ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดที่โลมี่นโล"

พิกัด: 21°10′43″N 94°52′46″E / 21.178531°N 94.879398°E / 21.178531; 94.879398
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| name = วัดที่โลมี่นโล<br>วัดฉัตรตั้ง
| name = วัดที่โลมี่นโล<br>วัดฉัตรตั้ง
| native_name = {{lang|my|ထီးလိုမင်းလိုဘုရား}}
| native_name = {{lang|my|ထီးလိုမင်းလိုဘုရား}}
| image = 20160801 - Htilominlo Temple, Bagan, Myanmar - 6718.jpg
| image = Bagan, Myanmar, Htilominlo Temple.jpg
| image_size = 250px
| image_size = 250px
| alt =
| alt =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:58, 6 กุมภาพันธ์ 2564

วัดที่โลมี่นโล
วัดฉัตรตั้ง
ထီးလိုမင်းလိုဘုရား
พระเจดีย์ที่โลมี่นโล
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาท
ภูมิภาค ภาคมัณฑะเลย์
ที่ตั้ง
เทศบาลพุกาม
ประเทศ พม่า
วัดที่โลมี่นโลตั้งอยู่ในประเทศพม่า
วัดที่โลมี่นโล
ที่ตั้งในประเทศพม่า
พิกัดภูมิศาสตร์21°10′43″N 94°52′46″E / 21.178531°N 94.879398°E / 21.178531; 94.879398
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งพระเจ้าไชยสิงขะ
เสร็จสมบูรณ์ค.ศ. 1211 (813 ปีที่แล้ว) (1211)

วัดที่โลมี่นโล (พม่า: ထီးလိုမင်းလိုဘုရား, ออกเสียง: [tʰílòmɪ́ɴlò pʰəjá]) หรือบางครั้งคนไทยเรียกว่า วัดฉัตรตั้ง เป็นวัดพระเจดีย์ในพุกาม ประเทศพม่า สร้างขึ้นโดยพระเจ้าไชยสิงขะ ในราวปี ค.ศ. 1211-1231[1]: 183 [2] พระเจดีย์แห่งนี้สูง 3 ชั้น 46 เมตร และสร้างด้วยอิฐ[2] วัดนี้เป็นที่รู้จักสำหรับประติมากรรมปูนพลาสเทอร์ที่โดดเด่นและบนชั้นหนึ่งประดิษฐานพระพุทธรูป 4 พระองค์ พระเจดีย์ได้รับความเสียหายเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวพุกามในปี ค.ศ. 1975[2]

พระเจ้านรปติสี่ตู่ทรงมีราชบุตรหลายพระองค์ ทั้งที่เกิดแต่อัครมเหสีและพระชายา เมื่อทรงตัดสินใจแต่งตั้งกษัตริย์พระองค์ต่อไป ตามธรรมเนียมพระองค์จะต้องตั้งบุตรในอัครมเหสี แต่พระองค์ทรงเคยรับปากพระชายาองค์หนึ่งว่าจะทรงพิจารณาราชบุตรจากชายาองค์นี้ให้ขึ้นครองราชย์ด้วย ดังนั้นพระองค์จึงตัดสินใจใช้ "ฉัตรเสี่ยงทาย" โดยทรงตั้งฉัตรอันเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ไว้ตรงกลาง แล้วให้ราชบุตรแต่ละพระองค์มานั่งล้องวงกัน หากฉัตรล้มลงแล้วปลายฉัตรชี้ไปที่ราชบุตรองค์ใดนั้น ก็จะทรงแต่งตั้งเป็นกษัตริย์สืบต่อไปจากพระองค์ ซึ่งปรากฏว่าปลายฉัตรชี้ไปที่เจ้าชายชัยสิงห์ ซึ่งเป็นราชบุตรอันเกิดแต่ชายา ชาวพม่าจึงเรียกพระเจ้าไชยสิงขะว่า “กษัตริย์ฉัตรตั้ง” และเมื่อทรงขึ้นครองราชย์จึงทรงสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นอนุสรณ์ ณ บริเวณที่พระราชบิดาเอาฉัตรเสี่ยงทาย และเรียกว่า “เจดีย์ที่โลมี่นโล”[3]

อ้างอิง

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ วัดที่โลมี่นโล

  1. Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  2. 2.0 2.1 2.2 Fiala, Robert D. "Htilominlo Temple". Asian Historical Architecture. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
  3. http://burma-travel.blogspot.com/2014/01/htilominlo-temple.html?m=1