ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อินเจนูอิตี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
AekwatNs (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
}}
}}
|}
|}
'''เฮลิคอปเตอร์สำรวจดาวอังคาร''' '''''อินเจนูอิตี''''' ({{lang-en|Mars Helicopter ''อินเจนูอิตี''}}) เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กที่จะถูกส่งไปสำรวจ[[ดาวอังคาร]] พร้อมกับยานสำรวจดาวอังคาร[[มาร์ส 2020]] ซึ่งเป็นยานหลัก และเป็นเฮลิคอปเตอร์ลำแรกที่บินบนดาวเคราะห์ดวงอื่น โดยภารกิจหลักๆของเฮลิคอปเตอร์ลำนี้คือการสำรวจพื้นที่ที่ยานสำรวจหลักไม่สามารถเข้าถึงได้
'''เฮลิคอปเตอร์สำรวจดาวอังคาร''' '''''อินเจนูอิตี''''' ({{lang-en|Mars Helicopter Ingenuity}}) เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กที่จะถูกส่งไปสำรวจ[[ดาวอังคาร]] พร้อมกับยานสำรวจดาวอังคาร[[มาร์ส 2020]] ซึ่งเป็นยานหลัก และเป็นเฮลิคอปเตอร์ลำแรกที่บินบนดาวเคราะห์ดวงอื่น โดยภารกิจหลักๆของเฮลิคอปเตอร์ลำนี้คือการสำรวจพื้นที่ที่ยานสำรวจหลักไม่สามารถเข้าถึงได้


==การออกแบบ==
==การออกแบบ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:40, 5 สิงหาคม 2563

เฮลิคอปเตอร์สำรวจดาวอังคาร
อินเจนูอิตี
Mars Helicopter
Ingenuity
เครดิตจาก: NASA/JPL-CalTech
หน้าที่ บินสำรวจดาวอังคาร
ผู้ผลิต ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น
เที่ยวบินแรก ปล่อย: กรกฎาคม 2020[1]
ถึงดาวอังคาร: กุมภาพันธ์ 2021
สถานะ ทำงานร่วมกับยานมาร์ส 2020
ผู้ใช้หลัก นาซา

เฮลิคอปเตอร์สำรวจดาวอังคาร อินเจนูอิตี (อังกฤษ: Mars Helicopter Ingenuity) เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กที่จะถูกส่งไปสำรวจดาวอังคาร พร้อมกับยานสำรวจดาวอังคารมาร์ส 2020 ซึ่งเป็นยานหลัก และเป็นเฮลิคอปเตอร์ลำแรกที่บินบนดาวเคราะห์ดวงอื่น โดยภารกิจหลักๆของเฮลิคอปเตอร์ลำนี้คือการสำรวจพื้นที่ที่ยานสำรวจหลักไม่สามารถเข้าถึงได้

การออกแบบ

Credits: NASA/JPL-Caltech

เฮลิคอปเตอร์ลำนี้ถูกออกแบบมาให้มีใบพัดคู่หมุนตรงกันข้ามซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.1 เมตร และหมุนด้วยความเร็ว 3,000 รอบต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าเฮลิคอปเตอร์ทั่วไปบนโลกถึง 10 เท่า เฮลิคอปเตอร์ลำนี้ติดกล้องความละเอียดสูงสำหรับการบินการลงจอดและสำรวจภูมิประเทศของดาวอังคาร และส่งข้อมูลกลับมายังโลก ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เมื่อแบตตเตอรี่หมดสสามารถชาร์จใหม่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ที่ติดอยู่บนใบพัด

การขึ้นบินและการควบคุมการบินบนดาวอังคาร

วิศวกรของนาซ่ากำลังติดตั้งเฮลิคอปเตอร์บนส่วนท้องของยานมาร์ส 2020(Credits: NASA/JPL-Caltech)

วิศวกรของนาซ่าจะติดตั้งเฮลิคอปเตอร์บนส่วนท้องของยานมาร์ส 2020 และเมื่อยานสำรวจหลักลงจอดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะสำรวจหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อที่จะปล่อยเฮลิคอปเตอร์ลงสู่พื้นดิน โดยยานสำรวจหลักจะรักษาระยะห่างจากเฮลิคอปเตอร์เพื่อรักษาความปลอดภัยในขณะที่เฮลิคอปเตอร์กำลังขึ้นบินสำรวจ

เนื่องจากดาวอังคารอยู่ห่างจากโลกมาก ทำให้การควบคุมการบินจากโลกนั้นยากลำบาก เฮลิคอปเตอร์ลำนี้จึงถูกสร้างขึ้นมาให้สามารถบินได้เองอัตโนมัติ และเนื่องจากชั้นบรรยากาศของดาวอังคารเบาบางมาก ที่ระดับพื้นผิวของดาวอังคารมีความดันอากาศเท่ากับที่ระดับความสูง 30,480 เมตร (100,000 ฟุต) จากพื้นผิวโลก ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้ทั่วไปบนโลกสามารถบินได้สูงสุดเพียง 12,192 เมตร (40,000 ฟุต) เท่านั้น ดังนั้นเฮลิคอปเตอร์ลำนี้จึงถูกสร้างให้มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าเฮลิคอปเตอร์บนโลก

อ้างอิง


  1. mars.nasa.gov. "Overview - Mars 2020 Rover". mars.nasa.gov. สืบค้นเมื่อ 19 February 2019.