาวอิสราเอลขวาสุดโต่งใน ค.ศ. 1995[5][6]

ภูมิหลัง[แก้]

ข้อตกลงออสโลมีที่มาจากข้อตกลงแคมป์เดวิดระหว่างอียิปต์กับอิสราเอลในปี ค.ศ. 1978[A] ข้อตกลงแคมป์เดวิดได้ร่าง "กรอบสันติภาพในตะวันออกกลาง" ที่คำนึงถึงอัตตาณัติของชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ซึ่งขณะนั้นมีชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่ในเวสต์แบงก์ประมาณ 7,400 คน (ไม่รวมเยรูซาเลมตะวันออก)[7] และในฉนวนกาซา 500 คน[8] เนื่องจากอิสราเอลถือว่าองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นองค์การก่อการร้าย อิสราเอลจึงเลือกเจรจากับอียิปต์ จอร์แดน และ "ผู้แทนของผู้อยู่อาศัยในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาที่ได้รับเลือก" แทน[A]

ขณะที่เป้าหมายสุดท้ายของข้อตกลงแคมป์เดวิดคือ "สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับจอร์แดน" แต่ข้อตกลงนี้พิจารณาถึงสถานะสุดท้ายของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ข้อตกลงออสโลมุ่งหมายให้เกิดความตกลงชั่วคราวเพื่อสร้างขั้นแรกของกระบวนการสันติภาพที่จะนำไปสู่ข้อยุติที่สมบูรณ์ภายใน 5 ปีเช่นเดียวกับข้อตกลงแคมป์เดวิด[A] อย่างไรก็ตามเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาอิสราเอล–จอร์แดนในปี ค.ศ. 1994 กลับไม่มีชาวปาเลสไตน์ร่วมด้วย

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 From the Framework for Peace in the Middle East, part of the 1978 Camp David Accords and blueprint for the Oslo Accords:
    • Egypt and Israel agree that, ... there should be transitional arrangements for the West Bank and Gaza for a period not exceeding five years. In order to provide full autonomy to the inhabitants, under these arrangements the Israeli military government and its civilian administration will be withdrawn as soon as a self-governing authority has been freely elected by the inhabitants of these areas to replace the existing military government.
    • Egypt, Israel, and Jordan will agree on the modalities for establishing elected self-governing authority in the West Bank and Gaza. The delegations of Egypt and Jordan may include Palestinians from the West Bank and Gaza or other Palestinians as mutually agreed. The parties will negotiate an agreement which will define the powers and responsibilities of the self-governing authority to be exercised in the West Bank and Gaza. A withdrawal of Israeli armed forces will take place and there will be a redeployment of the remaining Israeli forces into specified security locations. The agreement will also include arrangements for assuring internal and external security and public order. A strong local police force will be established, which may include Jordanian citizens. In addition, Israeli and Jordanian forces will participate in joint patrols and in the manning of control posts to assure the security of the borders.
    • When the self-governing authority (administrative council) in the West Bank and Gaza is established and inaugurated, the transitional period of five years will begin. As soon as possible, but not later than the third year after the beginning of the transitional period, negotiations will take place to determine the final status of the West Bank and Gaza and its relationship with its neighbors and to conclude a peace treaty between Israel and Jordan by the end of the transitional period. These negotiations will be conducted among Egypt, Israel, Jordan and the elected representatives of the inhabitants of the West Bank and Gaza.
      (See JimmyCarterLibrary, The Framework for Peace in the Middle East เก็บถาวร 16 ธันวาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1978). Accessed December 2013)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Declaration of Principles on Interim Self-Government Arrangements". web.archive.org. 2002-11-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-11-15. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "Israeli-Palestinian Interim Agreement on the West Bank and the Gaza Strip". web.archive.org. 2002-11-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-11-15. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. Mideast accord: the overview; Rabin and Arafat sign accord ending Israel's 27-year hold on Jericho and the Gaza Strip เก็บถาวร 9 ธันวาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Chris Hedges, New York Times, 5 May 1994.
    Quote of Yitzhak Rabin: "We do not accept the Palestinian goal of an independent Palestinian state between Israel and Jordan. We believe there is a separate Palestinian entity short of a state."
  4. Anne Le More (31 March 2008). International Assistance to the Palestinians After Oslo: Political Guilt, Wasted Money. Routledge. p. 65. ISBN 978-1-134-05233-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2023. สืบค้นเมื่อ 19 November 2020. Oslo was opposed by the Islamic movements such as Hamas and Islamic Jihad, parties on the left such as the Popular Front for the Liberation of Palestine (PFLP) and the Democratic Front for the Liberation of Palestine (DFLP), and also by intellectuals, mainstream politicians and former peace negotiators such as Haydar Abd al-Shafi, Karma Nabulsi and Edward Said. The latter famously described the agreement as...
  5. "What were the Oslo Accords between Israel and the Palestinians?". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-10-18.
  6. "Israel-Palestine peace accord signed | September 13, 1993". HISTORY (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-18.
  7. By Hook and by Crook – Israeli Settlement Policy in the West Bank เก็บถาวร 17 เมษายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 90. B’Tselem, July 2010
  8. Israeli Settlements in Occupied Arab Lands: Conquest to Colony[ลิงก์เสีย], p. 29. Journal of Palestine Studies, Vol. 11, No. 2 (Winter, 1982), pp. 16–54. Published by: University of California Press on behalf of the Institute for Palestine Studies

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Weiner, Justus R. "An Analysis of the Oslo II Agreement in Light of the Expectations of Shimon Peres and Mahmoud Abbas." Michigan Journal of International Law 17.3 (1996): 667–704. online