ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาอมรฤทธิธำรงค์ (บุญชู บุนนาค)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


== รับราชการ ==
== รับราชการ ==
พระยาอมรฤทธิธำรงเริ่มต้นรับราชการเป็นเสมียนในกรมปลัดบัญชี [[กระทรวงมหาดไทย]] เมื่อ พ.ศ. 2444 ขณะอายุเพียง 18 ปีจากนั้นในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2451 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น นายจำนงราชกิจ หุ้มแพรวิเศษ กรมพระอาลักษณ์ ถือศักดินา ๕๐๐ ขณะอายุได้ 25 ปีต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงมหาสิทธิโวหาร และได้รับพระราชทานตราวชิรมาลาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่างมหาดเล็กชั้นที่ 2 เอกเทียบเท่าชั้น หัวหมื่นมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2454 รวมถึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น [[ตริตาภรณ์มงกุฎไทย]] ในงานสวดมนต์พระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454
พระยาอมรฤทธิธำรงเริ่มต้นรับราชการเป็นเสมียนในกรมปลัดบัญชี [[กระทรวงมหาดไทย]] เมื่อ พ.ศ. 2444 ขณะอายุเพียง 18 ปีจากนั้นในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2451 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น นายจำนงราชกิจ หุ้มแพรวิเศษ กรมพระอาลักษณ์ ถือศักดินา ๕๐๐ ขณะอายุได้ 25 ปีต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงมหาสิทธิโวหาร และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็กชั้นที่ 2 ตรี เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2454 ต่อมาได้รับพระราชทานตราวชิรมาลาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่างมหาดเล็กชั้นที่ 2 เอกเทียบเท่าชั้น หัวหมื่นมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2454 รวมถึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น [[ตริตาภรณ์มงกุฎไทย]] ในงานสวดมนต์พระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454


ถึงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2455 หลวงมหาสิทธิโวหารจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาราชสาสนโสภณ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น [[ทุติยจุลจอมเกล้า]] เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456
ถึงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2455 หลวงมหาสิทธิโวหารจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาราชสาสนโสภณ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น [[ทุติยจุลจอมเกล้า]] เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:09, 28 กรกฎาคม 2563

มหาอำมาตย์ตรี จางวางตรี พระยาอมรฤทธิธำรง (บุญชู บุนนาค)
เกิด12 ธันวาคม พ.ศ. 2426
ถึงแก่กรรม30 มีนาคม พ.ศ. 2470 (43 ปี)
ตระกูลบุนนาค
คู่สมรสคุณหญิงชุมนุม บุนนาค
บิดาพระยาศรีธรรมสาสน

มหาอำมาตย์ตรี จางวางตรี พระยาอมรฤทธิธำรง (บุญชู บุนนาค) (12 ธันวาคม 2426-30 มีนาคม 2470) ปลัดมณฑลกรุงเก่า ผู้ว่าราชการ จังหวัดตะกั่วป่า

ประวัติ

พระยาอมรฤทธิธำรง มีชื่อเดิมว่า บุญชู บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2426 เป็นบุตรชายของ พระยาศรีธรรมสาสน

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงชุมนุม บุนนาค ธิดาของ มหาอำมาตย์โท พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)

พระยาอมรฤทธิธำรงถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2470 ด้วยโรคบิด สิริอายุเพียง 43 ปี[1]

รับราชการ

พระยาอมรฤทธิธำรงเริ่มต้นรับราชการเป็นเสมียนในกรมปลัดบัญชี กระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2444 ขณะอายุเพียง 18 ปีจากนั้นในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2451 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น นายจำนงราชกิจ หุ้มแพรวิเศษ กรมพระอาลักษณ์ ถือศักดินา ๕๐๐ ขณะอายุได้ 25 ปีต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงมหาสิทธิโวหาร และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็กชั้นที่ 2 ตรี เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2454 ต่อมาได้รับพระราชทานตราวชิรมาลาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่างมหาดเล็กชั้นที่ 2 เอกเทียบเท่าชั้น หัวหมื่นมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2454 รวมถึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ในงานสวดมนต์พระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454

ถึงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2455 หลวงมหาสิทธิโวหารจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาราชสาสนโสภณ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456

ยศและบรรดาศักดิ์

  • 7 กันยายน พ.ศ. 2451 นายจำนงราชกิจ หุ้มแพรวิเศษ กรมพระอาลักษณ์ ถือศักดินา ๕๐๐[2]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 หลวงมหาสิทธิโวหาร ถือศักดินา ๑๐๐๐[3]
  • 30 สิงหาคม พ.ศ. 2454 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่างมหาดเล็กชั้นที่ 2 เอก (เทียบเท่าชั้น หัวหมื่นมหาดเล็ก)[4]
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2455 พระยาราชสาสนโสภณ ถือศักดินา ๓๐๐๐[5]
  • 21 ธันวาคม พ.ศ. 2459 อำมาตย์เอก[6]
  • 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 พระยาอมรฤทธิธำรง คงถือศักดินา ๓๐๐๐[7]
  • 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 จางวางตรีพิเศษ[8]

ตำแหน่ง

  • 4 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ปลัดมณฑลกรุงเก่า[9]
  • ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยา
  • 7 มิถุนายน พ.ศ. 2465 ผู้ตรวจการในกระทรวงมหาดไทย[10]
  • เจ้ากรมการภายใน
  • 25 มีนาคม พ.ศ. 2468 รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการ จังหวัดตะกั่วป่า[11]
  • 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 ผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่า[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง